Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32613
Title: | การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา |
Other Titles: | Pharmaceutical care for neonatal patients receiving parenteral nutrition at maharat nakornratchasima hospital |
Authors: | สุธิศักดิ์ มณีมนต์ |
Advisors: | นารัต เกษตรทัต วิชุลดา เกียรติมงคล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การบริบาลทางเภสัชกรรม ทารก -- โภชนาการ หลอดเลือดดำ การให้อาหารทางหลอดเลือดดำ Pharmaceutical services Infants -- Nutrition Veins Parenteral feeding of children |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลจากการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ ด้านผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ น้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไปก่อนและหลังการได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ รูปแบบและจำนวนครั้งของภาวะแทรกซ้อน จำนวนปัญหาจากการใช้ยาที่เกิดจากอันตรกิริยาทางกายภาพของยากับอาหารทางหลอดเลือดดำ ด้านการให้คำแนะนำและการยอมรับของบุคลากรทางการแพทย์ต่อคำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกัน และการแก้ไขปัญหาจากใช้ยาที่เกิดจากอันตรกิริยาทางกายภาพของยากับอาหารทางหลอดเลือดดำ และภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ วิธีวิจัย ทำการศึกษาเชิงพรรณนาในทารกแรกเกิดที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำนาน 5 วันขึ้นไป ที่หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2554 เภสัชกรให้การบริบาลทางเภสัชกรรมด้วยการค้นหา ติดตาม และประเมินผลเกี่ยวกับน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลง ภาวะแทรกซ้อน และปัญหาจากการใช้ยาที่เกิดจากอันตรกิริยาทางกายภาพของยากับอาหารทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยทารกแรกเกิด ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะแก่บุคลากรทางการแพทย์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสูตรอาหารทางหลอดเลือดดำที่ไม่เหมาะสม ภาวะแทรกซ้อน และปัญหาจากการใช้ยาที่เกิดจากอันตรกิริยาทางกายภาพของยากับอาหารทางหลอดเลือดดำ ผลการศึกษา ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การศึกษา 103 ราย เป็นชาย 65 ราย หญิง 38 ราย ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำวันละ 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 1,251 ครั้ง หลังจากสิ้นสุดการให้อาหารทางหลอดเลือดดำพบทารกร้อยละ 43.6 มีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน พบภาวะแทรกซ้อน 696 ครั้ง (ร้อยละ 55.6) แบ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเทคนิคในการให้อาหารทางหลอดเลือดดำ 12 ครั้ง ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ 5 ครั้ง และภาวะแทรกซ้อนทางเมแทบอลิก 679 ครั้ง ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือ ภาวะเลือดมีฟอสฟอรัสต่ำและภาวะเลือดมีโพแทสเซียมต่ำ ในการศึกษานี้ไม่พบปัญหาจากการใช้ยาที่เกิดจากอันตรกิริยาทางกายภาพของยากับอาหารทางหลอดเลือดดำ เภสัชกรให้ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาแก่ผู้เข้าร่วมวิจัย 75 ราย จำนวน 414 ครั้ง ได้รับการยอมรับ 403 ครั้ง (ร้อยละ 97.3) สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ 315 ครั้ง (ร้อยละ 84.8) สรุป ทารกแรกเกิดที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำที่เตรียมขึ้นตามความต้องการของผู้ป่วยเฉพาะราย จำเป็นต้องได้รับการติดตามผลจากการได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถค้นหา ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าบทบาทของเภสัชกรในการบริบาลทางเภสัชกรรมด้วยการค้นหา ติดตาม และประเมินผลจากการได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำได้รับการยอมรับที่ดีจากแพทย์ และสามารถป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำในทารกแรกเกิดที่เกิดขึ้นได้ |
Other Abstract: | Objectives: To study the results of pharmaceutical care service in neonatal patients receiving parenteral nutrition (PN) including clinical outcomes which were weight changes before and after receiving PN, type and incidence of PN related complications and physical incompatibility of drugs and PN. The acceptance of healthcare practitioners after pharmacist’s intervention for preventing and solving physical incompatibility of drugs and PN and complications were studied as well. Methods: A descriptive study was performed in patients receiving PN for at least 5 days at Neonatal Intensive Care Unit (NICU), Maharat Nakhonratchasima Hospital during January to June 2011. Pharmaceutical care processes were to detect, monitor and evaluate weight change, complications and physical incompatibility of drugs and PN. Meanwhile, pharmacists gave interventions to healthcare practitioners for preventing and solving inappropriate PN formula, complications as well as physical incompatibility of drugs and PN. Results: One hundred and three patients (65 males and 38 females) were recruited. The patients received PN 1 time/day in total of 1,251 times during the study. After finishing PN feedings, 43.6 % of patients gained standard weight. There were 696 complications (55.6 %) found, of these were 12 mechanical complications, 5 infectious complications and 679 metabolic complications. The most common complications were hypophosphatemia and hypokalemia. Physical incompatibility of drugs and PN were not found in this study. Pharmacists gave 414 interventions in 75 patients. These interventions were accepted 403 times (97.3 %) and 315 interventions (84.8 %) were prevented and solved. Conclusions: Neonatal patients who received individual preparation of PN should be monitored closely in order to be able to detect, prevent and solve potential problems appropriately. This study revealed that roles of pharmacist in pharmaceutical care service are well accepted by healthcare practitioners and can help preventing and resolving PN related complications in neonatal patients. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรมคลินิก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32613 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.387 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.387 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
suthisak_ma.pdf | 3.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.