Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35835
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอภิภา ปรัชญพฤทธิ์-
dc.contributor.advisorพรชุลี อาชวอำรุง-
dc.contributor.authorศรีมณา เกษสาคร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-09-04T03:40:44Z-
dc.date.available2013-09-04T03:40:44Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35835-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และบทบาทของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในฐานะผู้นำพหุวัฒนธรรมในมหาวิทยาลัยเอกชน วิเคราะห์องค์ประกอบและพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรมของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยเอกชน โดยศึกษาเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 13 แห่ง กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ คณบดี และหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัยเอกชน 13 แห่ง แห่งละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน อาจารย์ จำนวน 179 คน และนักศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ในมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และบทบาทของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในฐานะผู้นำพหุวัฒนธรรม พบว่า หัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้เชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างฝ่ายบริหารและอาจารย์ มีความรับผิดชอบทุกกิจกรรมของสาขาวิชา เช่น การพัฒนาหลักสูตร การวางแผน งบประมาณ การบริหารบุคคล เป็นต้น ปัญหาของหัวหน้าสาขาคือความกดดันเนื่องจากขาดประสบการณ์ด้านบริหาร และความเครียดที่เกิดจากภาระงานหนัก มีบทบาทสำคัญใน 6 บทบาท คือ 1) บทบาทผู้บริหาร 2) บทบาทผู้นำ 3) บทบาทผู้พัฒนาคณาจารย์ 4) บทบาทผู้จัดการที่ดี 5) บทบาทนักวิชาการ และ 6) บทบาทพี่เลี้ยง 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรมของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในทัศนะของอาจารย์ มี 2 องค์ประกอบ คือ 1) ทักษะการเปลี่ยนแปลงในกรอบทฤษฎีระบบที่เอื้อสู่การปรับตัว และ 2) ความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรม ในทัศนะของนักศึกษามี 4 องค์ประกอบ คือ 1) ทักษะการเล็งเห็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมและเชื่อมต่อในการทำงานกับบุคคลต่างวัฒนธรรมได้ 2) การผนวกความรู้และทักษะอันก่อให้เกิดความตระหนักในพหุวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรม 3) ความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของพหุวัฒนธรรมในการจัดการศึกษาและการบริหารเทศะ และ 4) ความตระหนักและความรู้ว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมส่งผลต่อผู้เรียน 3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรมของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยเอกชนมี 5 มิติ คือ มิติที่ 1 ภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วย ปรัชญาการจัดการ วิสัยทัศน์ การจัดโครงสร้างองค์กร การปรับพฤติกรรมของบุคลากร กลยุทธ์ในการสื่อสาร และการบูรณาการงานพหุวัฒนธรรมกับกลยุทธ์องค์กร มิติที่ 2 ระบบการจัดการ ประกอบด้วย กำหนดการทำงานและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การปฐมนิเทศ การรับบุคลากรใหม่ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการ การจัดฝึกอบรมและพัฒนา การเลื่อนตำแหน่ง มิติที่ 3 ความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาต่อภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรมของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในอุดมคติ ประกอบด้วย ทักษะการเปลี่ยนแปลง การสังเคราะห์สาระสำคัญ และผลที่เป็นรูปธรรม มิติที่ 4 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย ด้านนโยบาย ด้านหลักการ และด้านกิจกรรม และมิติที่ 5 การติดตามผล ประกอบด้วย ความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กระบวนการรายงานผลการปฏิบัติงาน และแผนการจัดการความรู้en_US
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study the current situations, the problems, and the roles of English Department heads, as multicultural leaders, in private universities; to analyze the factors of the multicultural leadership for them; and to develop a multicultural leadership development model for them. The study examined only English Department heads in 13 private universities in Bangkok Metropolitan Region. The sample groups were as follows: 13 deans and 13 English Department heads from the private universities, 179 faculty, and 350 senior Business English students studying in the second semester of the academic year 2011 in the private universities. The instruments were open-end questions for an in-depth interview, and a set of questionnaires. Data were analyzed by means of content analysis and descriptive statistics: means, percentages, standard deviations, paired samples t-test, and factor analysis technique. The results were as follows: 1. It was found that the English Department heads were transformational leaders. They also served as the crucial link between the administrators and their faculties. Their responsibilities covered all activities of the department such as curriculum development, planning, budgeting matters, personnel management, etc. Due to excessive tasks and lack of administration experience, they became under pressure and stress. The academic chair persons played 6 important roles: administrators, leaders, faculty developers, good managers, scholars, and mentors. 2. There were 2 main factors in faculty perspectives, viz. (1) Change management skills, in system approach, leading to adaptation, and (2) Multicultural awareness and knowledge. For student perspectives, there were 4 factors: (1) Skills in identifying cultural differences and in connecting individuals who were culturally different from him/herself, (2) The integration of knowledge and skills bringing about multicultural awareness visibly, (3) The awareness of values and importance of multiculturalism in providing education and place management, and (4) The awareness and knowledge of cultural differences affecting learners. 3. A model of multicultural leadership development for English Department heads in private universities consisted of 5 dimensions, viz. (1) Multicultural leadership composed of Management philosophy, Vision, Organization design, Personal involvement, Communication strategy, and Strategic integration; (2) Management system composed of Work schedules and physical environment, Orientation, Recruitment, Performance appraisal, Compensation and benefits, Training and development, and Promotion; (3) The opinions of instructors and students on ideal multicultural leadership of English Department heads, composed of Change management skills, Content syntheses, and Concrete results; (4) The approach to develop multiculturalism visibly, composed of Policies, Principles, and Activities; and (5) Follow-up composed of Accountability, Continuous improvement, Reporting process for performance results, and Knowledge management program.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.620-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาความเป็นผู้นำen_US
dc.subjectภาวะผู้นำทางการศึกษาen_US
dc.subjectครูภาษาอังกฤษ -- การฝึกอบรมen_US
dc.subjectอาจารย์มหาวิทยาลัย -- การฝึกอบรมen_US
dc.subjectหัวหน้าภาควิชา -- การฝึกอบรมen_US
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- การบริหารงานบุคคลen_US
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- อาจารย์ -- การฝึกอบรมen_US
dc.subjectDevelopment leadershipen_US
dc.subjectEducational leadershipen_US
dc.subjectEnglish teachers -- Training ofen_US
dc.subjectCollege teachers -- Training ofen_US
dc.subjectCollege department heads -- Training ofen_US
dc.subjectPrivate universities and colleges -- Personnel managementen_US
dc.subjectPrivate universities and colleges -- Faculty -- Training ofen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำพหุวัฒนธรรมของหัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยเอกชนen_US
dc.title.alternativeThe development of multicultural leadership development model for English Department heads in private universitiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.620-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
srimana_ke.pdf13.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.