Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3767
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พัชนี เชยจรรยา | - |
dc.contributor.author | นวพร วิสิฐสิริ, 2514- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2007-07-25T10:26:01Z | - |
dc.date.available | 2007-07-25T10:26:01Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741311281 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3767 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาลักษณะการดำเนินการสื่อสาร ศึกษากลยุทธ์การสื่อสาร ศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการดำเนินงานการสื่อสาร และกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการรณรงค์และเผยแพร่ข่าวสารการเลือกตั้ง การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีการวิจัยใช้รูปแบบการสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ ด้านกิจการการมีส่วนร่วมทั้งสิ้น 29 คน และมีการสังเกตสภาพการทำงาน กิจกรรม ตลอดจน สื่อต่างๆ ที่ออกเผยแพร่สู่สาธารณชนควบคู่ไปด้วย ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการดำเนินงานการสื่อสารเริ่มจากการรับนโยบาย ซึ่งกำหนดโดยภาครัฐบาล แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ (1) การทำให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งให้ได้มากที่สุด และ (2) การให้ประชาชนได้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้สมัครให้ได้มากที่สุด กลุมเป้าหมายหลักแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ (1) ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง ส.ว. (2) ประชาชนผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ประเด็นปัญหาที่ กกต. สนใจในการรณรงค์และเผยแพร่ข่าวสารการเลือกตั้ง ได้แก่ ภาพลักษณ์เดิมของ ส.ว. การขาดความรู้ในการเลือกตั้ง และปัญหาการทุจริต แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการสื่อสารของ กกต. ได้แก่ การสร้างค่านิยมให้กับประชาชนในการเลือกตั้ง เกี่ยวกับ การรักสิทธิและเสียงของตน และการใช้สิทธิและเสียงของตนอย่างมีเหตุผลและถูกต้องตามกฎหมาย ส่งเสริมให้ผู้มีหน้าที่รณรงค์และเผยแพร่ข่าวสาร โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของ กกต. อสร. และผู้เกี่ยวข้องทุกคน เพื่อให้จำนวนผู้ไปใช้สิทธิมากขึ้น ลดจำนวนผู้ไปใช้สิทธิอย่างไม่ถูกต้อง และส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กลยุทธ์การสื่อสารที่ กกต. เลือกใช้ จำแนกออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านสื่อเฉพาะกิจ การสื่อสารโดยสื่อมวลชนใน 2 ลักษณะ คือ ในลักษณะข่าว และในลักษณะโฆษณารณรงค์และเผยแพร่ การสื่อสารโดยสื่อบุคคล การสื่อสารโดยใช้สื่อพิเศษ คือ อินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์สายด่วน 1171 การสื่อสารโดยใช้สื่อหลายประเภทร่วมกันในกิจกรรมรณรงค์และเผยแพร่ฯ สื่อที่ใช้แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ สื่อเฉพาะกิจ สื่อมวลชน สื่อบุคคล สื่อพิเศษ และกิจกรรมรณรงค์และเผยแพร่ฯ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะดำเนินงานการสื่อสาร และกลยุทธ์การสื่อสารฯ จากการวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology) จำแนกตามลักษณะองค์ประกอบ ได้แก่ (1) ปัจจัยภายนอก หรือ ปัจจัยที่เกิดขึ้นภายนอกการดำเนินงานของ กกต. ประกอบด้วย รัฐบาล ข้อกำหนดและกฎหมาย, สภาพการเมืองการปกครอง และสภาพเศรษฐกิจ, ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย วัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยม. สื่อมวลชน และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร และปัญหาภายนอกอื่นๆ ปัญหาที่พบได้แก่ ปัญหาภายนอกที่ควบคุมได้ยาก ซึ่งเป็นปัญหาการสื่อสารที่สืบเนื่องมาจากปัญหาระดับประเทศ เช่น ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ (2) ปัจจัยภายใน หรือปัจจัยที่เกิดขึ้นภายในการดำเนินงานของ กกต. ประกอบด้วยงบประมาณ, กลไกการบริหาร, การประสานร่วมมือกับกลุ่มต่างๆ ได้แก่ กลุ่มราชการ, กลุ่มประชาคม, องค์กรเอกชน และอาสาสมัคร ปัญหาที่พบได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากรที่มีจำนวนยังไม่เเพียงพอ กกต. เป็นหน่วยงานที่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่นาน ประกอบกับการเลือกตั้ง ส.ว. นั้นเป็นเรื่องที่ใหม่ไม่เคยมีมาก่อนในระบบการเมืองการปกครองของไทยและก่อให้เกิดอุปสรรคในการทำงาน ส่วนในด้านงบประมาณนั้นไม่พบปัญหาเนื่องจากมีการประมาณการล่วงหน้าและพยายามดำเนินงานต่างๆ ภายใต้งบประมาณที่ได้กำหนดไว้ | en |
dc.description.abstractalternative | To (1) study communication procedures (2) study the communication strategies and (3) study the relevant factors related to communication procedures and strategies in senatorial election campaign and publicizing information which carried out by the Election Commission of Thailand. This research is the qualitative research using the interview method with 29 samples in the participatory section of the Election Commission of Thailand as well as working environment observation, activities and other public media. The result of the research found that the communication procedures started from the policies by government which can be devided into 2 phases : (1) Trying to present the highest number of electorate and (2) Publicizing the most electoral information to people. There are 2 objectives :(1) As the constitution in 1998, the legal section 92 prescribed to Thailand's senatorial election setting and (2) As the participatory section's assignment. This project concemed with 2 focus groups: (1) The senator candidates and (2) The electorate. The interested topics were the former senatorial figure of speech, the poverty of people's electoral knowledge and the electoral deceit. The Election Commission of Thailand attended to amend this communication problems by: (1) Forming people into the electoral right's values (2) Supporting the staffs to increase the numbers of voting and decrease the numbers of non-electorate (3) Most supporting people in electoral participation as they can. There are 5 communication strategies used in this research: The specific media preparation, the 2 categories of mass media; news and campaign-publicized advertising, the individual media, the specialized media; internet and 1171 hot line telephone calls, the mix media into activities. All of strategies above using 5 media: (1) The specific media (2) The mass media (3) The individual media (4) The specialized media and (5) The activities. Phenomenology concept can be refered in analyzing, there were 2 relevant factors related to the communication procedures and strategies : (1) The external factor as the factor which occurred from out of procedures such as government and laws, politics and economics status, people with culture-custom-values, mass media and communication's technology also other external items. The founded problem was the national communication problem that difficult to control (2) The internal factor as the factor which occurred from inside procedures such as budget supported by government, administration, the cooperation with groups; government service, populace service and volunteers. The founded problems were lacking of the carried out staff, the brand new establishment of the Election commission of Thailand also the senatorial election which was the informer Thailand's event. However there were obligations in this project, the budget problem supported by government were not found that connected to the former estimating and the management depended on plan. | en |
dc.format.extent | 2649007 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.313 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การสื่อสาร | en |
dc.subject | สื่อมวลชน | en |
dc.subject | การเลือกตั้ง | en |
dc.subject | วุฒิสมาชิก | en |
dc.title | กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการรณรงค์และเผยแพร่ข่าวสาร การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) | en |
dc.title.alternative | Communication strategies in senatorial election campaign and publicizing information of the Election Commission of Thailand | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2000.313 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Navaporn.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.