Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36492
Title: การตรวจวินิจฉัยและจำแนกสายพันธุ์ระดับชีวโมเลกุลของการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ด้วยชุดทดสอบเชิงพาณิชย์ วิธีอีไลซ่า และเทคนิคอาร์ทีพีซีอาร์
Other Titles: Molecular characterization and diagnosis of dengue virus by rapid test, ELISA and RT-PCR
Authors: แพรวพิไล ตัณฑุลาวัฒน์
Advisors: นวลทิพย์ กมลวารินทร์
ยง ภู่วรวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
[email protected]
Subjects: ไวรัสเดงกี
ไข้เลือดออก
เอนไซม์ลิงค์อิมมูโนซอร์เบนท์แอสเส
ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส
Dengue viruses
Hemorrhagic fever
Enzyme-linked immunosorbent assay
Polymerase chain reaction
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไวรัสเดงกี่ (Dengue virus; DENV) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก โดยมียุงเป็นพาหะ ผู้ป่วยจะมีอาการทางคลินิกที่หลากหลายตั้งแต่ไม่แสดงอาการไปจนถึงขั้นช็อกและเสียชีวิตซึ่งความรุนแรงของโรค จะแตกต่างกันไปขึ้นกับระยะเวลาของการติดเชื้อ ดังนั้น หากมีการตรวจวินิจฉัยแล้วทราบว่า ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ตั้งแต่ระยะแรก ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาและช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงของโรคได้ ในงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ด้วยวิธี Rapid test เปรียบเทียบกับเทคนิค RT-PCR และวิธี ELISA ที่ใช้เป็นวิธีมาตรฐานในตัวอย่างซีรั่มผู้ป่วยทั้งหมด 329 ตัวอย่าง แบ่งเป็น Single specimen 237 ตัวอย่างและ Paired specimen 92 ตัวอย่าง จากผลการตรวจสอบพบว่า วิธี NS1 Rapid test และเทคนิค RT-PCR จะตรวจพบตัวอย่างที่ให้ผลเป็นบวกมากในระยะ Acute febrile phase ส่วนวิธี IgM/IgG Rapid test และวิธี IgM/IgG ELISA จะตรวจพบตัวอย่างที่ให้ผลเป็นบวกมากในระยะ Convalescence phase เมื่อนำไปตรวจสอบประสิทธิภาพและความแม่นยำของชุดทดสอบ NS1 และ IgM Rapid test พบว่า มีความไว 70.6% และ 75.6% ส่วนความจำเพาะมีค่าสูงถึง 73.4% และ 97.1% ตามลำดับ แต่เมื่อนำผลของวิธี NS1 และ IgM Rapid test มาวิเคราะห์ร่วมกัน จะได้ผลของการตรวจวินิจฉัยเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ทราบว่าวิธี NS1 และ IgM Rapid test เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ให้ผลเร็ว สามารถตรวจสอบได้ง่าย มีความไวและความจำเพาะสูง นอกจากนี้ ในงานวิจัยยังมีการศึกษาพัฒนาวิธีการตรวจจำแนกสายพันธุ์ระดับโมเลกุลของเชื้อไวรัสเดงกี่ด้วยเทคนิค semi-nested PCR โดยใช้ไพรเมอร์จำเพาะที่ออกแบบในบริเวณยีน NS5 ผลที่ได้ คือ สามารถจำแนกเชื้อไวรัสเดงกี่ได้ 4 สายพันธุ์ (DENV 1-4) ได้แก่ สายพันธุ์ที่ 1 (31.5%), สายพันธุ์ที่ 2 (12%), สายพันธุ์ที่ 3 (26.9%) และสายพันธุ์ที่ 4 (29.6%) ดังนั้น ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ จึงสามารถนำไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อใช้ประโยชน์ในด้าน การวางแผนและติดตามการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเดงกี่ในปีต่อๆ ไปได้
Other Abstract: Dengue virus (DENV) infection is one of the most important arthropod-borne viral diseases which differing severity based on time of contraction. DENV causes various clinical symptoms ranging from asymptomatic or undifferentiated fever, known as dengue fever (DF), to fever with plasma leakage called dengue hemorrhagic fever (DHF). Some cases present as an even more serious form called dengue shock syndrome (DSS), leading to death. The objective of this study was to evaluate the commercially available rapid dengue NS1 antigen and IgM/IgG antibody immunochromatography test in comparison with the existing laboratory methods such as RT-PCR and Dengue IgM/IgG ELISA for confirmation of DENV infection based on 237 single acute specimens and 92 paired sera. The result of NS1 Rapid Test and RT-PCR showed the highest percentage of detectable NS1 antigen during the acute phase. On the other hand, the result of IgM Rapid Test and IgM ELISA showed the highest percentage of detectable IgM antibody during the convalescence phase. The NS1 and IgM rapid test showed sensitivities of 70.6% and 75.6% respectively, and specificities of 73.4% and 97.1%. Additionally, the combination of NS1 and IgM tests can be utilized to enhance diagnosis. Thus, they are highly appropriate for diagnosis of dengue infection because it is rapid, easily applicable, sensitive and highly specific. Furthermore, this study described the molecular characterization of DENV by semi-nested PCR using designed specific primer on NS5 gene. This specific primer may be used to classify 4 DENV serotypes (DENV 1-4) that are 31.5% of DENV 1, 12% of DENV 2, 26.9% of DENV 3 and 29.6% of DENV 4. Therefore, this study can be useful for further study on planning and following DENV serotypes in the following year.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมีทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36492
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1204
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1204
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
praewpilai_to.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.