Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36284
Title: การพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน
Other Titles: Development of a benchmark for building professional learning communities in schools
Authors: ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: การเรียนรู้
การศึกษาทางวิชาชีพ
การเปรียบเทียบจุดเด่น (การจัดการ)
โปรแกรมวัดเปรียบเทียบสมรรถนะ
Professional education
Benchmarking (Management)
Learning
Benchmark program
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน วัตถุประสงค์การวิจัยหลัก คือ เพื่อสร้างและประยุกต์ใช้หลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน ระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มตัวอย่างทั่วไป จำนวน 2,096 คน จาก 185 โรงเรียน ซึ่งได้รับการสุ่มมาแบบสองขั้นตอน และ (2) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกรณีศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 9 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านปัจจัย คือ 1.1) ทักษะทางวิชาการและกลไกการเรียนรู้ และ 1.2) โครงสร้างและสิ่งสนับสนุน 2) องค์ประกอบด้านกระบวนการ คือ 2.1) การสร้างบรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกัน 2.2) การปฏิบัติที่มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน 2.3) การร่วมมือรวมพลังกัน 2.4) การเปิดรับการชี้แนะในปฏิบัติงาน และ 2.5) การสนทนาที่มุ่งสะท้อนผลการปฏิบัติงาน และ 3) องค์ประกอบด้านผลลัพธ์ คือ 3.1) ผลการปฏิบัติงานตามที่คาดหวัง และ 3.2) การเป็นสมาชิกและเครือข่าย นอกจากนี้ยังพบว่าองค์ประกอบดังกล่าวนี้มีความตรงเชิงโครงสร้าง(ค่าดัชนี CFI และค่าดัชนี TLI มีค่า เท่ากับ 0.989 และ 0.987 ตามลำดับ ค่าดัชนี RMSEA มีค่า เท่ากับ 0.021 และค่าดัชนี SRMR ในระดับบุคคล มีค่า เท่ากับ 0.014 และในระดับหน่วยงาน มีค่า เท่ากับ 0.021 ตามลำดับ) 2. หลักเทียบและคุณภาพของหลักเทียบ พบว่า 2.1) หลักเทียบ ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้หลัก ได้แก่ (1) การสร้างบรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกัน (2) การปฏิบัติที่มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน (3) การร่วมมือรวมพลังกัน (4) การเปิดรับการชี้แนะในปฏิบัติงาน และ (5) การสนทนาที่มุ่งสะท้อนผลการปฏิบัติงาน ซึ่งแต่ละตัวบ่งชี้หลักประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ย่อย สำหรับเกณฑ์การตัดสินในหลักเทียบ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับต่ำกว่ามาตรฐานทั่วไป 2) ระดับเท่ากับมาตรฐานทั่วไป 3) สูงกว่ามาตรฐานทั่วไป และ 4) ระดับสูงกว่ามาตรฐานทั่วไปในขั้นเป็นเลิศ และ 2.2) คุณภาพของหลักเทียบ พบว่า 2.2.1) มีความตรงเชิงโครงสร้างตามผลการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์แบบพหุระดับแบ่งเป็นระดับบุคคล และระดับหน่วยงาน (โรงเรียน) (มีค่าไคสแควร์ ( ) เท่ากับ 942.833 ค่าอัตราส่วนระหว่างค่าไคสแควร์กับค่าองศาอิสระ (X²/df) เท่ากับ 1.92 สำหรับค่าดัชนี CFI และค่าดัชนี TLI มีค่า เท่ากับ 0.989 และ 0.987 ตามลำดับ ค่าดัชนี RMSEA มีค่า เท่ากับ 0.021 และค่าดัชนี SRMR ในระดับบุคคล มีค่า เท่ากับ 0.014 และในระดับหน่วยงาน มีค่า เท่ากับ 0.021 ตามลำดับ) 3.2) มีค่าความเที่ยงอยู่ในระดับสูง ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบแอลฟา เท่ากับ 0.928 และ 3.3) มีการยอมรับในด้านความตรงประเด็นและความสอดคล้องกันอยู่ในระดับสูง 3. การทดลองสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนตามแนวทางที่พัฒนาขึ้นในโรงเรียนที่เป็นกรณีศึกษา พบว่า หลังจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกรณีศึกษาเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สามารถปฏิบัติและมีผลการปฏิบัติที่มีคุณภาพอยู่ในระดับเท่ากับมาตรฐานทั่วไปเป็นอย่างน้อยในทุกตัวบ่งชี้ กรณีศึกษาสามารถบรรลุเป้าหมายของการปฏิบัติในทุกตัวบ่งชี้ โดยมีตัวบ่งชี้ที่บรรลุเป้าหมายในระดับสูง ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ 1: การสร้างบรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกัน และตัวบ่งชี้ที่ 2: การปฏิบัติที่มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน 4. แนวทางการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนเป็นการบูรณาการแนวคิดกระบวนการทำหลักเทียบกับกลยุทธ์บลูโอเชียน แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวางแผน ระยะที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล ระยะที่ 3 การบูรณาการ และระยะที่ 4 การปฏิบัติ โดยมีคู่มือประกอบการดำเนินการที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิด วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และการรายงานผล
