Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36542
Title: การศึกษาวาทกรรมเรื่องทาสไทย
Other Titles: A study of the discourses of Thai Slavery
Authors: ญาณินี ไพทยวัฒน์
Advisors: พิพาดา ยังเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ทาส -- ไทย
วจนะวิเคราะห์
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 5
Slaves -- Thailand
Discourse analysis
Thailand -- History
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาคำอธิบายเรื่องทาสไทยที่หลากหลาย ตั้งแต่การเลิกทาสไทย พ.ศ. 2448 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ผ่านงานเขียนประเภทต่างๆ รวมถึงการศึกษาบริบทการเมืองหลังการเลิกทาสเป็นต้นมาว่า มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวาทกรรมทาสไทย และกลุ่มของผู้สร้างวาทกรรมที่ให้คำอธิบายเรื่องทาสไทยทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ผลของงานวิจัยได้ข้อสรุปที่สำคัญดังนี้ ประเด็นแรก วาทกรรมเรื่องทาสไทยถูกสร้างขึ้นในปลายรัชกาลที่ 5 หลังการเลิกทาส พ.ศ. 2448 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน วาทกรรมทาสไทยกระแสหลักนำเสนอการเทิดพระเกียรติพระราชกรณียกิจเลิกทาสของรัชกาลที่ 5 ประเด็นที่สอง บริบทการเมืองในแต่ละช่วงเวลาส่งผลต่อการสร้างวาทกรรมทาสไทยดังนี้ บริบทการเมืองระหว่าง พ.ศ. 2448 จนถึงรัชกาลที่ 6 สร้างวาทกรรมทาสไทยประเด็นเทิดพระเกียรติพระราชกรณียกิจเลิกทาสในรัชกาลที่ 5 โดยอธิบายว่าเป็นการให้อภัยทานแก่ทาสไทย บริบทการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สร้างวาทกรรมทาสไทยประเด็นการเป็นทาสเป็นการขาดสิทธิและเสรีภาพ การเลิกทาสทำให้ทาสกลายเป็นพลเมืองในสังคมไทย บริบทการเมืองทศวรรษ 2520 จนถึงทศวรรษ 2530 สร้างวาทกรรมทาสไทยเทิดพระเกียรติพระราชกรณียกิจเลิกทาสในรัชกาลที่ 5 เป็นพระราชกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยประเด็นที่สุดท้าย ประเด็นที่สาม กลุ่มผู้สร้างวาทกรรมทาสไทยมีดังนี้ กลุ่มชนชั้นนำ กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มนักเขียนวรรณกรรม และกลุ่มนักเขียนสารคดีประวัติศาสตร์ กลุ่มต่างๆ สร้างวาทกรรมทาสไทยที่เหมือนกันในประเด็นเทิดพระเกียรติพระราชกรณียกิจเลิกทาสในรัชกาลที่ 5 ว่าเป็นพระราชกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ในสังคมไทย กลุ่มนักวิชาการบางท่าน มีความเห็นแตกต่างและสร้างวาทกรรมว่า ทาสไทยไม่ได้รับการปฏิบัติที่เลวร้ายในสังคม การเป็นทาสเป็นทรัพย์สินและเป็นแรงงานที่สำคัญในสังคมไทย
Other Abstract: To study the various discourses on Thai Slavery from the abolition of slavery in 1905 to the present prevalent in different types of writings. It also studies post-abolition political contexts to perceive their influence on the changing discourse on Thai Slavery while also considering the creators of such discourses who have defined Thai Slavery in both a similar and different manner. The research findings lead to the following conclusions: firstly that the discourse on Thai Slavery was created toward the end of the reign of King Rama V following the abolition of slavery in 1905 and has prevailed up until the present in the form of a mainstream discourse glorifying the King’s gracious deeds of abolishing slavery in Thailand. Secondly, the political contexts at various periods-- from 1905 to the reign of King Rama VI the act was glorified as a benevolent and meritorious deed by King Rama V to the slaves; the post-1932 revolution context created the discourse of slaves being deprived of rights and liberty and with slavery abolished they became citizens in Thai society; the political context from the mid-1970s to mid-1980s created a discourse of glorification placing the abolition of slavery as King Rama V’s most monumental act for the benefit of the Thai people. Finally, the groups responsible for creating the Thai Slavery discourse are as follows – the Siamese elites, academics, writers of fiction and writers of historical documentaries all of which have created a uniform discourse on Thai Slavery to glorify the deeds of Rama V as monumental and benevolent in Thai society. Certain Thai academics have also created the discourse that Thai slaves were never subject to abuse, their status as slave was an asset, and they were a vital source of labour in Thai society as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36542
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1230
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1230
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yaninie_ph.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.