Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33149
Title: การผลิตไบโอดีเซลที่เร่งปฏิกิริยาโดยไลเพสจากแบคทีเรีย ยีสต์ และรา
Other Titles: Production of biodiesel catalyzed by lipases from bacteria, yeast and fungi
Authors: ชุติมา แก้วพิบูลย์
Advisors: ทิฆัมพร ยงวณิชย์
วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: เชื้อเพลิงไบโอดีเซล -- การผลิต
ไลเปส
แบคทีเรีย
ยีสต์
เชื้อรา
Biodiesel fuels -- Production
Lipase
Bacteria
Yeast
Fungi
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไบโอดีเซลหรือเมทิลเอสเทอร์ เป็นเชื้อเพลิงที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพ และไม่เกิดมลพิษ ปัจจุบันการใช้ไลเพสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันในการผลิตไบโอดีเซล ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากได้ผลิตภัณฑ์ที่บริสุทธิ์ แต่ราคาของเอนไซม์สูง จึงไม่เป็นที่นิยมใช้ในระดับอุตสาหกรรม ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการ เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซลจากปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันที่เร่งปฏิกิริยาโดยไลเพสที่แยกจากจุลินทรีย์ 3 ประเภท ดังนี้คือ แบคทีเรีย Stephylococcus warneri ที่คัดเลือกจากแบคทีเรียที่ผ่านการคัดแยกแล้วว่าผลิตไลเพสได้ 4 ชนิด เชื้อยีสต์ Candida rugosa สายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์กลายพันธุ์ด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต และเชื้อรา Fusarium solani เมื่อนำไลเพสที่แยกได้จากเชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 4 ชนิด มาทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีคอลัมน์โครมาโทกราฟี ชนิดแลกเปลี่ยนไอออนลบ และสัมพรรคภาพชนิดแรงกระทำไฮโดรโฟบิก พบว่า ไลเพสจากเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus warneri; เชื้อยีสต์ Candida rugosa ทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม และกลายพันธุ์ด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต และเชื้อรา Fusarium solani มีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้นประมาณ 4.2; 4.44; 4.25 และ 6.2 เท่า และยังมีแอกทิวิตีเหลืออยู่ประมาณ 31.5; 16.37; 17.82 และ 16.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากการวิเคราะห์น้ำหนักโมเลกุลโดยวิธีโซเดียมโดเดซิลซัลเฟตพอลิอะคริลาไมด์เจลอิเล็กโทรโฟเรซิส พบว่ามีค่าประมาณ 45; 60; 60 และ 30 กิโลดาลตัน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความสามารถเร่งปฏิกิริยา และความจำเพาะต่อสารตั้งต้นของไลเพสบริสุทธิ์ในปฏิกิริยาไฮดรอลิซิส และการสังเคราะห์เอสเทอร์ที่ประกอบด้วยเอสเทอริฟิเคชัน และ ทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน ในปฏิกิริยาไฮดรอลิซิสที่มีพารา-ไนโตรฟีนิลปาล์มิเทตเป็นสารตั้งต้น พบว่าไลเพสจากเชื้อทั้ง 4 ชนิด มีแอกทิวิตีจำเพาะเท่ากับ 5.42±0.87; 312.28±5.12; 763.6±4.37 และ 8.18±0.52 หน่วยต่อมิลลิกรัมโปรตีน ตามลำดับ และมีความจำเพาะต่อสารตั้งต้นที่มีจำนวนคาร์บอนตั้งแต่ 8 ถึง 10 ; 4 ถึง 16 และ 12 ตามลำดับ ในปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชันในการสังเคราะห์โดเดคาโนเอต พบว่าเชื้อทั้ง 4 ชนิดมีแอกทิวิตีจำเพาะเท่ากับ 12.69±0.52; 33.33±0.12; 50.23±0.11 และ 2.4±0.15 หน่วยต่อมิลลิกรัม ตามลำดับ และในปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันในการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม พบว่าเชื้อทั้ง 4 ชนิดมีแอกทิวิตีจำเพาะเท่ากับ 0.124±0.01; 0.33±0.03 0.78±0.02 และ 0.102±0.01 หน่วยต่อมิลลิกรัมโปรตีนตามลำดับ ส่วนการผลิตไบโอดีเซลด้วยปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน ที่มีน้ำมันปาล์ม และเมทานอลเป็นสารตั้งต้น เร่งโดยไลเพสจากเชื้อทั้ง 4 ชนิด ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง พบว่าร้อยละการเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์เท่ากับ 21.59±3.42; 32.21±2.32; 59.46±3.47 และ 23.98±3.21 ตามลำดับ จากผลงานวิจัยทั้งหมด พบว่าเชื้อยีสต์ Candida rugosa ทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์กลายพันธุ์สามารถเร่งปฏิกิริยาไฮดรอลิซิส และสังเคราะห์เอสเทอร์ได้ดีที่สุดในจำนวนจุลินทรีย์ทั้ง 4 ชนิด ที่น่าสนใจคือสายพันธุ์กลายพันธุ์มีความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาได้ดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมประมาณ 2 เท่า
