Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37630
Title: ปัญหาความเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาภายใต้ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
Other Titles: The problems of juristic personhood of school under the Administrative Organization of the Ministry of Education Act B.E. 2546
Authors: สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
Advisors: เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การกระจายอำนาจปกครอง
บริการสาธารณะ
นิติบุคคล
กฎหมายมหาชน
กฎหมายการศึกษา
โรงเรียน -- การบริหาร
Decentralization in government
Public services
Juristic persons
Public law
Educational law and legislation
School management and organization
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้ ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสารร่วมกับการสนทนากลุ่ม จากผู้แทนสถานศึกษานิติบุคคลเพื่อค้นหาข้อมูลที่เป็นปัญหาในเชิงปฎิบัติ ผลการศึกษาได้พบข้อดีที่สนับสนุนการเกิดสถานศึกษานิติบุคคลหลายประการ แต่ในขณะเดียวกันได้พบปัญหาและผลกระทบที่เกิดหรืออาจเกิดจากการที่สถานศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคลหลายประการเช่นกัน โดยผู้วิจัยขอสรุปดังนี้ ความเป็นสถานศึกษานิติบุคคล เกิดขึ้นตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 แต่ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวยังขาดความชัดเจน เพราะมิได้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมใดๆ ถึงความเป็นนิติบุคคลที่ชัดเจนเพียงพอ โดยเฉพาะในเรื่องของขนาดสถานศึกษาซึ่งควรต้องระบุเป็นเงื่อนไขของการเป็นนิติบุคคล โดยการบริหารงานภายในสถานศึกษาพบว่า มีปัญหาทั้ง 4 ด้าน ในระดับที่แตกต่างกันไป ซึ่งด้านที่พบปัญหามากที่สุดคือ ด้านการบริหารงานบุคคลและการบริหารงบประมาณ เนื่องจากในการบริหารงาน 2 ด้านดังกล่าว กฎหมายยังมิได้มีการมอบอำนาจมาให้สถานศึกษาที่จะมีอำนาจดำเนินการได้โดยตรง เพราะอำนาจที่มอบมายังคงถูกรวมศูนย์อยู่ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเช่นเดิม การมอบอำนาจลงมาสู่สถานศึกษาจะเป็นเพียงการมอบอำนาจเฉพาะเรื่องที่อาศัยคำสั่งเป็นเรื่องๆ มิใช่การมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ในลักษณะที่จะสามารถดำเนินการตัดสินใจและบริหารสถานศึกษานิติบุคคลเป็นงานประจำได้ แต่สำหรับปัญหาการบริหารงานภายในสถานศึกษาที่เหลืออีก 2 ด้าน ได้แก่ การบริหารวิชาการและการบริหารงานทั่วไป ในภาพรวมพบว่ามีปัญหาในระดับที่ไม่มาก สำหรับปัญหาความรับผิดของสถานศึกษานิติบุคคลในกรณีที่อาจถูกฟ้องร้อง เนื่องจากสถานศึกษามีฐานะเข้าเป็นคู่ความในคดีต่างๆ ได้ พบว่า มีความเสี่ยงที่อาจถูกฟ้องร้องในคดีปกครองมากที่สุด เนื่องจากกฎหมายให้สิทธิใช้อำนาจปกครองได้ และผู้อำนวยการสถานศึกษาจะมีการทำนิติกรรมทางปกครองอยู่ตลอดเวลา แนวทางแก้ปัญหาที่ควรจะเป็น ควรเพิ่มเติมเนื้อหาของมาตรา 35 โดยกำหนดให้ขนาดสถานศึกษาหรือจำนวนนักเรียนเป็นเกณฑ์ในการให้สถานะความเป็นนิติบุคคล และระบุอำนาจหน้าที่ของการบริหารงานภายในสถานศึกษาทั้ง 4 งานหลักที่ต้องการให้มีการกระจายอำนาจเพิ่มเติมลงไปในมาตรา 35 และรับรองความเป็นผู้ทรงสิทธิและเสรีภาพให้กับสถานศึกษานิติบุคคลไว้ในวรรคท้ายของมาตรา 35 รวมทั้งจัดอบรมและทำคู่มือรวบรวมกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้บริหารและครูร่วมกับการตั้งศูนย์ประสานงาน Call Center ของแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อลดความเสี่ยงในการทำนิติกรรมของสถานศึกษานิติบุคคล
Other Abstract: This research is focus on the problem in juristic personhood of school under the Administrative Organization Act B.E. 2546 of Ministry of Education. The research methodology is using research document and using focus group from school’s representative for finding any practical issue. The results of this research led to pros and cons of having juristic personhood of school. it was summarized as follow: Section 35 of the Administrative Organization Act B.E. 2546 of Ministry of Education creates the law of juristic person of school. However, it does not have any clear regulation about being juristic person, especially the size of school which should be determined in its condition. The internal Administration has 4 areas; each area has issues in different levels. The personal management and financial management areas have significant issues because the Act has not directly grants the management authority to school, but centralizes this authority at the Educational Service Area Office. A managing authority granted to school depends on circumstance, it is not a general authority assigned for making decision in the routine. For of another two areas, academic management and general management, the issue is insignificant. In the issue of liability of juristic person, school might be able to enter into a lawsuit, particularly in the administrative case since the Act grants an administrative adjudication to the school’s representative who always exercises an administrative act. The suggestive solution is adding more clause and specification about standard of acquiring juristic personhood into section 35 by defining school size or student amount. The Act should be specified internal management authorities in all areas mentioned above. The decentralization of school management should be appointed in more detail. Besides, the right and freedom of management should be affirmed in the last subsection of section 35.Training and handbook that cover all related regulations should be established for administrators and teachers, as well as coordinate center in each area where the Office of Education Services Area locates for reducing risk in legal action from school administration.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37630
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1180
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1180
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sadayu_te.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.