Other Abstract: This study was research and development of a benchmark for building professional learning communities (PLCs) in schools. The main objective was to build and apply a benchmark for building professional learning communities in schools. The study sample consisted of primary schools that were divided into two groups: (1) 2,096 informants from 185 schools randomized by using two-stage random sampling, and (2) three schools selected as a case study. The findings of this study were as follows: 1. Factors and indicators of professional learning communities consisted of three factors and nine indicators: 1) input factor comprising 1.1) academic skills and learning mechanisms and 1.2) structures and supportive condition; 2) process factor comprising 2.1) shared norms and values, 2.2) collective focus on student learning, 2.3) collaboration, 2.4) deprivatized practice, and 2.5) reflective dialogue; and 3) output factor comprising 3.1) result orientation and 3.2) membership and networking. The construct validity according to multilevel factor model analysis was separated into two levels as individual level and unit (among schools) level (CFI = 0.958, TLI = 0.950, RMSEA = 0.038, SRMR[subscript W] (at individual level) = 0.052, and SRMR[subscript B] (at unit level) = 0.032, respectively). 2. Benchmark of PLCs were as follows: 2.1) it consisted of five key performance indicators (KPIs), namely, 1) shared norms and values, 2) collective focus on student learning, 3) collaboration, 4) deprivatized practice, and 5) reflective dialogue. These indicators contained five sub-indicators. As for the criterion of Benchmark of PLCs, it was separated into four levels: 1) unsatisfactory, 2) basic, 3) proficient, and 4) distinguished; 2.2) the qualities of benchmark of PLCs were as follows: 2.2.1) its had construct validity according to multilevel factor model analysis which separated into two levels as individual level and unit (among schools) level (X² = 942.833, X²/df = 1.92, CFI = 0.989, TLI = 0.987, RMSEA = 0.021, SRMR[subscript W] (at individual level) = 0.014, and SRMR[subscript B] (at unit level) = 0.021, respectively); 2.2.2) its had a high reliability according to internal consistency analysis (the Alpha coefficient was 0.928); and 2.2.3) it was accepted with relevance and coherence at a high level. 3. As regards the tryout of building professional learning communities (PLCs) in schools launched as a case study, it was found that case studies when participating in their professional learning communities performed their work according to all indicators which was not less than the basic level of the professional learning community benchmark. They reached their high targets of performance in two indicators, i.e., shared norms and values, and collective focus on student learning. 4. The guideline of building professional learning communities (PLCs) in schools was established from the benchmarking process and blue ocean strategy. There are four phases of (I) planning, (II) analyzing, (III) integrating, and (IV) action. Moreover, its manual consisted of the notion, objectives, procedure, and report conduct.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36284
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1132
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1132
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
narongrith_in.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.