Other Abstract: Biodiesel or methyl ester has been regarded as a biodegradable and nonpolluting fuel. Recently, the production of biodiesel employing lipase catalyzed transesterification has attracted much attention as it produces high purity product. However, the cost of enzyme remains a barrier for its industrial implementation. Therefore, the objective of this research is to compare the production of biodiesel obtained from transesterification process catalyzed by lipases isolated from 3 various types of microorganisms namely: bacterium selected from 4 types of screened lipase producing bacteria Staphylococcus warneri, wild type and UV irradiated mutant unicellular yeast Candida rugosa and finally filamentous fungus Fusarium solani. When the isolated crude lipases obtained from these 4 microorganisms were purified by anion-exchange DEAE Hitrap followed by baffinity phenylsepharose hydrophobic interaction chromatography, the purification folds for lipases from Staphylococcus warneri, wild type and UV irradiated mutant unicellular yeast Candida rugosa and filamentous fungus Fusarium solani were 4.2, 4.44, 4.25 and 6.2 and the activity yields obtained were 31.5, 16.37, 17.82 and 16.5 respectively. The purified lipases were later analyzed for purity by sodium dodecyl sulfate polyacryulamide gel electrophoresis and the molecular weight of lipase for each microorganism was found to be approximately 45, 60, 60 and 30 kDa respectively. Then, the crude and purified lipases from each microorganism were compared for catalytic activities and substrate specificities in the hydrolytic reaction. In addition, the ester synthetic activities which consist of direct esterification and transesterification from palm oil were also studied. The results from hydrolysis using para-nitrophenylpalmitate as substrate showed that specific activities of lipases from 4 microorganisms were 5.42±0.87; 312.28±5.12; 763.6±4.37 and 8.18±0.52 unit per milligram protein and showed specifities for substrates with the number of carbon chain lengths of 8-10: 4-16 and 12 respectively. For the ester synthetic reactions, the specific activities of lipases in esterification process for the production of dodecanoate from 4 microorganisms were 12.69±0.52; 33.33±0.12; 50.23±0.11 and 2.4±0.15 unit per milligram protein respectively. On the other hand, specific activities of lipases in transesterification process for methylester or biodiesel from 4 microorganisms were 0.124±0.01; 0.33±0.03 0.78±0.02 and 0.102±0.01 unit per milligram protein respectively. When the production of biodiesel using the palm oil and methanol as substrates and catalyzed by purified lipases from all 4 types of microorganisms were determined in comparison at 40 degree celcius for 48 hours, the percent conversion were found to be 21.59±3.42; 32.21±2.32; 59.46±3.47 and 23.98±3.21 respectively. Overall, among 4 microorganisms studied, it can be seen that Candida rugosa lipases from both wild type and mutants similarly exhibited highest hydrolytic and synthetic activities. More interestingly, the activities from purified lipase in mutant strain showed approximately 2 folds higher than that of the wild type.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33149
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.17
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.17
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chutima_ka.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.