Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34259
Title: | ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้แบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าในสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน |
Other Titles: | The effect of supportive educative group on depression in perimenopausal women |
Authors: | จุติพร ทองสัมฤทธิ์ |
Advisors: | อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย จรรยา ฉิมหลวง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | วัยก่อนและหลังหมดระดู -- แง่จิตวิทยา ความซึมเศร้าในสตรี -- การดูแล การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย Perimenopause -- Psychological aspects Depression in women -- Care Patient education |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้แบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าในสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนที่มารับบริการคลินิกวัยทอง โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยจับคู่ความเท่าเทียมกันด้านการศึกษา รายได้ และสถานภาพสมรส ได้กลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้แบบกลุ่ม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้แบบกลุ่ม ที่ผู้วิจัยพัฒนาตามกรอบแนวคิดของโอเร็ม (Orem, 2001) และ Marram (1978) ประกอบด้วย 3 ระยะคือ 1. สร้างสัมพันธภาพและประเมินปัญหา 2. ระยะดำเนินการ 3. ยุติกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนภาวะซึมเศร้าในสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนภายหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้แบบกลุ่มต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนภาวะซึมเศร้าในสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนภายหลังกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้แบบกลุ่มต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of supportive educative group program on depression in perimenopausal women. Sample were 40 perimenopausal women from menopause clinic in Police General Hospital and were selected by matched pairs into a experimental group and a control group with 20 in each group considering education status and income. The experimental group was received supportive educative group program while the control group was received routine nursing care. Experimental instruments were supportive educative group program developed from Orem theory (2001) and Marram (1978). Program consisted of 1) relation and assessment 2) group implementation 3) evaluation and finished group. Data were collected by demographic data form and Depression scale form Center of Epidemiological Studies (CES-D) The instruments were tested for content validity by 5 professional. The reliability of CES-D were .81. Data were analyzed by mean, standard deviation and t-test statistic. Major finding were as follows: 1. The depression score after receiving the supportive educative group program was significantly lower than before receiving program, at the .01 level. 2. The depression score after receiving the supportive educative group program was significantly lower than those who could not receive the program, at the .01 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34259 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.455 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.455 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jutiporn_th.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.