Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35836
Title: เจตคติต่อเรื่องเพศของเด็กวัยรุ่นที่มีเชื้อเอชไอวีที่ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
Other Titles: Attitude towards sexuality of HIV adolescents at the Thai Red Cross AIDS Research Center
Authors: สุดรัก ลครพล
Advisors: ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์
ศิริวรรณ ศิริบุญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
จิตวิทยาทางเพศ
โรคเอดส์ในวัยรุ่น
โรคเอดส์ในวัยรุ่น -- แง่จิตวิทยา
โรคเอดส์ -- ผู้ป่วย -- ทัศนคติ
Thai Red Cross AIDS Research Center
Sex (Psychology)
AIDS (Disease) in adolescence
AIDS (Disease) in adolescence -- Psychological aspects
AIDS (Disease) -- Patients -- Attitudes
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติต่อเรื่องเพศของเด็กวัยรุ่นที่มีเชื้อเอชไอวีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเจตคติต่อเรื่องเพศที่จะส่งผลถึงแนวโน้มของพฤติกรรมการมีสุขภาวะทางเพศที่ดี กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยรุ่นอายุ 13-18 ปี ที่รู้สถานการณ์มีเชื้อเอชไอวีของตนเอง และมารับบริการที่คลินิกศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่าง ไทย ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ เพื่อการศึกษาวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย โดยทำการศึกษาเชิงปริมาณด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินเจตคติต่อเรื่องเพศจำนวน 80 คน และทำการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 29 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา Independence T-Test, One way Anova, Mann-Whitney U, Kruskal-Wallisและ Logistic Regression Analysis ตามความเหมะสม ผลการศึกษาพบว่าเด็กวัยรุ่นที่มีเชื้อเอชไอวีอายุ 16-18 ปี มีโอกาสที่จะอยู่ในกลุ่มที่เจตคติเรื่องเพศค่อนข้างบวกมากกว่าเด็กที่อายุ 13-15 ปี 5 เท่า และร้อยละ 96 กลุ่มเด็กที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ จะมีโอกาสมีเจตคติต่อเรื่องเพศค่อนข้างบวกน้อยกว่ากลุ่มเด็กที่มีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์แล้ว และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อเรื่องเพศค่อนข้างบวกของเด็กที่มีเชื้อเอชไอวีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ เบี้ยเลี้ยงหรือค่าขนม ปริมาณไวรัสเอชไอวี การใช้สารเสพติดประเภทบุหรี่ เหล้า การเที่ยวกลางคืน เช่น เธค ผับ บาร์ คาราโอเกะ การมีเพื่อนที่มีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ การมีแฟน การถูกห้ามแฟนและการมีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ของตนเอง
Other Abstract: A cross-sectional descriptive study was designed to examine the attitude towards sexuality of HIV adolescents and its associated factors. The study was conducted at The HIV Netherland Australia Thailand Research Collaboration clinic located at The Thai Red Cross AIDS Research Center. Eighty adolescents completed questionnaires on demographics, knowledge, attitude and intention to engage in sexual of behavior, also an in-dept-interview was used in 29 adolescents. Data were analyzed by using descriptive statistics, independence T-test, one way Anova, Kruskal-Wallis, Mann-Whitney U and Logistic Regression analysis as appropriate. The results showed that HIV adolescents age between16-18 have 5 times more positive attitude towards sexuality than HIV adolescents age between 13-15. And 96% of the group who were not have sexual intercourse were less likely to have a positive attitude than those who were sexually active. Factors that were significantly associated with positive attitude towards sexuality were ages, level of education, income, viral load, substance-use (cigarette and alcohol), night life, friends’ sexual activities, having boyfriend or girlfriend, prohibition to have boyfriend or girlfriend and experience to have sexual intercourse.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35836
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.621
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.621
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sudrak_la.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.