Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36754
Title: การสังเคราะห์ชุดความรู้ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาของชุมชน
Other Titles: Synthesis of local knowledge sets for the promotion of community education
Authors: ณัฐติกาญจน์ สีเหนื่ยง
Advisors: อมรวิชช์ นาครทรรพ
กรรณิการ์ สัจกุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
No information provided
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ชุมชน
การศึกษาชุมชน
Communities
Community education
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสังเคราะห์ชุดความรู้ท้องถิ่นจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในมิติต่างๆ 2) เพื่อสังเคราะห์ชุดความรู้ท้องถิ่นจากกรณีศึกษา 3) เพื่อศึกษากระบวนการนำชุดความรู้ท้องถิ่นไปจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการศึกษาของชุมชนรวมถึงปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องของชุมชนในกระบวนการจัดการเรียนรู้เนื้อหาท้องถิ่น 4) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริม การจัดการเรียนรู้เนื้อหาท้องถิ่นที่จะมีส่วนส่งเสริมการศึกษาของชุมชนต่อไป โดยใช้วิธีการวิจัย1) การสังเคราะห์งานวิจัย (Research Synthesis 2) การศึกษากรณีตัวอย่างโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ 3) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR( ผลการศึกษาพบว่า 1) ความรู้ท้องถิ่นจากการสังเคราะห์งานวิจัยทั้ง 6 มิติ ได้เนื้อหาความรู้ท้องถิ่นดังนี้ 1.1) มิติประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ได้แก่ตำนานและประวัติชุมชน การเปลี่ยนแปลง พื้นที่ คน เวลา 1.2) มิติวัฒนธรรม-วิถีชีวิต ภาษา ความเชื่อ ประเพณี การผสมผสานทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม 1.3) มิติเศรษฐกิจเศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง การระดมทุน 1.4) มิติสังคม- ทุนทางสังคม ประชาสังคม ชุมชนเข้มแข็ง 1.5) มิติการจัดการทรัพยากร-การจัดการดินน้ำป่า พิธีกรรมเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร 1.6) มิติคุณค่าและภูมิปัญญาท้องถิ่น- ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของคนที่อยู่ร่วมกัน ความสัมพันธ์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสิ่งที่เหนือธรรมชาติ 2) ชุดความรู้ท้องถิ่นบ้านเอื้อมจากสืบค้นความรู้ท้องถิ่นร่วมกันกับชุมชนโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ 2.1)ประวัติศาสตร์ ลำปาง และประวัติศาสตร์บ้านเอื้อมได้แก่ประวัติศาสตร์ลำปาง ประวัติศาสตร์บ้านเอื้อม ภูมินามและประวัติศาสตร์หมู่บ้าน 2.2) ประวัติศาสตร์บ้านเอื้อมในยุคต่างๆ ยุคก่อนการพัฒนา (ยุคเกวียน) ยุครถไฟ ยุคไฟฟ้าและ ยุคปัจจุบัน ได้แก่ภาษา ความเป็นอยู่ อาหาร การดูแลสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงการจัดการป่าและน้ำของชุมชน และการสร้างเสถียรภาพทางสังคม 2. 3) ประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์และตานก๋วยสลาก 2.4) คุณค่าและภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านเอื้อมได้แก่ เพลงซอ ภาพพระบฎ และปั๊บสาตำราโบราณ 3) กระบวนนำชุดความรู้ท้องถิ่นไปจัดการเรียนรู้ ได้แก่ 3.1) การเตรียมการประสานการมีส่วนร่วมของชุมชน 3.2) สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนร่วมกัน 3.3)กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ความรู้ท้องถิ่นบ้านเอื้อม 3.4) การร่วมกันสะท้อนความคิดเห็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) ปัจจัยเงื่อนไข ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดการเรียนรู้เนื้อหาท้องถิ่น 4.1) ชุมชนเห็นความสำคัญของการเรียนรู้เนื้อหาท้องถิ่น 4.2) ผู้นำชุมชนและแกนนำมีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนรวมทั้งส่งเสริมการศึกษาของชุมชน 4.3) ความสัมพันธ์ทางสังคมที่แน่นแฟ้นระบบเครือญาติ 4.4) แหล่งเรียนรู้ของชุมชนมีความหลากหลายและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องของชุมชนในกระบวนการจัดการเรียนรู้เนื้อหาท้องถิ่น4.4.1) หน่วยงานภายนอกที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาของชุมชนอย่างต่อเนื่อง4.4.2) ความช่วยเหลือจากภาครัฐ และ4.4. 3) วัฒนธรรมจังหวัดที่จะมีส่วนช่วยส่งเสริมการศึกษาของชุมชน 5) แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เนื้อหาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาของชุมชน ได้แก่ 5.1) กระบวนการสร้างพลังชุมชน 5.2) กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม บ้าน วัด โรงเรียน 5.3) การใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน 5.4) การสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
Other Abstract: The objectives of this dissertation were: 1) to synthesize the local knowledge sets from all related research documents in various dimensions; 2) to synthesize the local knowledge sets from case studies; 3) to study the process of local knowledge sets implementation in learning provision for promoting community education, including the related condition factors of community in the process of learning provision about local contents; 4) to propose the promoting guidelines on learning provision about local contents which would be part of the further community education promotion. By means of research methods: 1) Research Synthesis 2) Sampling Case Studies by Historical Methodology 3) Conducting the Participatory Action Research (PAR) The study result found that 1. Local knowledge from the research synthesis, all 6 dimensions, got the local knowledge contents as following: 1.1 the local history dimension: legend and community history, changes, area, people and time; 1.2) the culture dimension: way of life, language, belief, tradition, merged culture, and cultural change; 1.3) the economy dimension: community economy, sufficiency economy, and funding; 1.4) the society dimension: social capital, civil society, and strengthened community; 1.5) the resources management dimension: soil, water, and forest management and the rituals related to resources management; 1.6) the value and local wisdom dimension: relationship between man and environment; relationship between people who live together; and relationship between holy and supernatural things. 2. Baan Uuem local knowledge sets from co-searching with the community by historical methodology: 2.1) Lampang history and Baan Uuem history, toponymy, and village history; 2.2) Baan Uuem history in eras: pre-developmental age(cart age), train age, electricity age and present age such as language, living, food, healthcare, economic change, the community forest and water management change, and building up the social stability; 2.3) local traditions such as Song Kran and Tan Kuay Slag; and 2.4) the value and local wisdom of Baan Uuem such as fiddle songs, Buddha paintings and ancient text- books. 3. The process of local knowledge sets implementation in learning provision for promoting community education: 3.1) prepare the cooperation; 3.2) study the problem conditions and needs of community; 3.3) coordinate the local learning activities of Baan Uuem; and 3.4) reflect the ideas of learning provision process. 4. The related condition factors in learning process about local contents: 4.1) community realized the importance of learning about local contents; 4.2) the community leader and core leader concentrated on solving the problems and developing their community as well as promoting the community education; 4.3) social relationship as close as relatives; 4.4) various learning resources of community and the related conditions of community in the process of learning provision about local contents; 4.4.1) external organizations which supported the community development continuously; 4.4.2) assistance from government; and 4.4.3) provincial culture that would partially promote the community education. 5. The promoting guidelines on learning provision about local contents for the community education promotion: 5.1) process of building up the community power; 5.2) participatory learning process of family, religion and school; 5.3) resources based learning; 5.4) building up network for lifetime learning.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36754
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1052
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1052
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nattikarn_se.pdf6.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.