Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32860
Title: | การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการเรียนรู้เป็นทีมของนิสิตปริญญาบัณฑิตด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนร่วมกันด้วยกรณีศึกษาและเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต่างกัน |
Other Titles: | Development of problem solving and team learning abilities of undergraduate students with a blended learning model using learning together technique with different case-based learning and knowledge sharing technology |
Authors: | สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล |
Advisors: | ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนแบบผสมผสาน การเรียนรู้เป็นทีม การแก้ปัญหาเป็นกลุ่ม Collaborative learning Blended learning Team learning approach in education Group problem solving |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการเรียนรู้เป็นทีมของนิสิตระดับปริญญาตรีด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนร่วมกันด้วยกรณีศึกษาและเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต่างกัน แบบแผน การทดลองเป็นแบบแฟคทอเรียล ตัวแปรที่ศึกษาคือ กรณีศึกษา 2 แบบ ได้แก่ กรณีศึกษาแบบสถานการณ์ และแบบตัดสินใจ เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2 แบบ ได้แก่ บล็อก และเว็บบอร์ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นิสิตปริญญาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 48 คน แบ่งกลุ่มแบบคละกัน ออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 12 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 และ 2 เรียนด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนร่วมกันด้วยกรณีศึกษาแบบสถานการณ์ที่ใช้บล็อก และเว็บบอร์ด กลุ่มที่ 3 และ 4 เรียนด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนร่วมกันด้วยกรณีศึกษาแบบตัดสินใจที่ใช้บล็อก และเว็บบอร์ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนร่วมกันด้วยกรณีศึกษาและเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต่างกัน 2) กรณีศึกษา 3 ) ระบบจัดการเรียนรู้ 4) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 5) แบบประเมินแบบรูบริกส์ 6) แบบประเมินตนเองที่มีต่อการเรียนรู้เป็นทีม 7) แบบประเมินการมีส่วนร่วมของสมาชิกในทีม และ 8) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนร่วมกันด้วยกรณีศึกษาและเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต่างกัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ (ƒ) ค่าเฉลี่ย (X bar) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ค่าที (T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-Way ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบพหุนาม (Two-Way MANOVA) |
Other Abstract: | ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. นิสิตปริญญาบัณฑิตที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนร่วมกันด้วยกรณีศึกษาและเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต่างกัน พบว่า ทั้ง 4 กลุ่ม มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ทั้ง 4 กลุ่มมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลของการพัฒนาการเรียนรู้เป็นทีมของนิสิตปริญญาบัณฑิตด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนร่วมกันด้วยกรณีศึกษาและเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต่างกัน พบว่า ค่าเฉลี่ยของความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม ทั้ง 4 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนร่วมกันด้วยกรณีศึกษาและเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต่างกัน มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บุคคล 2) เนื้อหา 3) กรณีศึกษา 4) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 6) การประเมินผล รูปแบบ มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนร่วมกันด้วยกรณีศึกษาและเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ 2.1) ขั้นทำความเข้าใจและระบุปัญหาร่วมกัน 2.2) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาร่วมกัน 2.3) ขั้นเสนอวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน 2.4) ขั้นตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน 2.5) ขั้นสรุปผลร่วมกัน และ 3) ขั้นประเมินผล 4. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกรณีศึกษาต่างกันที่ใช้เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างกันที่ส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา และการเรียนรู้เป็นทีม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจโดยรวมต่อรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนร่วมกันด้วยกรณีศึกษาและเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีต่อการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการเรียนรู้เป็นทีมในระดับมาก The purpose of this research were to develop problem solving and team learning ability of undergraduate students using blended learning model using learning together technique (LTT) with different case-based learning (CBL) and knowledge sharing technologies. The experimental design used in this study was factorial design and composed of two educational variables. They were types of case studies: situation and decision case; knowledge sharing technologies: blog and webboard. The sample included 48 undergraduate students of the Faculty of Education, Kasetsart University. They were divided into four groups, each group comprised twelve students with mixed ability. Four groups were: a blended learning model using LTT with situation case using blog and webboard technology. The research instruments were included 1) a blended learning model using learning together technique with different case-based learning and knowledge sharing technology 2) case studies 3) learning management system 4) problem solving ability test 5) rubric assessment 6) team learning self- assessment form 7) participation of team learning questionnaire, and 8) student satisfaction assessment questionnaire. Data were analyzed using Frequency (ƒ), Mean (X bar ), Standard Deviation (S.D.), t-test, two-ways ANOVA, and two-way MANOVA. The research findings were : 1. Students who experienced a blended learning model with different types of case studies and knowledge sharing technologies had statistically significant higher scores in the problem solving ability than pre-test scores at the level of .05. However, there were no statistically significant differences between four experimental groups. 2. The result of the development of team learning of undergraduate students using a blended learning model using learning together technique with different case-based learning and knowledge sharing technology showed the high level every group. However, there were no statistically significant differences between four experimental groups at the level of .05. 3. A blended learning model using learning together technique with CBL and knowledge sharing technology consisted of 6 components : 1) people 2) content 3) case study 4) knowledge sharing environment 5) knowledge sharing technology and 6) evaluation. The learning process consisted of 3 processes: 1) preparation 2) implementation of a blended learning together activity with CBL and knowledge sharing technology 2.1) understand and identify problems together, 2.2) analyze causes of the problems together, 2.3) propose solutions together, 2.4) choose a solution together, 2.5) summarize together, and 3) evaluation. 4. There was no interaction between different case studies and knowledge learning technologies regarding the development of problem solving and team learning abilities. 5. All four experimental groups experienced with blended learning model using LTT with different CBL and knowledge sharing technology regarding the problem solving and team learning abilities had the learning satisfaction score at the high level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32860 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1309 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1309 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sutithep_si.pdf | 8.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.