Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/371
Title: | ภาวะเศรษฐกิจกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและครอบครัวในประเทศไทย : รายงานเบื้องต้น |
Other Titles: | โครงการภาวะเศรษฐกิจกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและครอบครัวในประเทศไทย รายงานเบื้องต้นโครงการภาวะเศรษฐกิจกับการเปลี่ยนแปลงประชากรและครอบครัวในประเทศไทย |
Authors: | นภาพร ชโยวรรณ ชเนตตี มิลินทรางกูร บุศรินทร์ บางแก้ว ปรียา รุ่งโสภาสกุล มาลินี วงษ์สิทธิ์ รัชนก คชานุบาล วิพรรณ ประจวบเหมาะ ศิริวรรณ ศิริบุญ |
Email: | [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันประชากรศาสตร์ |
Subjects: | การเปลี่ยนแปลงประชากร ครอบครัว ไทย--ภาวะเศรษฐกิจ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงการภาวะเศรษฐกิจกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและครอบครัวในประเทศไทย (Economic Crisis, Demographic Dynamics and Family in Thailand, ECODDF) เป็นการสำรวจระดับประเทศซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคม พ.ศ. 2544 สัมภาษณ์หญิงและชายอายุ 15-49 ปีทั่วประเทศได้จำนวนประมาณ 5,000 ราย และ 3,000 รายตามลำดับ ผลการวิจัยเบื้องต้น พบว่า วิกฤติเศรษฐกิจซึ่งเกิดในกลางปี พ.ศ. 2540 มีผลกระทบต่อประชากรในวัยเจริญพันธุ์ทั้งด้านการมีงานทำ และรายได้ กล่าวคือ ประมาณร้อยละ 4.9 ของชาย และร้อยละ 6.9 ของหญิงว่างงานในช่วงสัปดาห์ก่อนการสำรวจ ประมาณร้อยละ 44 ของทั้งชายและหญิงที่ตอบว่ารายได้ครัวเรือนในปัจจุบันลดลงต่ำกว่าเมื่อก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และประมาณร้อยละ 40 ของชายและร้อยละ 41 ของหญิงรายงานว่ารายได้ของตนเองลดลง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63 ของทั้งชายและหญิง) รายงานว่าวิกฤติเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อครอบครัวของตนบ้าง ประมาณร้อยละ 20 ตอบว่ามีผลกระทบมาก และมีเพียงร้อยละ 17 เท่านั้นที่ไม่ได้รับผลกระทบเลย ด้านภาวะเจริญพันธุ์ พบว่าประเทศไทยมีอัตราการเจริญพันธุ์ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับทดแทน กล่าวคือ อัตราเจริญพันธุ์รวมยอด (Total Fertility Rate, TFR) ในช่วงหนึ่งปีก่อนการสำรวจ (พ.ศ. 2543-44) ของสตรีอายุ 15-44 ปี เท่ากับ 1.86 ต่อสตรี ระดับเจริญพันธุ์ยังคงมีความแตกต่างระหว่างภาคและเขตเมืองกับชนบท เป็นที่น่าสนใจที่พบว่าจำนวนบุตรที่ต้องการและจำนวนบุตรในอุดมคติของชายและหญิงสมรสไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ จำนวนบุตรที่ต้องการเท่ากับ 2.3-2.4 คน และจำนวนบุตรในอุดมคติเท่ากับ 2.4-2.5 คน ด้านการสมรส พบว่าทั้งชายและหญิงแต่งงานกันช้าลง คือจะสมรสเมื่อมีอายุมากขึ้น อายุแรกสมรสเฉลี่ยของชายและหญิงเท่ากับ 26 ปี และ 23 ปีตามลำดับ ร้อยละ 3 ของชายและร้อยละ 5 