Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33140
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดุจใจ ชัยวานิชศิริ | - |
dc.contributor.advisor | สมพล สงวนรังศิริกุล | - |
dc.contributor.author | กรรณิกา ชูชาติ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-07-16T07:29:49Z | - |
dc.date.available | 2013-07-16T07:29:49Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33140 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมและแข่งขัน และระดับสมรรถภาพทางกายเฉพาะกีฬาของนักกีฬารักบี้ฟุตบอลหญิงเจ็ดคน ทีมชาติไทย จำนวน 18 คน เป็นเวลา 8 เดือน ในชุดเตรียมการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 16 ซึ่งจัดการแข่งขัน ณ เมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2553 ผลการศึกษาพบว่ามีการบาดเจ็บเกิดขึ้นทั้งหมด 178 ครั้ง คิดเป็น 37.03 ครั้ง/1000 ชั่วโมงของการเล่นกีฬา โดยจำแนกเป็น 110 ครั้ง = 23.01 ครั้ง/1000 ชั่วโมงการฝึกซ้อม และ 68 ครั้ง = 2602.37 ครั้ง/1000 ชั่วโมงการแข่งขัน โดยในระหว่างฝึกซ้อม มีการบาดเจ็บของเอ็น (sprain) มากที่สุด ส่วนตำแหน่งที่บาดเจ็บบ่อยคือต้นขา และสาเหตุที่พบมากที่สุดเกิดจาก overuse ด้วยการวิ่ง ส่วนในขณะแข่งขัน พบการบาดเจ็บชนิดฟกช้ำมากที่สุด เกิดที่ต้นขาและบริเวณเข่า สาเหตุจากการถูกแทคเกิลและถูกชน โดยการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง และมักเกี่ยวข้องกับการฝึกมากกว่าระดับสมรรถภาพของนักกีฬา แต่ก็ยังมีการบาดเจ็บที่ค่อนข้างรุนแรง ได้แก่ การเกิดข้อไหล่เคลื่อนและการบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า จากการทดสอบสมรรถภาพร่างกายของนักกีฬาพบว่า สมรรถภาพชนิดแอนแอโรบิกและสมรรถภาพทางกายเฉพาะกีฬาอยู่ในระดับสูง ส่วนสมรรถภาพด้านแอโรบิกอยู่ในระดับต่ำเกือบทุกคน แม้ว่านักกีฬาที่มีสมรรถภาพดีกว่ามีโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้ไม่แตกต่างจากนักกีฬาที่มีสมรรถภาพต่ำกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะการมีส่วนร่วมในการฝึกซ้อมและแข่งขันมากกว่า อย่างไรก็ตาม ควรเสริมโปรแกรมการฝึกด้านแอโรบิกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการแข่งขันของทีม และอาจมีผลช่วยลดอุบัติการณ์ของการบาดเจ็บได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This is a prospective descriptive study research, which investigated the incidence of injuries from training and competitions, and sport specific physical fitness in 18 Thai national women's rugby sevens players during 8-mouth preparation for 16th Asian Games held at Guangzhou, People's Republic of China in 2010. A total of 178 injuries = 37.03 injuries/1000 hours of exposure were recorded. The incidence of injury was 110 = 23.01 per 1000 hours of exposure during training, and 68 = 2602.37 per 1000 hours of exposure during matches. During training, the most common diagnosis was sprain; most injuries located in the thigh; and most were from overused running. During matches, the most common injury was contusion/ haematoma; the common sites were thigh and knee; and most injured from tackle and collision. The injuries were related to rugby training, not to the physical fitness. Almost all injuries were mild degree, but there were also severe injuries such as shoulder dislocation and knee ACL injury. The physical assessment showed high level of anaerobic performance and sport specific physical fitness, whereas the aerobic capacity was poor in almost all players. According to more participation in practice hours and matches, the incidence of injury among higher fitness level players was similar to other players. We suggest adding more aerobic activities in the training program, in order to enhance the competitive performance and lower the injury rate. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1376 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | นักกีฬารักบี้ | en_US |
dc.subject | รักบี้ -- อุบัติเหตุและบาดเจ็บ | en_US |
dc.subject | Rugby football players | en_US |
dc.subject | Rugby football injuries | en_US |
dc.title | อุบัติการณ์การบาดเจ็บและสมรรถภาพทางกายเฉพาะกีฬาของนักกีฬารักบี้ฟุตบอลเจ็ดคนหญิง ทีมชาติไทย | en_US |
dc.title.alternative | Incidence of injuries and sport specific physical fitness of Thai national women’s rugby sevens players | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เวชศาสตร์การกีฬา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1376 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kannika_ch.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.