Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35295
Title: | มาตรการทางกฏหมายในการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม |
Other Titles: | The Legal Measure to Control the Agricultural Tenancy |
Authors: | เยาวนุช วิยาภรณ์ |
Advisors: | ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์ สำเรียง เมฆเกรียงไกร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | กฎหมายที่ดิน การถือครองที่ดิน มาตรการการควบคุมเช่าที่ดิน |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ระบบการเช่ามีข้อดีในประการที่จะช่วยผ่อนคลายปัญหาการไม่มีที่ดินทำกินหรือมีแต่ไม่เพียงพอ แต่ภายใต้ระบบการเช่ามักจะมีการเอารัดเอาเปรียบ และพิพาทกันระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้เช่า ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งและความยากจนในชนบท เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางการเกษตรและความเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบถึงสังคมและความมั่นคงของประเทศ การแก้ไขปัญหาการเช่าในแต่ละประเทศล้วนแตกต่างกันไป ซึ่งอาจจัดได้เป็น 3 วิธีคือ การยกเลิกระบบการเช่า การปฏิรูประบบการเช่า การปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างผู้เช่าและเจ้าของที่ดิน โดยใช้มาตรการควบคุมการเช่าเป็นเครื่องมือ ซึ่งเป็นวิธีการที่เป็นไปได้มากกว่าการเปลี่ยนโดยวิธีอื่น ซึ่งมักจะมีผลไปในทางจำกัดสิทธิในการถือครองที่ดิน และประเทศไทยได้เลือกใช้วิธีนี้เช่นกันนับแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา แต่ปรากฏว่ายังมีปัญหาความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นอยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เช่าก็มิได้ดีขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายและข้อเท็จจริงในเรื่องการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยศึกษาในประการสำคัญดังนี้คือ ภาวะการณ์ถือครองและการเช่าที่ดิน ปัญหาและผลกระทบจากภาวะดังกล่าว แนวความคิดในการควบคุมการเช่าและมาตรการที่ใช้อยู่ในประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยได้ใช้พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เป็นกฎหมายพิเศษเพื่อควบคุมการเช่า ฉะนั้นในการเขียนวิทยานิพนธ์นี้จึงได้วิเคราะห์พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้เป็นสำคัญ และเทียบเคียงกับหลักการทั่วๆ ไปที่ใช้อยู่ในประเทศต่างๆ ส่วนข้อเท็จจริงและทางปฏิบัติได้ศึกษาจากตำรากฎหมาย เอกสารราชการ บทความ และสอบถามจากผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพบว่าภาวะการณ์ถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรของประเทศไทยอยู่ในลักษณะที่ไม่เหมาะสม มีเกษตรกรเป็นผู้เช่าเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณแหล่งเกษตรกรรม และผู้เช่าต้องประสบปัญหาในเรื่องค่าเช่า ความมั่นคงในการเช่า สภาพที่ดินขาดการปรับปรุง และปัญหาการพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้เช่า ตลอดไปจนถึงการใช้สิทธิตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มีหลักการที่จะคุ้มครองผู้เช่าอยู่แล้ว แต่ยังมีข้อบกพร่องอยู่บางประการซึ่งทำให้การควบคุมการเช่าเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม และไม่สามารถสร้างความเป็นธรรมขึ้นในระบบการเช่าได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ด้านองค์กรดำเนินการก็ยังมีข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนบางประการที่ทำให้การควบคุมขาดประสิทธิภาพ ประกอบกับสัญญาเช่าไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงไม่เอื้ออำนวยต่อการบังคับใช้กฎหมาย ด้วยเหตุดังกล่าวการบรรลุผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมายจึงเป็นไปได้ยาก จึงสมควรแก้ไขพร้อมทั้งสร้างมาตรการอื่นๆ เพื่อเสริมมาตรการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และขณะเดียวกันรัฐควรพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและบริการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลจากการใช้มาตรการควบคุมการเช่า และที่สำคัญรัฐต้องถือว่าการแก้ไขปัญหาการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นนโยบายสำคัญและต้องกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวอย่างแน่ชัดด้วย |
Other Abstract: | Tenancy offers an alternative of alleviating problems caused by shortage or insufficiency of Land. But its system usually creates injustice and disputes between landowners and tenants which can lead to social unrest and poverty in rural areas. Therefore, it is a impediment to economic development of agriculture and consequently may adversely affect the stability of the country and the economy as a whole. The way to solve tenancy problems vary among the countries, but they can be classified into three methods, i.e., to abolish the tenancy system, to reform the tenancy system and, to improve the relationships between landowners and tenants by means of tenancy control. Since the first and second methods prove to limit land rights, the third method is then far more practical. Thailand has been applying the third method since 1950, but there are still problems of injustice, while the economic status of tenant farmers remains low. This thesis aims at studying laws and analyzing data relating to agricultural land tenancy with emphasis on land tenancy situation, problems and repercussions arising out of it, rationale and concepts underlying tenancy control, and measures used in Thailand. At present, Thailand is applying the Act of Agricultural Land Tenancy B.E. 2524, which is promulgated to control leasehold. This thesis will mainly analyze the Act and compare it with general rules practiced in other countries, it also examines official documents, articles and seeks explanation from concerned persons. It may be concluded that the status of land possession for agriculture is not suitable. Most tenant farmers have to face with problem on rent. Security of tenure, land improvement, disputes between landlords and tenants, and the exercise of rights under the Act. This Act has been enacted to protect tenants, but there are some drawbacks which cause lease control ineffective and cannot bring about a fair lease system. Furthermore, the weaknesses in the organizational structure involved and the almost absence of lease contract documents imply inefficient supervision and control. From the above reasons, objectives of the Act are hardly accomplished. It is appropriate to revise the Act and create supplementary measures to ensure more effective lease control on agricultural land. At the same time the government should develop the industrial sector in order to accommodate whatever changes as a result of utilizing these land-lease-control measures. The government should realize that solving problems of agricultural land tenancy is an important policy matter and certain target should be set for implementation in line with these measures. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35295 |
ISBN: | 9745641197 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Yaowanooch_wi_front.pdf | 11.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yaowanooch_wi_ch1.pdf | 38.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yaowanooch_wi_ch2.pdf | 37.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yaowanooch_wi_ch3.pdf | 54.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yaowanooch_wi_ch4.pdf | 31.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yaowanooch_wi_ch5.pdf | 33.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yaowanooch_wi_back.pdf | 77.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.