Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34779
Title: | เทคโนโลยีเป็นกลางหรือไม่? |
Other Titles: | Is technology neutral? |
Authors: | องอาจ อิฐมอญ |
Advisors: | วิทย์ วิศทเวทย์ มารค ตามไท |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ความเป็นกลาง (ปรัชญา) เทคโนโลยี -- แง่สังคม เทคโนโลยี |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดปัญหามากมาย เช่น มลภาวะ การทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การว่างงาน ฯลฯ ในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้มีทัศนะที่ต่างกัน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า เทคโนโลยีเป็นกลางอันหมายถึง เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งขึ้นอยู่ที่มนุษย์จะเลือกใช้ไปในทางที่ให้คุณหรือโทษ โดยนัยนี้ปัญหาของเทคโนโลยีจึงเป็นปัญหาของมนุษย์ และการแก้ปัญหาก็ต้องแก้ที่ตัวมนุษย์ ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า เทคโนโลยีไม่เป็นกลางอันมีความหมายว่าเทคโนโลยีเป็นระบบที่มีเป้าหมายในตัวเองและมีแบบแผนวิธีการใช้อันตายตัว การเลือกใช้เทคโนโลยีในทางที่เป็นคุณหลีกเลี่ยงโทษที่จะได้รับจึงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากคุณและโทษเป็นสิ่งที่ฝังมากับเทคโนโลยีในทัศนะของฝ่ายนั้น ปัญหาทั้งหมดเกิดจากเทคโนโลยี การแก้ปัญหาจึงต้องแก้ที่ระบบเทคโนโลยี ไม่ใช่ที่มนุษย์ ด้วยเหตุนี้ การแก้ปัญหาของเทคโนโลยีจะเป็นอย่างไร จึงอยู่ที่การมีทัศนะอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าว ในการวิจัยนี้ เป็นการเสนอข้อโต้แย้งเพื่อหักล้างความเชื่อที่มีต่อความเป็นกลางของเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์ถึงโครงสร้างของระบบเทคโนโลยีทั้งหมด เริ่มตั้งแต่กระบวนการ ความแตกต่างของเทคโนโลยีแต่ละประเภทในแต่ละยุค ลักษณะของเครื่องจักรอัตโนมัติ เป้าหมายในตัวเองและผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากใช้เทคโนโลยี โดยมีการพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในสังคมไทยด้วย ทั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีไม่เป็นกลางอย่างไร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า มีเทคโนโลยีบางประเภทเป็นกลาง คือ เทคโนโลยีประเภทเครื่องมือมีบางประเภทที่คาบเกี่ยวระหว่างความเป็นกลางกับไม่เป็นกลาง คือ เทคโนโลยีประเภทเครื่องจักร และมีบางประเภทที่ไม่เป็นกลาง เทคโนโลยีประเภทเครื่องจักรอัตโนมัติ นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่าพัฒนาการทางเทคโนโลยีในสมัยปัจจุบันมีแนวโน้มไปสู่ความไม่เป็นกลาง และมี “ประสิทธิภาพ” เป็นเป้าหมายในตัวเอง |
Other Abstract: | The progress of technology causes many problems such as pollution, ecological change, unemployment, etc. In trying to find solution for these problems, there are 2 different viewpoints. The first believes that technology is neutral. This means that technology is just a tool which man can select for his advantage or disadvantage. This implies that the problems of technology are the problems of man. To solve them, man must be the solution. The second believes that technology is not neutral. This means that technology is a system which has an end in itself. It consists of fixed methods of use. It is impossible to select only the advantageous and avoid the disadvantageous. From this point of view, the problem is technology itself. The solution must be technology instead of man. Therefore, the solution for the problems depends on the viewpoint of this issue. This research presents the arguments against the neutrality of technology. It also analyses the whole technological structure including process, types of technology, features of automation machines, the end in itself, and social impacts of technology especially in Thai society. This analysis will attempt to show why some technology is not neutral. The result of this research is that there is a technological type which is neutral, i.e. technology as tool. At the same time, there is a type of technology which is semi-neutral, i.e. technology as machine. Moreover, there is also a technology which is not neutral, i.e. technology as automation. This research found that the trend of modern technological development is towards becoming non-neutral, with “efficiency” becoming a technological end in itself. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34779 |
ISBN: | 9745773077 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ongart_it_front.pdf | 5.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ongart_it_ch1.pdf | 5.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ongart_it_ch2.pdf | 8.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ongart_it_ch3.pdf | 19.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ongart_it_ch4.pdf | 10.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ongart_it_ch5.pdf | 4.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ongart_it_ch6.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ongart_it_back.pdf | 6.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.