Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3813
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิฏราธร จิรประวัติ, ม.ล.-
dc.contributor.authorชลัยพร อนันต์ศฤงคาร, 2519--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-08-01T07:03:54Z-
dc.date.available2007-08-01T07:03:54Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741311346-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3813-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractศึกษารูปแบบและเนื้อหาบทความเชิงโฆษณาในนิตยสาร และศึกษาการเปิดรับ การตระหนักรู้ และทัศนคติของผู้อ่านต่อบทความดังกล่าว รวมถึงทัศนคติต่อสินค้าที่นำเสนอในรูปแบบนี้ด้วย ทั้งนี้การวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ในการศึกษารูปแบบเนื้อหาบทความเชิงโฆษณา และใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม ในการศึกษาเรื่องการเปิดรับ การตระหนักรู้ และทัศนคติของผู้อ่านต่อบทความเชิงโฆษณานี้ ตลอดจนทัศนคติต่อสินค้าที่นำเสนอในรูปแบบบทความนี้ด้วย ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. บทความเชิงโฆษณามีทั้งหมด 7 ประเภทด้วยกัน คือ บทความประเภทบรรยาย บทความประเภทสาระเบาๆ บทความเชิงสัมภาษณ์ บทความเชิงวิชาการ บทความอธิบาย บทความรายงาน และบทความเชิงแสดงบุคลิกภาพ 2. เนื้อหาความรู้ที่บทความเชิงโฆษณานำเสนอ มีทั้งหมด 8 หมวด คือ ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้เรื่องความสวยความงาม ความรู้สำหรับแม่บ้าน ความรู้เรื่องการเลี้ยงดูเด็ก ความรู้เรื่องการตกแต่งบ้านและที่อยู่อาศัย ความรู้เรื่องการดูแลรถยนต์ ความรู้เรื่องเทคโนโลยีและความรู้ทั่วไป 3. ผู้อ่านนิตยสารทุกคนมีการเปิดรับบทความเชิงโฆษณา และตระหนักรู้ว่าบทความเชิงโฆษณามีการทำโฆษณาแฝง 4. ผู้อ่านนิตยสารส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อบทความเชิงโฆษณา เพราะเห็นว่าบทความนำเสนอสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ 5. ผู้อ่านมีทัศนคติต่อสินค้าที่นำเสนอรูปแบบบทความเชิงโฆษณา ในทิศทางบวก เพราะเห็นว่าสินค้านั้นนำเสนอความรู้ที่เป็นประโยชน์ นอกเหนือจากการขายสินค้าen
dc.description.abstractalternativeTo study both of the formats and contents of the magazine advertorials and to study consumer's exposure, awareness and attitudes towards the magazine advertorials as well as their attitudes towards the brand. It is the qualitative research in which the content analysis is employed to study the magazine advertorials and the focus group discussion is used to study consumer's response. The results of research are: 1. Magazine advertorials have seven formats: description, miscellaneous, interview, academic, explanation, report and personal characteristics. 2. The content of magazine advertorials covers eight topics: health, beauty, housekeeping tips, children nurture, house decoration, car maintenance, technology and others. 3. All readers have exposed to magazine advertorials and perceived that adertorials is one type of advertising. 4. Most of the readers have positive attitudes towards magazine advertorials because they feel the advertorials offer many useful tips. 5. Most of the readers have positive attitudes towards the brands that used magazine advertorials and feel the brands have not only given the selling messages but also offered beneficial knowledge to consumersen
dc.format.extent5381162 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.294-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโฆษณาทางวารสารen
dc.subjectการเปิดรับสื่อมวลชนen
dc.subjectความตระหนักen
dc.subjectทัศนคติen
dc.titleการวิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอบทความเชิงโฆษณาในนิตยสาร และการเปิดรับ การตระหนักรู้ และทัศนคติของผู้อ่านนิตยสารen
dc.title.alternativeContent analysis of magazine advertorials and consumer's exposure, awareness and attitudesen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการโฆษณาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.294-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalaiporn.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.