Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37643
Title: กลยุทธ์การจัดเส้นทางในโครงข่ายแอดฮอกเคลื่อนที่เพื่อการรับรู้ข้อมูลจราจรในสภาพแวดล้อมเมือง
Other Titles: Routing strategy in mobile ad hoc networking for traffic information enquiry in urban environment
Authors: นิภัทร พึ่งสวัสดิ์
Advisors: ชัยเชษฐ์ สายวิจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถ
การหาค่าเชิงการจัดที่เหมาะที่สุด
เครือข่ายแอดฮอกของยานพาหนะ
Vehicle routing problem
Combinatorial optimization
Vehicular ad hoc networks (Computer networks)
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องมาจากทอพอโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วเกินกว่าที่จะใช้กลยุทธ์การจัดเส้นทางแบบอิงทอพอโลยีที่เคยใช้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นที่เปิดกว้าง งานวิจัยหลายจึงชิ้นเลือกใช้กลยุทธ์การจัดเส้นทางแบบอิงตำแหน่ง เพื่อเอาชนะปัญหาสภาพเคลื่อนที่ของโนดที่สูง และการกีดขวางสัญญาณของตึกสูงในการสื่อสารแบบแอดฮอกระหว่างรถยนต์ในสภาพแวดล้อมเมือง แต่อย่างไรก็ตามในสภาวะการจรารจรที่เคลื่อนตัวได้ช้า กระบวนการสร้างเส้นทางก่อนการส่งก็ยังคงให้อัตราส่วนแพ็กเกตที่ส่งสำเร็จต่อแพ็กเกตทั้งหมดที่ดี อีกทั้งยังใช้ช่องสัญญาณควบคุมที่น้อยกว่ากลยุทธ์หาเส้นทางแบบอิงตำแหน่งที่ใช้ข้อมูลตำแหน่งอีกด้วย วิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอแนวคิดการนำคุณลักษณะเด่นของการจัดเส้นทาง ทั้งแบบอิงทอพอโลยีและแบบอิงตำแหน่ง มาเพื่อผสมผสานกันเพื่อเพิ่มอัตราส่วนแพ็กเกตที่ส่งสำเร็จต่อแพ็กเกตทั้งหมดและลดอัตราการละทิ้งแพ็กเกตให้น้อยลง โดยกลยุทธ์การจัดเส้นทางแบบปรับเปลี่ยนได้นี้จะเลือกใช้กระบวนการหาเส้นทางให้เหมาะกับลักษณะเฉพาะการเคลื่อนที่ของรถยนต์บริเวณนั้น ในส่วนแรกของวิทยานิพนธ์เสนอการวิเคราะห์คุณลักษณะเด่นของทั้งกลยุทธ์แบบอิงทอพอโลยี และแบบอิงตำแหน่ง กระบวนการจำกัดพื้นที่การกระจายสัญญาณเพื่อลดอัตราการชนกันของแพ็กเกต เสนอการเลือกใช้กลยุทธ์การจัดเส้นทางแบบอิงทอพอโลยีบริเวณที่มีโนดคับคั่ง และมีสภาพการเคลื่อนที่ได้ต่ำ และเลือกใช้กลยุทธ์การจัดเส้นทางแบบอิงตำแหน่ง ในบริเวณที่มีโนดเบาบางกว่าแต่มีการบังคับตำแหน่งและทิศทางการเคลื่อนที่ของโนดให้อยู่ในทางแคบและตรง เช่นการเคลื่อนที่ตามกันของรถยนต์ที่วิ่งจากแยกสู่แยก ทำให้ได้กลยุทธ์การจัดเส้นทางใหม่แบบผสมผสาน (Hybrid routing protocols) ที่ใช้ลักษณะการเคลื่อนที่เป็นหลักเกณฑ์ วิเคราะห์กระบวนการสื่อสารด้วยวิธีการจำลองผลด้วยโปรแกรม NS-2 กลยุทธ์การจัดเส้นทางนี้สามารถช่วยเพิ่มอัตราส่วนแพ็กเกตที่ส่งสำเร็จต่อแพ็กเกตทั้งหมดและลดอัตราการละทิ้งแพ็กเกตให้น้อยลงได้อย่างเห็นได้ชัด
Other Abstract: Many existing woks have tried to overcome the mobility and non-line-of-sight problems in urban environment wireless ad hoc networks communication using position-based unicast routing algorithm. Due to frequent change of network topology, topology-based algorithms cannot provide high packet delivery ratio as it should be in open space environment. However, in case of low node mobility, Topology-based still offers moderate packet delivery ratio with lower signaling overhead. In this thesis, combining between benefit of both topology-based and position-based was develop a novel routing protocol that provides a outstanding packet delivery ratio with less dropped packet. This adaptive routing protocol adapts itself with local mobility pattern. The first part of the work discuss about an analysis of both topology-based and position-based, comparatively. The protocol defines forwarding zone to reduce packet collision. Using topology-based in a densed zone and position-based in the other zone. Protocol makes some redundant path and routing decision from existing position information. A new hybrid routing protocol which chooses forwarding strategy from node mobility is simulated by NS-2. This protocol can subsequently increase packet delivery ratio with less latency.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37643
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.41
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.41
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nipat_po.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.