Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36428
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จุลนี เทียนไทย | - |
dc.contributor.author | วันทนีย์ อารีรอบ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-10-28T07:12:50Z | - |
dc.date.available | 2013-10-28T07:12:50Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36428 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงการรับรู้เรื่องภาพลักษณ์ทางร่างกายของวัยรุ่นไทยที่พิการทางสายตา 2) ศึกษากระบวนการรับรู้ที่มีผลต่อการได้มาซึ่งภาพลักษณ์ทางร่างกายของวัยรุ่นไทยที่พิการทางสายตา 3) ศึกษาถึงแหล่งปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ทางร่างกายของวัยรุ่นไทยที่พิการทางสายตา และ 4) สามารถแบ่งประเภทกลุ่มภาพลักษณ์ทางร่างกายที่ได้จากวัยรุ่นไทยที่พิการทางสายตา โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม จากวัยรุ่นไทยที่พิการทางสายตา ที่พิการมาแต่กำเนิดและตาบอดสนิท เป็นหญิงและชาย ที่มีอายุระหว่าง 13 - 21 ปี จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้เรื่องภาพลักษณ์ทางร่างกายของวัยรุ่นไทยที่พิการทางสายตา แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1.การรับรู้ภาพลักษณ์ทางร่างกายที่เกิดจากการมองจากส่วนประกอบของร่างกาย (Parts of Body) และ 2.การรับรู้ภาพลักษณ์ทางร่างกายที่เกิดจากการมองส่วนประกอบของร่างกายรวมเข้ากับบุคลิกภาพ (Parts of Body and Personality) โดยกระบวนการรับรู้ภาพลักษณ์ทางร่างกายของวัยรุ่นไทยที่พิการทางสายตา คือ การได้ยินและการสัมผัส ซึ่งภาพลักษณ์ทางร่างกายดังกล่าว ได้รับอิทธิพลจากแหล่งปัจจัยภายนอก ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน ครู หนังสือเสียง หนังสือเบรลล์ และสื่อมวลชน ทั้งนี้ความสามารถในการรับรู้และการทำความเข้าใจภาพลักษณ์ทางร่างกายขึ้นอยู่กับการปลูกฝังและการผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ตั้งแต่ในช่วงวัยที่เริ่มมีพัฒนาการ นอกจากนี้ สามารถแบ่งกลุ่มภาพลักษณ์ทางร่างกายของวัยรุ่นไทยที่พิการทางสายตาได้เป็น 8 กลุ่ม ประกอบไปด้วย การอธิบายลักษณะทางกายภาพของร่างกาย การเสริมแต่งร่างกาย ภาพลักษณ์ทางร่างกายที่ได้จากการสัมผัส การมองภาพรวมของภาพลักษณ์ทางร่างกาย ภาพลักษณ์ทางร่างกายที่ได้จากการให้คุณค่าทางสังคม การอธิบายภาพลักษณ์ทางร่างกายผ่านคุณลักษณะพิเศษทางร่างกายของบุคคล ภาพลักษณ์ทางร่างกายที่เกิดจากการได้ยิน และภาพลักษณ์ทางร่างกายที่เกิดจากการเปรียบเทียบกับรูปทรงเรขาคณิต | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were: (1) to examine the perception of the understanding of Thai blind adolescents about their body image, (2) to determine external factors influencing this perception, (3) to investigate the development of this perception, and (4) to classify the perception reported. This study used a qualitative research design using an in-depth interview and participant observation. Participants were 30 blind Thai adolescents aged between 13 -21 years, both male and female. Results showed that body image perception of Thai blind adolescents can be divided into two subthemes: 1) the perception of specific body parts and 2) the perception the composition of these parts and personality. This perception was developed through sensory input and past learning experiences, influenced by external influences such as families, peer groups, teachers, audio books, Braille books, and mass media. Lastly, body image perception of Thai blind adolescents could be divided into 8 groups: body composition, body image enhancement, tangible physical appearances, overall body appearance, social values contributing to body appearance, personal uniqueness (i.e. birthmarks), and body image developed from auditory input and geometrical analogy. When compared with the perception of adolescents without disabilities, both similarities and distinctiveness were found in body image perception Thai blind adolescents. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1497 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภาพลักษณ์ร่างกายในวัยรุ่น | en_US |
dc.subject | คนตาบอด | en_US |
dc.subject | การรับรู้ตนเอง | en_US |
dc.subject | Body image in adolescence | en_US |
dc.subject | Blind | en_US |
dc.subject | Self-perception | en_US |
dc.title | การรับรู้ภาพลักษณ์ทางร่างกายของวัยรุ่นไทยที่พิการทางสายตา | en_US |
dc.title.alternative | Body image perception of blind Thai adolescents | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1497 | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wantanee_ar.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.