Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36714
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรนุช เศวตรัตนเสถียร | - |
dc.contributor.author | ปรีดี ปลื้มสำราญกิจ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-11-22T10:03:44Z | - |
dc.date.available | 2013-11-22T10:03:44Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36714 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ดูแลเว็บไซต์หน่วยงาน ภาครัฐที่มีต่อความสามารถในการเข้าถึงได้ทางเว็บในเรื่องความหมาย ความสำคัญ หลักการ และ การนำหลักการไปปฏิบัติ รวมถึงปัญหาที่ผู้ดูแลเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐประสบเกี่ยวกับเรื่องความสามารถในการเข้าถึงได้ทางเว็บ การดำเนินการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลผลการวิจัยพบว่า ความหมายของความสามารถในการเข้าถึงได้ทางเว็บที่ผู้ดูแลเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐทั้งหมดเห็นด้วยในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดทำเว็บไซต์เพื่อให้ ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ผู้ดูแลเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐเห็นด้วยกับความสำคัญของความสามารถในการเข้าถึงได้ทางเว็บในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเศรษฐกิจ ผู้ดูแลเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐทั้งหมดเห็นว่า หลักการความสามารถในการเข้าถึงได้ ทางเว็บมีความสำคัญในระดับมากทุกหลักการ ผู้ดูแลเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐทั้งหมดเห็นว่าการนำหลักการความสามารถในการเข้าถึงได้ทางเว็บไปปฏิบัติด้วยการออกแบบเว็บไซต์และการตรวจสอบเว็บไซต์มีความสำคัญ โดยการออกแบบเว็บไซต์มีระดับความสำคัญมากกว่า สำหรับแนวทางที่ควรนำมาใช้มากที่สุด คือ TWCAG 2009 ส่วนวิธีการตรวจสอบเว็บไซต์ที่ควรนำมาใช้มากที่สุด คือ การตรวจสอบแบบผสม ปัจจัยภายนอกหน่วยงานที่มีผลต่อการนำหลักการความสามารถใน การเข้าถึงได้ทางเว็บไปปฏิบัติมากที่สุด คือ พัฒนาการของเทคโนโลยี และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเข้าถึงได้ทางเว็บ ปัจจัยภายในหน่วยงานที่มีผลต่อการนำหลักการความสามารถในการเข้าถึงได้ทางเว็บไปปฏิบัติมากที่สุด คือ นโยบายของหน่วยงาน กิจกรรมเพิ่มพูนความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำหลักการความสามารถในการเข้าถึงได้ทางเว็บไปปฏิบัติมากที่สุด คือ การเข้ารับ การฝึกอบรม และปัญหาที่ผู้ดูแลเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐประสบในระดับมาก คือ ปัญหาด้าน การจัดการ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study government agency webmasters’ views of web accessibility in terms of meaning, significance, principles, and application of the principles; and to study the problems government agency webmasters encounter in regard to web accessibility. The data were collected by interviews. The findings can be summarized as follows: the meaning of web accessibility which all government agency webmasters agree with and receives the highest mean score is creating a web site that everyone can access equally. The webmasters agree at the high level that web accessibility is significant to all aspects but the economic aspect receives the highest mean score. All webmasters also agree that every web accessibility principle is significant at the high level. Additionally, all of them agree that the application of web accessibility principles by means of web site design and evaluation is significant but the former is significant at the higher level. Concerning web content accessibility guidelines and evaluation techniques, TWCAG 2009 and hybrid evaluation method are viewed as the ones should be used most. In regard to the factors most affecting the application of web accessibility principles, the development of technology as well as standards relevant to web accessibility are considered as the external factors while the agency policy is deemed as the internal factor. Moreover, the continuing education activity which is most useful to the application of web accessibility principles is training. Finally, the problem that the webmasters encounter at the high level is the problem of management. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1212 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ส่วนราชการ | en_US |
dc.subject | เว็บไซต์ -- การควบคุมการเข้าถึง | en_US |
dc.subject | เว็บมาสเตอร์ | en_US |
dc.subject | Administrative agencies | en_US |
dc.subject | Web sites -- Access control | en_US |
dc.subject | Webmasters | en_US |
dc.title | ความคิดเห็นของผู้ดูแลเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐที่มีต่อความสามารถในการเข้าถึงได้ทางเว็บ | en_US |
dc.title.alternative | Government agency webmasters' views of web accessibility | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1212 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preedee_pl.pdf | 3.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.