Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35701
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ hypoxia กับการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผนังช่องท้องจากการรักษาทดแทนไตทางช่องท้องอย่างถาวร
Other Titles: Correlation of hypoxia and peritoneal morphological changes in CAPD condition
Authors: วศิน มนูประเสริฐ
Advisors: เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทย์ศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ไต -- โรค
ไตวายเรื้อรัง -- การรักษา
เยื่อบุช่องท้อง
Kidneys -- Diseases
Chronic renal failure -- Treatment
Peritoneum
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เนื่องจากในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตทางช่องท้องอย่างถาวรมาเป็นระยะเวลานานนั้น พบการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผนังช่องท้อง ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้เป็นการความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ hypoxia กับการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผนังช่องท้อง โดยทำการศึกษาทั้งในเซลล์เพาะเลี้ยงและสัตว์ทดลอง วิธีการศึกษา การศึกษาในสัตว์ทดลองได้แบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ได้รับน้ำยาฟอกไตทางช่องท้อง 4.25% dextrose และกลุ่ม hypoxia-mimic โดยทำการศึกษาเป็นเวลา 12 สัปดาห์ แล้วทำการประเมินทางสัณฐานของเยื่อบุผนังช่องท้อง นับจำนวนหลอดเลือดที่พบ และศึกษาการเกิดภาวะ hypoxia ส่วนการศึกษาในเซลล์เพาะเลี้ยงนั้น ได้ทำการเพาะเลี้ยง mesothelial cells แล้วแบ่งเซลล์เพาะเลี้ยงออกเป็น 13 กลุ่ม นำเซลล์ไปบ่มกับน้ำยาฟอกไตทางช่องท้องและองค์ประกอบของน้ำยาจากนั้นทำการศึกษาการเกิดภาวะ hypoxia ผลการศึกษา จากการประเมินทางสัณฐานของเยื่อบุผนังช่องท้องนั้นพบว่าในหนูกลุ่มที่ได้รับน้ำยาฟอกไตทางช่องท้องนั้นมีจำนวนหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น พบการหนาตัวของชั้น submesothelium พบการหลุดลอกของ mesothelial cells และพบการเกิดภาวะ hypoxia เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และในเซลล์เพาะเลี้ยงพบว่าเซลล์ที่สัมผัสกับน้ำยาฟอกไตทางช่องท้องนั้นพบการเกิดภาวะ hypoxia ซึ่งภาวะ hypoxia นี้เป็นผลอันเนื่องมาจากการสะสมขององค์ประกอบต่างๆ ในน้ำยาฟอกไตทางช่องท้อง โดยองค์ประกอบหลักในน้ำยาฟอกไตทางช่องท้องที่ส่งผลให้เกิดภาวะ hypoxia ได้แก่ปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่สูงและสารในกลุ่ม GDPs สรุปผลการศึกษา น้ำยาฟอกไตทางช่องท้องนั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะ hypoxia ซึ่งภาวะ hypoxia นี้เป็นผลอันเนื่องมาจากการสะสมขององค์ประกอบต่างๆ ในน้ำยาฟอกไตทางช่องท้องโดยองค์ประกอบของน้ำยาฟอกไตทางช่องท้องที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะ hypoxia มากที่สุดนั้นคือ ปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่สูงและสารในกลุ่ม GDPs
Other Abstract: Objective: Peritoneal injury and neovascularization were results from continuous exposure of peritoneum to peritoneal dialysis fluid (PDF). We aimed to investigate the correlation of hypoxia and PDF on peritoneal injury and angiogenesis in vitro and in vivo. Methods: Sprague-Dawley rats were subjected to twice-daily injections with normal saline (NS), 4.25 % dextrose PDF and hypoxia mimic. After 12-wk injection, morphologies of peritoneum, vascular number and hypoxia (HIF-1α and hypoxyprobe) were determined. In cell culture, the mesothelial cells were incubated with PDF and PDF components. Hypoxic mesothelial cells were assessed by the HIF-1α and positive hypoxyprobe staining consequently. Results: Vascular number and submesothelial thickness increased significantly while mesothelial cells disappeared in rats exposed to PDF that related to hypoxia. HPMCs cultured with PDF showed the positive results to HIF-1α and hypoxyprobe immunostaining. All the above abnormalities were results from additive effects of PDF component especially high glucose concentration and present of GDPs in the solution. Conclusion: PDF-induced peritoneal morphological changes by the additive effects of PDF component via hypoxia pathway.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35701
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1014
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1014
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wasin_ma.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.