Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3776
Title: | การกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ซีโอไลต์ที่สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินและจากเถ้าลอยชานอ้อย |
Other Titles: | Removal of lead from synthetic wastewater using zeolite synthesized from coal fly ash and from bagasse fly ash |
Authors: | จุฑาทิพย์ เพชรอินทร์, 2521- |
Advisors: | ธเรศ ศรีสถิตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ขี้เถ้าลอย เถ้าถ่านหิน เถ้าชานอ้อย ซีโอไลต์ น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดโลหะหนัก ตะกั่ว |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสังเคราะห์ซโอไลต์จากเถ้าลอยถ่านหินและจากเถ้าลอยชานอ้อย ได้ทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากเถ้าลอยถ่านหินและจากเถ้าลอยชานอ้อย โดยตรวจสอบคุณสมบัติของความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนบวกของซีโอไลต์ที่สังเคราะห์ได้ จากผลการทดลองพบว่าสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากเถ้าถ่านลอยถ่านหินคือ อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 100 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2 โมลาร์ และระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 5 วัน ซึ่งจะให้ค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนบวกเท่ากับ 565.62 cmol/kg ส่วนสภาวะที่เหมาะสำหรับการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากเถ้าลอยชานอ้อย คือ อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา 90 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2 โมลาร์ แลชะระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 4 วัน ซึ่งจะให้ค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนบวกเท่ากับ 303.19 cmol/kg การศึกษาครั้งนี้นำซีโอไลต์สังเคราะห์ที่ได้ไปทดสอบาความสามารถในการกำจัดตะกั่วแบบไม่ต่อเนื่อง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ได้แก่ พีเอช ความเข้มข้นของโลหะหนัก และปริมาณซีโอไลต์เพื่อทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวตะกั่ว พบว่า ที่พีเอช 5 และความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตรมีเปอร์เซ็นต์การกำจัดตะกั่วดีที่สุด ซึ่งผลการทดลองไอโซเทอมของการดูดติดผิวตะกั่วที่สภาวะดังกล่าว โดยสมการการดูดติดผิวแบบแลงมัวร์ แสดงให้เห็นว่าซีโอไลต์ที่สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินและจากเถ้าลอยชานอ้อยมีความสามารถในการดูดติดผิวตะกั่วสูงสุดท่ากับ 94.07 และ76.74 มิลลิกรัมต่อกรัมซีโอไลต์ ตามลำดับ ซีโอไลต์ที่สังเคราะห์จากเถ้าลอยถ่านหินและจากเถ้าลอยชานอ้อยมีความสามรถในการกำจัดตะกั่วในน้ำเสียจากกระบวนการผลิตตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า ได้เท่ากับตะกั่วในน้ำเสียจากกระบวนการผลิตตะกั่วแห้งของโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า ได้เท่ากับร้อย93.24% และ 91.36% ตามลำดับ |
Other Abstract: | The objective of this research was to study the potential applicability in zeolite syntheses using coal fly ash and bagasse fly ash. The study designedly ascertained the optimum condition of zeolite syntheses comparatively from coal fly ash and bagasse fly ash. The optimum condition was determined by evaluating a cation exchange capacity (CEC) of the synthesized zeolite. The results revealed that the optimum condition exhibiting the highest CEC (565.62 cmol/kg) for synthesized zeolite using coal fly ash was characterized by reaction temperature of 100 degree celisus, activation by NaOH solution concentrated of 2.0 molars and reaction time of 5 days. And similarly, reaction temperature of 90 degree celsius, activation by NaOH solution concentrated of 2.0 molars and reaction time of 4 days showed the highest (303.19 cmol/kg) for bagasse fly aderived zeolite. Lead of removal by using these optimally synthesized zeolites was evaluated with batch test. The batch experiment was utilized to study the influential factors on removal of leas from Synthetic wastewater which are namely pH favorableness, concentration of the heavy metal, contact time and adsorption isotherm. The outcomes were that the best adsorption efficiency of lead were at pH 5 and concentration of 10 mg/l of lead. From Langmuir adsorption isotherm of synthetic wastewater, it was found that the lead adsorption capacities of zeolites synthesized fro coal fly ash and bagasse fly ash were 94.74 mg/g of zeolite respectively. The rtemoval capacities of lead in wastewater from Lead Ingots Factory using zeolites synthesized fro coal fly ash and bagasse fly ash were 93.24% and 91.36% respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3776 |
ISBN: | 9741759509 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jutatip.pdf | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.