ของหญิงในวัยเจริญพันธุ์มีการหย่า/แยก/เลิกกับคู่สมรส โดยอัตราการหย่าร้างมีแนวโน้มเพิ่มตามอายุหรือระยะเวลาสมรสโดยเฉพาะในเพศหญิง ส่วนใหญ่ของชายและหญิงที่สมรสมีพิธีสมรสก่อนจะอยู่กินกัน ประมาณร้อยละ 9-10 อยู่กินกันก่อนมีพิธีสมรส และประมาณหนึ่งในสี่ไม่มีพิธีอะไรเลย ประมาณร้อยละ 65 ของชายและหญิงที่สมรสได้จดทะเบียนสมรสโดยส่วนใหญ่จดทะเบียนสมรสหลังจากอยู่กินกัน ผู้ที่อยู่ในเมืองมีแนวโน้มจะไม่จดทะเบียนสมรสมากกว่าผู้ที่อยู่ในชนบท สถานการณ์ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ พบว่าอัตราการกำลังใช้การคุมกำเนิดของสตรีกำลังสมรสอายุ 15-49 ปีอยู่ในระดับสูง คือ เท่ากับร้อยละ 77.8 โดยสตรีในภาคเหนือมีอัตรากำลังใช้สูงสุด (ร้อยละ 80.0) และภาคใต้ต่ำสุด (ร้อยละ 73.1) วิธีคุมกำเนิดที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือยาเม็ด (ร้อยละ 36.5) ตามด้วยวิธีทำหมันหญิง (ร้อยละ 33.9) ยาฉีด (ร้อยละ 17.5) ห่วง (ร้อยละ 3.5) ทำหมันชายและถุงยางเท่าๆกัน อย่างละประมาณร้อยละ 2.5 และยาฝังร้อยละ 1.6 อัตราการยั้งใช้ (unmet need) ของการคุมกำเนิดอยู่ในระดับต่ำมาก ประมาณร้อยละ 1.2 เท่านั้นของสตรีกำลังสมรสอายุ 15-49 ปี ควรต้องใช้การคุมกำเนิดแต่ไม่ได้ใช้ ประมาณร้อยละ 4.4 ของสตรีเคยสมรสอายุ 15-49 ปี เคยทำแท้ง ประมาณหนึ่งในห้าของสตรีที่เคยทำแท้งประสบกับภาวะแทรกซ้อน ส่วนใหญ่ของสตรีไทยมีการดูแลครรภ์ก่อนการคลอดที่ค่อนข้างดี คือ ส่วนใหญ่ของสตรีที่มีบุตรในช่วง 5 ปีก่อนการสำรวจได้ไปตรวจครรภ์ตามกำหนด ได้รับการฉีดยาป้องกันบาดทะยัก มีการฝากครรภ์ คลอดบุตรที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย และมีการตรวจหลังคลอด ประมาณร้อยละ 92.1 ได้ให้นมตนเองแก่บุตรคนสุดท้ายที่เกิดในช่วง 5 ปีก่อนการสำรวจ โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยที่ให้นมมารดาเท่ากับ 11.3 เดือน ประมาณร้อยละ 1.7 ของสตรีที่สมรสแล้วประสบภาวะการมีบุตรยาก และร้อยละ 40.7 ของสตรีที่คิดว่าตนเองมีบุตรยากได้ไปปรึกษาบุคลากรทางแพทย์ การปรึกษาเรื่องวางแผนครอบครัวและการตรวจสุขภาพก่อนการสมรสมีการปฏิบัติกันน้อย สัดส่วนของสตรีที่ได้ไปปรึกษาเรื่องวางแผนครอบครัวก่อนการสมรส และสัดส่วนที่ได้ไปตรวจสุขภาพก่อนการสมรสมีเพียงร้อยละ 11.1 และร้อยละ 17.1 เท่านั้น สตรีโสดเพียงร้อยละ 3.5 เท่านั้นเคยตรวจมะเร็งปากมดลูก และร้อยละ 1.8 ได้ตรวจมะเร็งปากมดลูกในช่วง 6 เดือนก่อนการสำรวจ ส่วนในสตรีสมรสประมาณร้อยละ 42 ยังไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูก และร้อยละ 17.1 ได้ตรวจมะเร็งปากมดลูกในช่วง 6 เดือนก่อนการสำรวจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/371 |
ISBN: | 9741323832 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pop - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Napaporn(econ).pdf | 24.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.