Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33249
Title: | การผลิตและการรับรู้ความเป็นไทยในการ์ตูนแอนิเมชันไทยที่แพร่ภาพทางโทรทัศน์ (พ.ศ.2551-2553) |
Other Titles: | Production and perception of Thainess in Thai televised animations (2008-2010) |
Authors: | ตปากร พุธเกส |
Advisors: | กาญจนา แก้วเทพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | โทรทัศน์ -- การผลิตและการกำกับรายการ การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์ การ์ตูนโทรทัศน์ การรับรู้ เอกลักษณ์ทางสังคม -- ไทย Television -- Production and direction Computer animation Animated television programs Perception Group identity -- Thailand |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความเป็นไทยในการ์ตูนแอนิเมชันไทยยุคใหม่ที่แพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ไทยจาก 3 องค์ประกอบการสื่อสารได้แก่ ตัวสาร (M) ผู้ผลิต (S) และผู้รับสาร (R) เนื่องจากในอดีตการ์ตูนไทยนิยมใช้นิทานและวรรณกรรมไทยเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต แต่ในปัจจุบันมีการเลือกใช้เนื้อหาที่นำมาผลิตแตกต่างไป แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ 1) เนื้อหาไทยที่แต่งใหม่ 2) เนื้อหาจากวัฒนธรรมต่างชาติ 3) เนื้อหาผสมหลายวัฒนธรรม 4) เนื้อหาจากจินตนาการ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าการ์ตูนไทยยังคงมีความเป็นไทยปรากฏอยู่หรือไม่อย่างไร จึงเลือกการ์ตูนไทย 4 เรื่องมาทำการศึกษา ได้แก่ 1) ชุมชนนิมนต์ยิ้ม 2) ไซอิ๋วเดอะมังกี้ 3) ไซคิกฮีโร่ และ4) เชลล์ดอน เป็นตัวแทนของการ์ตูนทั้ง 4 เนื้อหาตามลำดับ ในการศึกษาใช้เทคนิคการวิเคราะห์ตัวสารเพื่อหาความเป็นไทย และรูปแบบการปรับตัวจากตัวสาร วิเคราะห์ปัจจัยในการสร้างความเป็นไทยด้วยการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกผู้ผลิต และสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้รับสารชาวไทย ที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อวิเคราะห์ถึงการรับรู้ความหมายความเป็นไทยจากเนื้อหาใหม่เหล่านี้ ผลการศึกษาพบว่า การ์ตูนแอนิเมชันไทยยุคใหม่ยังคงแสดงความหมายความไทย แต่มีระดับที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือเป็นไทยเดิม ไทยใหม่ และไม่มีความเป็นไทย ซึ่งพบใน 4 มิติได้แก่ 1) มิติเนื้อหา 2) มิติตัวการ์ตูน 3) มิติฉาก 4) มิติทางเสียง และพบว่าการ์ตูนไทยยุคใหม่ 4 เนื้อหานี้ มีการปรับตัวใน 3 รูปแบบได้แก่ 1) ผีเสื้อ 2) อะมีบา 3) ปะการัง ในส่วนการวิเคราะห์ผู้ผลิตพบ 4 ปัจจัยที่ทำให้การ์ตูนไทยเกิดการปรับตัวและส่งผลต่อการผลิตความเป็นไทยคือ 1) วัตถุประสงค์ในการผลิต 2) มูลค่าการตลาดภายในประเทศ 3) ข้อจำกัดของการผลิตเนื้อหาไทย 4) ช่องทางในการแพร่ภาพ และในส่วนการวิเคราะห์ผู้รับสารพบว่าการ์ตูนไทยที่มีการปรับตัวด้วยรูปแบบผีเสื้อสามารถสื่อสารความเป็นไทยให้ผู้รับสารทั้งเด็กและผู้ใหญ่รับรู้ตีความหมายได้ที่จุดยืนเดียวกับผู้ผลิต ส่วนการ์ตูนไทยที่มีการปรับตัวรูปแบบ อะมีบา และปะการัง ในผู้รับสารกลุ่มเด็กจะมีการต่อรองความหมายความเป็นไทย แต่ผู้รับสารกลุ่มผู้ใหญ่จะมีการตีความหมายทั้งการต่อรองและการต่อต้านความหมาย ทั้งนี้เกิดจากความแตกต่างของประสบการณ์ที่มีต่อความหมาย “ความเป็นไทย” ของผู้รับสารทั้ง 2กลุ่มนั่นเอง |
Other Abstract: | This qualitative research was aimed to study about production and perception of Thainess in Thai televised animations by focusing on three basic elements, Message (M), Sender (S) and Receiver (R). In the pass, the Thai televised animations are made based on the folktale, but these have been changed presently and been made by four different contents, 1) Thai modern content 2) content from foreign cultures 3) combine content from many cultures 4) imaginative content. Regarding to these contents, it is inquiring if there is still Thainess in the modern cartoon animation. So, the researcher has selected 4 Thai modern animations for this study 1) Nimonyim 2) Siew the monkey 3) Psychic Hero 4) Shelldon by textual analyzing the Thainess from animation’s messages and its adaptable function. In-depth interviews of key informants and focus group the Thai audience is also used for this research. The result shows that Thainess is still remained in the modern animation, but these have displayed in three different levels 1) Old Thai, 2) Modern Thai 3) none Thai. The remaining Thainess could be found in 4 functions as follows 1) body message 2) cartoon character 3) scene 4) sound. Besides, the modern Thai animation is represented by 3 patterns 1) butterfly 2) amoeba 3) coral. Furthermore, there are 4 main factors adapting the modern animation to Thainess, 1) production objectives 2) commercial financial 3) restrictions of Thai content 4) local channel. The animation character has influenced the audience by their Thainess experiences to their acknowledgement. The character of butterfly has completely communicated the producer’s objection of Thainess to the children and adult. The characters of Ameba and coral have not completely communicated the Thainess to the audience, the children have interpreted by negotiated code, while the adult has interpreted by negotiated code and oppositional code. So, experience of Thainess is factor of difference interpreted. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33249 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.187 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.187 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
tapakon_pu.pdf | 6.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.