Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3722
Title: การสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจนครบาล
Other Titles: Metropolitan police officials' upward compliance gaining communication
Authors: เขมรินทร์ พิศมัย, ว่าที่ร้อยตำรวจโท, 2518-
Advisors: นงลักษณ์ ศรีอัษฎาพร เจริญงาม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ตำรวจ
การสื่อสาร
ผู้บังคับบัญชา
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาในการปฎิบัติหน้าที่ในสถานีตำรวจนครบาล ลักษณะกลยุทธ์ในการสร้างการยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชาทัศนคติของผู้บังคับบัญชาต่อกลยุทธ์การสร้างการยอมรับ ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับของผู้บังคับบัญชา โดยเก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 365 คน ซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจนครบาล 18 สถานี และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างเดิมอีก 36 คน ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาในการปฏิบัติหน้าที่ในสถานีตำรวจนครบาลมี 5 สถานการณ์คือ 1) เมื่อวิธีการทำงานที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการไม่สามารถปฏิบัติได้และผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอวิธีที่คิดว่าดีกว่า 2) ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการให้ผู้บังคับบัญชายอมรับฟังปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อปรับเปลี่ยนนโยบายหรือคำสั่ง 3) ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการให้ผู้บังคับบัญชายอมรับในความสามารถ เพื่อปรับเปลี่ยนให้ทำหน้าที่ที่ต้องการ 4) ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการให้ผู้บังคับบัญชายอมรับในผลงาน เพื่อให้พิจารณาผลงานและความดีความชอบ และ 5) ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการให้ผู้บังคับบัญชายอมรับในบรรทัดฐาน และธรรมเนียมการปฏิบัติงานที่ยึดถือกันอยู่ โดยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมากที่สุด ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการให้ผู้บังคับบัญชายอมรับฟังปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการปฎิบัติหน้าที่ โดยปรับเปลี่ยนนโยบายหรือคำสั่ง ส่วนการใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างการยอมรับจากผู้บังคับบัญชานั้นพบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้กลยุทธ์เชิงบวก (เช่น การชี้แจงเหตุผลให้ผู้บังคับบัญชาทราบอย่างตรงไปตรงมา การพูดถึงผลประโยชน์ต่อส่วนรวม การพูดถึงผลสำเร็จในอดีต เป็นต้น) ในการสร้างการยอมรับจากผู้บังคับบัญชามากกว่ากลยุทธ์เชิงลบ (เช่น การข่มขู่ หรือกล่าวอ้างถึงความผิด หรือผลร้ายเป็นต้น และพบว่าผู้บังคับบัญชามีทัศนคติที่ดีต่อกลยุทธ์เชิงบวก โดยยอมรับกลยุทธ์เชิงบวกมากกว่ากลยุทธ์เชิงลบ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับของผู้บังคับบัญชา พบว่า ปัจจัยด้านบุคลิกและคุณลักษณะส่วนตัวของผู้บังคับบัญชาที่มีผลต่อการยอมรับของผู้บังคับบัญชาได้แก่ ความยึดมั่นในยศ ตำแหน่ง และศักดิ์ศรีของผู้บังคับบัญชา และคุณลักษณะผู้นำของผู้บังคับบัญชา ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ความสัมพันธ์ ส่วนตัวระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาความคล้ายคลึงกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งปัจจัยด้านบุคลิก และคุณลักษณะส่วนตัวของผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งในเรื่องของอายุ ระดับการศึกษา ชั้นยศ และอายุราชการ พบว่า ปัจจัยดังกล่าวไม่มีผลต่อการยอมรับของผู้บังคับบัญชา
Other Abstract: The present survey research was conducted in attempts to study the situations on duty which subordinates want to gain the compliance from their superiors of metropolitan police official. Additionally, the study investigated subordinates' uses of compliance gaining strategies and superiors' attitudes toward their uses of such strategies. The researcher also examined factors affecting the amount of superiors' compliance. Data were gathered in 18 metropolitan police station in which 365 subjects were asked to respond to a questionnaire and among these 36 subjects were asked to participate in in-dept interviews in order to acquire additional information which was not obtained from the questionnaires. Results indicated that there were 5 situations on duty which subordinates wanted to gain compliance from their superiors among these situations, the one most likely occurred was when subordinates wanted their superiors to be aware of and concerned with their problems on duty. Moreover, subordinates used the positive compliance gaining strategies more than the negative ones. The study findings also showed that the factors affecting the amount of superiors' compliance were superior's personalities including their self-esteem and leadership styles
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3722
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.294
ISBN: 9743346252
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.294
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khemmarin.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.