Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33153
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วัชรินทร์ ฐิติอดิศัย | - |
dc.contributor.author | ศรัญญา จันทรคง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-07-16T13:29:34Z | - |
dc.date.available | 2013-07-16T13:29:34Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33153 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาการเตรียมความพร้อมในการเข้าศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมในการเข้าศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวนทั้งสิ้น 185 คนได้แก่ 1) ครูผู้สอนวิชาศิลปศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 คน 2) ครูผู้สอนวิชาศิลปะในโรงเรียนกวดวิชาศิลปะต่างๆ จำนวน 2 คน 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 คน และ 4) นิสิต/นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 สาขาวิชาศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 5 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การเตรียมตัวเข้าศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษามีการเตรียมความพร้อมในการสอบวิชาการทั่วไป ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่เตรียมตัวเกี่ยวกับวิชาภาษาไทย ในระดับมาก รองลงมา คือ วิชาสังคมศึกษา น้อยสุด คือ วิชาวิทยาศาสตร์ มีการเตรียมตัวในระดับปานกลาง สำหรับการเตรียมความพร้อมในการสอบวิชาเฉพาะ พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งในด้านความรู้ทางสุนทรียศาสตร์ ส่วนใหญ่เตรียมตัวเกี่ยวกับวิชาศิลปะนิยม รองลงมา คือ วิชาศิลปวิจักษ์ และน้อยสุด คือ วิชาสุนทรียศาสตร์ ด้านความรู้ทางด้านศิลปวิจารณ์ มีการเตรียมตัวในระดับปานกลาง ส่วนด้านความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ มีการเตรียมตัว ในระดับปานกลาง ซึ่งส่วนใหญ่เตรียมตัวเกี่ยวกับวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย รองลงมา คือ วิชาประวัติศาสตร์ศิลปะร่วมสมัย และน้อยสุด คือ วิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันออก และวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะพื้นบ้าน สำหรับความรู้ทางด้านศิลปะปฏิบัติ มีการเตรียมตัว ในระดับปานกลาง ซึ่งส่วนใหญ่เตรียมตัวเกี่ยวกับวิชาการจัดองค์ประกอบศิลป์ รองลงมา คือ วิชาการเขียนภาพหุ่นนิ่ง และน้อยสุด คือ วิชาการพิมพ์ภาพ ส่วนวิธีการเตรียมความพร้อมในการเข้าศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่มีการทบทวนความรู้วิชาการทั่วไปด้วยตนเอง ในระดับมาก รองลงมา คือ มีการเตรียม ความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจก่อนการสอบคัดเลือก และน้อยสุด คือ มีการเรียนกวดวิชาการทั่วไปแบบกวดเดี่ยว | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objective of this quantitative research is to study the preparation process necessary for the undergraduate art education study. The population and the sample groups used in the research involved 185 people including 1) two Grade 12 art teachers; 2) two tutors from art tutoring schools; 3) 40 Grade 12 students; and, 4) 141 first year undergraduate art students of five public higher education institutions in the second semester of academic year 2010, namely Chulalongkorn University, Srinakharinwirot University, Khon Kaen University, Prince of Songkhla University (Pattani Campus), and, Chiang Mai University. The tools used were interview and questionnaire with data analysis by SPSS to determine frequency, percentage, average and standard deviation. The research has found that the preparation process for undergraduate art education study involves moderate level of preparation for general academic tests. Most of the students have had significant preparation for the Thai test, followed by Social Studies test, with the least preparation being for Science at a moderate level. With regard to Artistic Specialty test, it is found that the students have had a moderate level of preparation. Where appreciation is concerned, most of the students have had preparation for Artistic Appreciation, followed by Artistic Empiricism, with the least preparation being for Aesthetics. They have had a moderate level of preparation for artistic criticism while the same is true for art history where the majority of the students have had preparation for History of Thai Art, followed by History of Contemporary Art, with the least preparation being for History of Eastern Art and History of Folk Art. As for artistic practice, preparation is found to be at a moderate level. The majority of the students have had preparation for Composition, followed by Still-Life, with the least preparation being for Photo Printing. Preparedness for undergraduate art education study is at a moderate level. For the majority of students, this process involves mostly review of the textbooks on their own, followed by physical and mental preparation, with private tutoring being the least resorted option. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1380 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สถาบันอุดมศึกษา -- การสอบคัดเลือก | en_US |
dc.subject | ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน | en_US |
dc.subject | ความพร้อมทางการเรียน | en_US |
dc.subject | Universities and colleges -- Entrance examinations | en_US |
dc.subject | Art -- Study and teaching | en_US |
dc.subject | Readiness for school | en_US |
dc.title | การศึกษาการเตรียมความพร้อมในการเข้าศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต | en_US |
dc.title.alternative | A study of preparation for undergraduate art education study | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ศิลปศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1380 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
saranya_ch.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.