Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36355
Title: | การพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานวิจัยโดยประยุกต์แนวคิดแผนที่ผลลัพธ์ : กรณีศึกษาคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม |
Other Titles: | Development of an evaluation system of research performane by applying the outcome mapping approach : a case study of Faculty of Liberal Arts and Science, Nakhon Phanom University |
Authors: | สรร ธงยศ |
Advisors: | ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง ศิริชัย กาญจนวาสี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | มหาวิทยาลัยนครพนม. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ วิจัยเชิงประเมิน วิจัย -- การประเมิน Nakhon Phanom University. Faculty of Liberal Arts and Science Evaluation research (Social action programs) Research -- Evaluation |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานวิจัยโดยประยุกต์แนวคิดแผนที่ผลลัพธ์ และมีวัตถุประสงค์เฉพาะคือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานวิจัยของคณาจารย์โดยประยุกต์แนวคิดแผนที่ผลลัพธ์ 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้ระบบการประเมินการปฏิบัติงานวิจัยของคณาจารย์โดยประยุกต์แนวคิดแผนที่ผลลัพธ์ 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการวิจัยของคณาจารย์ก่อนและหลังการทดลองใช้ระบบประเมินการปฏิบัติงานวิจัย โดยประยุกต์แนวคิดแผนที่ผลลัพธ์ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการประเมินของคณาจารย์ ก่อนและหลังการทดลองใช้ระบบการประเมินการปฏิบัติงานวิจัยโดยประยุกต์แนวคิดแผนที่ผลลัพธ์ 5) เพื่อประเมินและตรวจสอบประสิทธิผลระบบการประเมินการปฏิบัติงานวิจัยของคณาจารย์โดยประยุกต์แนวคิดแผนที่ผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหาร นักวิจัย คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ในคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวคำถามเพื่อสนทนากลุ่มย่อย แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แบบสังเกตและแบบตรวจเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเครื่องหมาย ค่ามัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า ระบบการประเมินการปฏิบัติงานวิจัยโดยประยุกต์แนวคิดแผนที่ผลลัพธ์มีองค์ประกอบคือ การวางแผนดำเนินงาน การติดตามการดำเนินงาน และแผนการประเมินผล ระบบการประเมินช่วยกระตุ้นให้ภาคีหุ้นส่วนที่เป็นคณบดีหรือรองคณบดีฝ่ายแผนและวิจัย เจ้าหน้าที่วิจัย และหัวหน้าโครงการวิจัยเกิดความตระหนักที่จะพัฒนางานวิจัยตามบทบาทหน้าที่ของตน เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของหน่วยงานและมีความชัดเจนในการจัดเก็บข้อมูล ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการวิจัย และเป็นแนวทางสร้างความสามารถทางการประเมินแก่ผู้เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ระบบการประเมินยังมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง |
Other Abstract: | To develop an evaluation system of research performance by applying outcome mapping approach as follows: 1) to study the factors and develop an evaluation system of research performance by applying outcome mapping approach, 2) to study the try out the evaluation system of research performance by applying outcome mapping approach, 3) to compare research behaviors of the faculty members in pre- and post- trial of evaluation system of research performance by applying outcome mapping approach, 4) to compare evaluation capacity of the faculty members in pre- and post- trial of evaluation system of research performance by applying outcome mapping approach, and 5) to evaluate and prove the evaluation system of research performance by applying outcome mapping approach. The sample group consisted of executives, researchers, faculty members, and staffs from faculty of liberal arts and science, Nakhon Phanom university. There was a total number of 26. Instruments conducted in this research included workshop, focus groups, tests, questionnaires, formal and informal interviews, observation and record forms. In addition, content analysis, average, standard deviation, the signed test, the Wilcoxon signed ranks test, median and inter-quartile range were used in data analysis. The findings were as follows: An evaluation system of research performance by applying outcome mapping approach consisted of the following elements: planning, monitoring and evaluating. These processes motivated the boundary partners; Dean or associate Dean for planning and development affairs, research staffs and head of research projects, so that they would gain awareness regarding the development of research work according to their individual roles and duties. These evaluation system enhanced participants to express their opinions freely. Its flexibility allows the system to be adjusted to the suitable context of affairs. These evaluation systems had a clearly process for gathering the data. Further, its enhanced the changes of research behaviors of the parties, and created a guideline in building evaluation capacity for the parties. In addition, this evaluation system had utility, feasibility, propriety and accuracy. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36355 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1138 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1138 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sun_th.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.