Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36749
Title: การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต ระหว่าง พ.ศ.2555-2564
Other Titles: Development of strategies for developing leadership of undergraduate education students between B.E. 2555-2564
Authors: นพลักษณ์ หนักแน่น
Advisors: พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
สมสุข ธีระพิจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
No information provided
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ภาวะผู้นำ
Leadership
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงอนาคตนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต 2) วิเคราะห์ภาวะผู้นำของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต ระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2564 และ 3) จัดทำกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาระดับปริญญาบัณฑิต ระหว่าง พ.ศ. 2555 - 2564 วิธีดำเนินการวิจัย 1) ศึกษาภาวะผู้นำของนิสิตนักศึกษาที่สังกัดคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 14 แห่ง จากคณาจารย์ 251 คน บุคลากร 236 คน และนิสิตนักศึกษา 377 คน 2) วิเคราะห์ภาวะผู้นำของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต ระหว่าง พ.ศ. 2555 - 2564 ด้วยเทคนิควิจัยแบบ Delphi โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนานิสิตนักศึกษาและการพัฒนาผู้นำ 18 คน 3) วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) 4) จัดทำกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2564 ด้วยเทคนิคการสร้างภาพอนาคต (Scenario Planning) โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการองค์กรและการจัดการกลยุทธ์ 17 คน 5) ตรวจสอบกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิตในปัจจุบัน ด้านบุคลิกภาพ ด้านมนุษยสัมพันธ์และการเข้าสังคม ด้านการนำและการจัดการ ด้านปฏิภาณไหวพริบ ด้านทักษะในการทำงาน ด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านสติปัญญา และด้านคุณธรรมจริยธรรมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีภาวะผู้นำด้านมนุษยสัมพันธ์และการเข้าสังคมมากที่สุดอยู่ในระดับมาก (x¯=4.08,x¯=4.01,x¯=4.05) และด้านสติปัญญาอยู่ในระดับมาก (x¯=3.79,x¯=3.91,x¯=3.82) แต่ต่ำสุดเมื่อเทียบกับด้านอื่นๆ ลักษณะภาวะผู้นำของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต ระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2564 พบว่าด้านบุคลิกภาพ คือ 1) มีความพากเพียร อุตสาหะ 2) มีน้ำใจโอบอ้อมอารี 3) เป็นคนเปิดเผย และ 4) ยิ้มแย้มแจ่มใสและร่าเริงอยู่เสมอ ด้านมนุษยสัมพันธ์และการเข้าสังคม คือ 1) สามารถสนทนากับคนรอบข้างได้อย่างกลมกลืน ด้านการนำและการจัดการ คือ 1) นำทักษะและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการได้ ด้านปฏิภาณไหวพริบ คือ 1) มีปฏิภาณไหวพริบรู้เท่าทันบุคคล ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านทักษะในการทำงาน คือ 1) มีความสามารถในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เข้าใจระบบและกระบวนการทำงาน การวางแผน การประเมินผลการปรับปรุงแก้ไขและทักษะต่างๆ ที่จำเป็นในการทำงาน 2) มีทักษะและความเชี่ยวชาญงานในสาขาวิชาชีพ มุ่งเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง จริงจัง เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงและมีทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่หลากหลาย 3) ทำงานอย่างจริงจังโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์และคุณภาพของงานให้เป็นที่ยอมรับใน ทุกระดับขององค์กร 4) เป็นผู้ที่เรียนรู้ ปฏิบัติและศึกษาเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบอย่างเป็นระบบ 5) สามารถบริหารเวลาทั้งในการทำงานและในเรื่องส่วนตัว ด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ 1) สามารถใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเพื่อสื่อสารและแสวงหาความรู้ได้อย่างคล่องแคล่วเหมาะสมกับวิชาชีพ 2) เป็นผู้รู้เท่าทันเทคโนโลยีโดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและเหมาะสม 3) สามารถใช้ภาษาไทยและคำราชาศัพท์ที่ถูกต้องได้เป็นอย่างดีเพื่อเป็นแบบอย่างในการพูดและการเขียน และ 4) ใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ ในการสื่อสารและค้นหาความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตได้ ด้านสติปัญญา คือ 1) พร้อมที่จะรับและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม ศิษย์และเพื่อนร่วมงาน และด้านคุณธรรม จริยธรรม คือ 1) มีความซื่อสัตย์สุจริต การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต ระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2564 ประกอบด้วย 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ 16 กลยุทธ์ คือ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 นิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการ มีภาวะผู้นำและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) บูรณาการวิชาการกับกิจกรรมนิสิตนักศึกษา การบริการวิชาการ และงานวิจัยในรายวิชา 2) พัฒนาระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและทักษะการปฏิบัติงาน 3) การพัฒนาครูต้นแบบ 4) ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรตามมาตรฐาน TQF ให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม 5)พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่เน้นการสร้างความตระหนักและการรู้เท่าทันการสร้างกระบวนการคิด และการสร้างเป้าหมายชีวิต 6) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) และการติดต่อสื่อสาร ที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการทำกิจกรรมของนิสิตนักศึกษา 7) ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ 8) พัฒนาลักษณะภาวะผู้นำนิสิตนักศึกษาครูที่พึงประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 นิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ได้แก่ 9) เสริมสร้างเจตคติและความภาคภูมิใจในวิชาชีพครูเพื่อให้นิสิตนักศึกษาเห็นความสำคัญและคุณค่าในวิชาชีพครู 10) เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาชีพเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และความเมตตากรุณา 11) สนับสนุนการสร้างค่านิยมร่วมในการเป็นบัณฑิตครูผู้นำที่ดี มีความพากเพียร และจิตสำนึกสาธารณะ 12) สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 นิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์เป็นที่ยอมรับของประเทศและภูมิภาคอาเซียน 13) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมวิชาการครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ เพื่อเป็นเวทีให้นิสิตนักศึกษาได้แสดงออกทางวิชาการก่อนสำเร็จการศึกษา 14) พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ศิษย์เก่าและผู้ทรงคุณวุฒิ 15) การพัฒนาสมรรถนะด้านภาษาเพื่อการสื่อสารและการสืบค้นสารสนเทศ และ 16) ส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคอาเซียน
