Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33443
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสันติ คุณประเสริฐ-
dc.contributor.authorมนสิรี ศรีรักษา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-07-27T07:28:18Z-
dc.date.available2013-07-27T07:28:18Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33443-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนศิลปะตามลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนทั้งหมด 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมวาดภาพระบายสีโดยใช้เทคนิคการสร้างสรรค์งานศิลปะ ตามลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์ในวิชาศิลปะ จำนวน 3 แผนการจัดการเรียรู้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง จุดสีสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง รอยแปรงสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ และแผนการจัดการเรียรู้ที่ 3 เรื่อง การลดทอนรายละเอียดสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ 2) แบบประเมินพุทธพิสัยก่อน และหลังเรียนวิชาศิลปะ 3) แบบประเมินจิตพิสัยผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมวาดภาพโดยใช้เทคนิคสร้างสรรค์ตามลัทธิโพสท์อิมเพรสชันนิสม์ 4) แบบประเมินทักษะพิสัยผู้เรียนจากกิจกรรมวาดภาพโดยใช้เทคนิคสร้างสรรค์ตามลัทธิโพสท์อิมเพรสชันนิสม์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า (t- test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านพุทธิพิสัย ผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้เรื่องกิจกรรมวาดภาพระบายสีด้านเทคนิคการสร้างสรรค์งานศิลปะ ตามลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์ในวิชาศิลปะ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังได้รับการจัดกิจกรรมการสอนวาดภาพระบายสีจำนวน 3 เรื่อง คือ จุดสีสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ รอยแปรงสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ และการลดทอนรายละเอียดสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ คะแนนหลังเข้ารับการสอนสูงกว่าคะแนนก่อนเข้ารับการสอน 2. ด้านเจตคติ มีการเปลี่ยนแปลงด้านเจตคติเรื่องกิจกรรมวาดภาพระบายสีในวิชาศิลปะด้านเทคนิคการสร้างสรรค์งานศิลปะ ตามลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์สหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังได้รับการจัดกิจกรรมวาดภาพระบายสีโดยใช้เทคนิคการสร้างสรรค์งานศิลปะ ตามลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์มีคะแนนมากกว่าก่อนเข้ารับการสอน 3. ด้านทักษะพิสัยผู้เรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมวาดภาพระบายสีโดยใช้เทคนิคการสร้างสรรค์งานศิลปะ ตามลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับเห็นด้วยดีทั้ง 3 เรื่อง ได้แก่ จุดสีสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ รอยแปรงสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ และการลดทอนรายละเอียดสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยคือ การจัดกิจกรรมวาดภาพระบายสีโดยใช้เทคนิคการสร้างสรรค์งานศิลปะ ตามลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์ มีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพทางการเรียนการสอนศิลปศึกษาในด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัยและจิตพิสัยที่มีการพัฒนาด้านความรู้ และหลักการอื่นๆ การพัฒนาทางด้านเจตคติต่อการเรียนศิลปะ สามารถนำมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนในระดับอื่นๆ ได้ และส่งเสริมผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์งานศิลปะ ตามลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์ได้ด้วยตนเองen_US
dc.description.abstractalternativeThis is the descriptive research, the purpose was to study the art instruction based on post-impressionism for higher secondary school students. The sampling group of this study were 20 students. The research instruments were: 1) Three lesson plans of drawing and painting activities included pointillism landscape, brush stroke landscape, and distortion landscape 2) The Achievement test for pretest and posttest, concerning content knowledge, 3) The Attitude test for pr, 4) Student products evaluation form, concerning students’ art creation skill of Post-impressionism. The obtained data were analyzed by means, standard deviations, frequencies and t-test. The results are as follows: 1. Cognitive domain: The achievement scores of art knowledge of students in issues of pointillism, brush stroke and distortion from post-test were higher than pre-test. 2. Affective domain: The attitude scores of students in issues of pointillism, brush stroke and distortion from post-test were higher than pre-test. 3. Psychomotor domain: The achievement scores of art skills from student products evaluation, all three lessons were rated at a good level. The additional research suggestions, the art teaching, by using the techniques art creation of post-impressionism, upon the methodology are able to develop the art teaching-learning competency in different aspects whether development of knowledge and attitude changing towards art learning and to promote the learner at different levels to have creative thinking on art by using the techniques art creation of post-impressionism by themselves.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1484-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectโพสต์อิมเพรสชันนิสม์ (ศิลปกรรม)en_US
dc.subjectจิตรกรรมen_US
dc.subjectArt -- Study and teaching (Secondary)en_US
dc.subjectPost-impressionism (Art)en_US
dc.subjectPaintingen_US
dc.titleการศึกษาการจัดการเรียนการสอนศิลปะตามลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายen_US
dc.title.alternativeStudy of art instruction based on post- impressionism for higher secondary school studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1484-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
monsiree_sr.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.