Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36750
Title: | การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับแม่ชีไทย |
Other Titles: | Development of a non-formal education program to enhance transformational buddhist leadership for Thai nuns |
Authors: | นันทภา ปัญญารัตน์ |
Advisors: | วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา วิศนี ศิลตระกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ภาวะผู้นำ การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาผู้ใหญ่ พุทธศาสนา ชี ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Leadership Non-formal education Adult education Buddhism Nuns |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับแม่ชีไทย (2) เพื่อทดลองใช้โปรแกรมทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับแม่ชีไทย (3) เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องของการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับแม่ชีไทยไปใช้ กลุ่มตัวอย่างคือแม่ชี ในสังกัดของสถาบันแม่ชีไทย จำนวน 30 คน โดยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองที่ดำเนินการทดลองกลุ่มเดียว มีการวัดผลก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับแม่ชีไทย ประกอบด้วย 1. การกำหนดพื้นฐานสำหรับการพัฒนาโปรแกรม 2. การวิเคราะห์สถานการณ์สำหรับกลุ่มผู้บริการ 3. การพิจารณาผลที่พึงประสงค์ 4. การกำหนดแหล่งทรัพยากร และการสนับสนุน 5. การสร้างแผนการเรียนรู้ 6. โปรแกรมการปฏิบัติงาน 7. ความน่าเชื่อถือของการใช้ทรัพยากร 8. การรายงานค่าของโปรแกรม และองค์ประกอบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธ คือ 1. กิจกรรมทักษะการพูด 2. คู่มือการฝึกปฏิบัติ 3. การแบ่งกลุ่มย่อยในทุกกิจกรรม 4. การทำสมาธิ 2)ผลการทดลองใช้โปรแกรมการเรียนรู้พบว่า กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมไม่มีความแตกต่างกันทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม แต่หากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงหลังเข้าโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับแม่ชีไทยโดยมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธเพิ่มขึ้นทุกด้าน โดยเฉพาะทักษะการสื่อสาร การมีคุณธรรม การเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นกล้าคิด กล้าตัดสินใจ มีความยืดหยุ่น ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ มีสมาธิ และมีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้วัดความรู้ เจตคติ และทักษะปฏิบัติการ พบว่า หลังการทดลองของกลุ่มทดลองมีความรู้ เจตคติและทักษะปฏิบัติการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธเพิ่มขึ้น 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับแม่ชีไทย คือ ผู้เรียน ผู้สอน เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ ระยะเวลา การวัดและการประเมินผล และเงื่อนไขในการนำไปใช้ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านผู้เรียน ด้านกิจกรรม และด้านสภาพแวดล้อม |
Other Abstract: | The purposes of this research were to: 1) develop a non–formal education program to enhance Transformational Buddhist Leadership for Thai Nuns; 2) implement a non – formal educational program to enhance Transformational Buddhist Leadership for Thai Nuns; and 3) study factors and conditions related to the use of non – formal educational programs to enhance Transformational Buddhist Leadership for Thai Nuns. The research samples in the experimental group were 30 Thai Nuns belong to Shee Thai foundation under the Queen’s patronage. This study based on the Experimental Research One Group Pretest-Posttest design. The research findings were as follow: 1.The components of a non-formal education program to enhance Transformational Buddhist Leadership for Thai Nuns consisted of Identification of the Basis for Programming ,Situation Analysis of Community and Clientele, Identification of Desired Outcomes, Identification of Resources and Support , Design of an Instructional Plan, Program of Action, Accountability of Resources and Communication of the Value of the Program. 2. Statistically, there were not significant difference between the pre-test and post –test in the experimental group at the .05 level. The results of the implementation of using a non-formal education activity program were : the experimental group had the scored of knowledge in pretest were higher than the scored of posttest ,attitude scales and expression were more positive after the program. Communication skills and creativity were improved after the training. 3. The factors concerning the non-formal education program were the learners, instructors, content learning activities , period of time and evaluation. In addition there were some obstructive factors and the conditions related to the use of the program that might have affected the training. These included the characteristic of the Thai Nuns, environment and the arrangement of activities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36750 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1049 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1049 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nantapa_pa.pdf | 6.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.