Other Abstract: This futuristic research aims to: 1) study the leadership of undergraduate education students, 2) analyze the futuristic leadership of undergraduate education students, and 3) create the strategies for developing the futuristic leadership of undergraduate education students between B.E. 2555 – 2564. The methodology includes: 1) study the leadership of undergraduate education students in 14 public universities, including 251 lecturers, 236 officers and 377 students, 2) use of Delphi research technique developed by 18 specialists in student and leader development in analyzing the futuristic leadership of undergraduate education students, 3) analysis of other factors (SWOT), 4) creation of the strategies for developing the leadership of undergraduate education students between B.E. 2555 – 2564 on the basis of the scenario planning developed by 17 specialists in organizational and strategic management, and 5) validation of the strategies by the specialists According to the study, the leadership of undergraduate education students in light of the personality, human relation and socialization, leading and managing, sagaciousness, working skills, communication and information technology, intelligence and morality and ethics is at high level. In this regard, human relation and socialization are at the highest rate (x¯=4.08,x¯=4.01,x¯=4.05), while the intelligence is at high level (x¯=3.79,x¯=3.91,x¯=3.82) but, when compared to other aspects, it is still at the lowest level. With respect to the leadership characteristic of undergraduate education students between B.E. 2555- 2564, the personality concerns 1) industriousness, 2) generosity, 3) open-mindedness and 4) cheerfulness. Human relation and socialization include the ability to have harmonious conversation with others. The leadership and management involve the application of new skills and technologies into the management system. The sagaciousness is the understanding of others, community and stakeholders. With regard to working skills, they concern 1) systematic management ability, understanding of working system and process, planning, evaluation, improvement and necessary working skills, 2) ability and expertise in profession and the effort to learn deeply and seriously for true understanding and different working skills, 3) dedicated work for achievement and work quality acceptable by every organizational level, 4) those who learn and do the responsible works systematically and 5) time administration in works and private matters. The communication and information technology concerns 1) use of the computer and internet in the communication and knowledge acquisition that suit the works, 2) technological literacy with the ability to apply the technology into daily life in a suitable manner and good quality, 3) ability to use Thai language and Thai-Court language correctly for the effective speaking and writing and 4) ability to use English or other foreign languages in the communication and knowledge acquisition in the way that benefits the learning and way of life. The intelligence is the readiness to accept and transfer the knowledge to the society, students and colleagues. The morality and ethics refer to the uprightness. The development of strategies for developing leadership of undergraduate education students between B.E. 2555 – 2564 consists of 3 strategic issues and 16 tactics. The first strategic issue: the undergraduate education students are academically knowledgeable with leadership skill and understanding of change. This involves 1) integration of academic matters with student activities, 2) development of learner-centered instruction and working skills, 3) development of model teachers, 4) improvement and development of curriculum under TQF standard according to the demands of learners and societies, 5) development of general education curriculum and instruction with particular focus on the awareness and literacy building, thinking process development and life goal setting, 6) promotion of the application of Information and Communication Technology (ICT) and modern communication in the instruction and student activity arrangement, 7) improvement of learning environment and facilities, 8) development of the desired leadership characteristics of undergraduate education students. The second strategic issue: the undergraduate education students are ethical and apply professional code of conduct. This involves 9) promotion of the attitude and pride in teaching profession so that the education students recognize the importance and value of teaching profession, 10) promotion of morality, professional ethics, loyalty, responsibility and generosity, 11) support for the creation of shared values in being the good leading education graduates with industriousness and public consciousness and 12) support for the creation of the consciousness and pride in Thainess. The third strategic issue: the undergraduate education students are recognized domestically and by ASEAN. This includes 13) promotion of and support for the arrangement of Education Faculty’s academic activities as a forum for students’ presentation of academic works, 14) promotion of the academic cooperation between public and private agencies, alumni and senior experts, 15) development of language proficiency for communications and information retrieval and 16) promotion of the study of ASEAN countries’ cultures.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36749
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1048
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1048
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
noppalux_na.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.