Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36240
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนารัต เกษตรทัต-
dc.contributor.authorพิมลพรรณ กิตติพีรชล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-10-17T02:44:36Z-
dc.date.available2013-10-17T02:44:36Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36240-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์:เพื่อประเมินผลของการให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตทางโทรศัพท์แก่ผู้ป่วยนอกภาวะกระดูกพรุน วิธีดำเนินการวิจัย:การวิจัยเชิงทดลองชนิดสุ่ม ศึกษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550 ถึงมีนาคม 2551 มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 78 ราย แบ่งเป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 39 ราย ถูกสุ่มและจับคู่ตามแผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอก ชนิดและระยะเวลาที่ได้รับบิสฟอสโฟเนต และการเข้ากลุ่มอบรมสัมมนาภาวะกระดูกพรุนของโรงพยาบาล ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับบริการทางเภสัชกรรมตามมาตรฐานของโรงพยาบาล แต่กลุ่มศึกษาจะได้รับคำแนะนำปรึกษาเป็นรายบุคคลโดยทางโทรศัพท์เพิ่มเติมจำนวน 3 ครั้ง ห่างกัน 1, 4 และ 8 สัปดาห์หลังจากเข้าร่วมการศึกษา เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และการตอบแบบสอบถามด้วยตนเองจำนวน 2 ครั้ง ก่อนได้รับคำแนะนำปรึกษาทางโทรศัพท์ และหลังจากได้รับคำแนะนำปรึกษาครั้งแรกไปแล้ว 3 เดือน เพื่อเปรียบเทียบผลในด้าน 1) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต 2) พฤติกรรมการใช้ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต 3) การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต และ 4) ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อคำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับยา ผลการวิจัย:ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีข้อมูลพื้นฐาน และผลลัพธ์ที่ต้องการศึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) หลังจากได้รับคำแนะนำปรึกษาทางโทรศัพท์ กลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต และค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจต่อคำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) มีจำนวนพฤติกรรมการใช้ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตที่ไม่ถูกต้องน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) พบความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม (p>0.05) สรุปผลการวิจัย:การให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตทางโทรศัพท์ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้และพฤติกรรมที่เหมาะสมในการใช้ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต และมีความพึงพอใจต่อคำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับยาที่ได้รับen_US
dc.description.abstractalternativeObjectives: To evaluate the effect of telephone counseling on Bisphosphonates in osteoporotic outpatients. Methods: A randomized controlled trial study was conducted during November 07 to March 08 at H.M. Queen Sirikit hospital, Thailand. Seventy-eight patients were randomly assigned into experimental group and control group, each of 39 patients. They were matched case to case by outpatients department, typed of Bisphosphonates prescribed, duration of Bisphosphonates used as well as participation in osteoporotic seminar. Beyond receiving standard pharmacy services from the hospital, each patient in the experimental group received 3 telephone counselings, week 1, 4 and 8 after enrolled in the study. Meanwhile patients in the control group received only standard pharmacy services. Outcome variables were evaluated in terms of: 1) knowledge about Bisphosphonates; 2) behavior of Bisphosphonates used; 3) adverse drug reactions caused by Bisphosphonates; and 4) satisfaction of patients’ telephone counseling service. Data were collected by interviewing and self-assessment questionnaire before receiving telephone counseling and three months after first counseling. Results: There were no statistically significant differences in demographic data and outcome variables between experimental and control group before telephone counseling services (p>0.05). After telephone counselings, patient in the experimental group had more knowledge about Bisphosphonates and satisfaction than control group (p<0.001). Numbers of inappropriate behavior of Bisphosphonates used in the experimental group were significantly lower than control group (p<0.001). However, no statistically significant differences in adverse drug reactions caused by Bisphosphonates were found between these two groups (p>0.05). Conclusions: Telephone counseling service provided by pharmacist significantly improved patient’s knowledge, appropriate behavior of Bisphosphonates used as well as satisfaction of this service.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1382-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectดิพฟอสโฟเนตen_US
dc.subjectการแนะแนวสุขภาพen_US
dc.subjectกระดูกพรุน -- การรักษาen_US
dc.subjectยารักษากระดูกพรุนen_US
dc.subjectโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์en_US
dc.subjectDiphosphonatesen_US
dc.subjectHealth counselingen_US
dc.subjectOsteoporosis -- Treatmenten_US
dc.subjectOsteoporosis drugsen_US
dc.subjectH.M. Queen Sirikit Hospitalen_US
dc.titleผลของการให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตทางโทรศัพท์แก่ผู้ป่วยนอกภาวะกระดูกพรุน ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์en_US
dc.title.alternativeEffect of telephone counseling on bisphosphonates in osteoporotic outpatients at H.M. Queen Sirikit Hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1382-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pimolphan_ki.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.