Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36044
Title: | การดำรงอยู่ของผู้ผลิตยางพารารายย่อยในหมู่บ้านห้วยพลูหนัง จังหวัดกระบี่ |
Other Titles: | The existence of the small rubber farmer in Ban Huayplunang, Krabi Province |
Authors: | พรศิริ เจริญสืบสกุล |
Advisors: | สุชาย ตรีรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ยางพารา -- การผลิต ยางพารา -- ไทย -- กระบี่ เกษตรกร --ไทย ทุนนิยม -- ไทย -- กระบี่ Hevea -- Manufacture Hevea -- Thailand -- Krabi Farmers--Thailand -- Krabi Capitalism --Thailand -- Krabi |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การดำรงอยู่ชาวสวนยางพารารายย่อยภายใต้กลไกของระบบทุนนิยมที่แทรกซึมอยู่ในกระบวนการผลิตยางพารา และวิเคราะห์โครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อความคิดและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสวนยางพารา โดยใช้ทฤษฎีมาร์กซิสต์เป็นหลักในการวิเคราะห์ ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์และนำเสนอมาจากการศึกษากระบวนการผลิตยางพาราในหมู่บ้านห้วยพลูหนัง รวมทั้งสังเกตการณ์จากการสนทนาในวงสนทนาต่างๆของชาวบ้าน และใช้เอกสารที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาของงานประกอบด้วยเรื่องราวต่างๆจากวิถีการผลิตยางพารา ศึกษาลงลึกไปในกระบวนการผลิต ซึ่งเน้นไปที่การศึกษาการดำรงอยู่ของชาวสวนยางพารารายย่อยซึ่งพบว่า ผู้ผลิตรายย่อยที่ทำงานเองและแรงงานรับจ้างในสวนยางพาราซึ่งเป็นผู้ผลิตที่แท้จึงถูกครอบงำโดยทุนในระดับเข้มข้นจนผู้ผลิตรายย่อยก็อยู่ในสถานะที่เป็นแรงงาน โดยที่ฝ่ายทุนเป็นผู้ได้เปรียบจากการที่ครอบครองปัจจัยการผลิตมากกว่าทำให้มีอำนาจบังคับควบคุม ให้ฝ่ายแรงงานต้องทำตามเพื่อกำไรของนายทุน และต้องหาทางออกจากความคับแค้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากฝ่ายทุนด้วยวิธีการต่อต้านเล็กๆน้อยๆหลายรูปแบบเพื่อตอบโต้ฝ่ายทุนที่ฉกฉวยผลประโยชน์ นอกจากนี้ยังชี้ได้ว่ารัฐและกลุ่มอำนาจท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และแม้รัฐจะมีความเป็นอิสระในการออกนโยบานเพื่อเป้าหมายของรัฐเองก็จริง แต่ก็พบด้วยว่านโยบายของรัฐเหล่านั้นมักมีแนวโน้มที่จะช่วยให้นายทุนได้รับประโยชน์มากกว่ารายย่อยที่อยู่ในสถานะของผู้ใช้แรงงาน ความพยายามควบคุมเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้ผลิตยางพาราราย่อยผ่านนโยบาย โครงการ กฎหมาย และวิธีการต่างๆ เพื่อประโยชน์ของกลุ่มตน เป็นการซ้ำเติมความเป็นอยู่ของผู้ผลิตรายย่อยให้มีสถานะของการเป็นผู้ใช้แรงงานชัดมากขึ้น |
Other Abstract: | This research analyzes the existence of the small rubber farmers in Ban Huayplu Nang, a village of Krabi province under the influence of capitalism. The framework in use is that of the Marxist Political Economy for which it provides this study as a guideline. The information showing in the research were collected by interviewing small rubber farmers, workers and people who were relevant to the processes of rubber production. The study finds that the small rubber farmers, as the majority of the village, are in disadvantageous positions to the local capitalists as merely its counter parts, i.e., labourers. The main reason-cum-empirical evidences shows that the small rubber farmers were subsumed or integrated into the capitalist circuits via its process of production through the uses of new technologies. The state, as a mediator, were not capable of improving the “labour” conditions of the small farmers simply due to its sharing benefits with the local capitalist. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36044 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1143 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1143 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pornsiri_ch.pdf | 2.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.