Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38333
Title: | การเปรียบเทียบผลของภาวะเค็มต่อเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตในข้าว Oryza sativa L. พันธุ์เหลืองประทิว123 และสายพันธุ์ทนเค็มที่เกิดจากมิวเทชัน |
Other Titles: | Comparison of salt stress effects on carbohydrate metabolism in Leung Pratew 123 rice Oryza Sativa L. and the salt-tolerant mutant line |
Authors: | ธนิกานต์ อุดมชโลทร |
Advisors: | ศุภจิตรา ชัชวาลย์ ปรีดา บุญ-หลง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ข้าว -- การทดสอบพันธุ์ พืชทนเค็ม Rice -- Field experiments Salt-tolerant crops |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาผลของภาวะเค็มต่อ การเติบโต ปริมาณคลอโรฟิลล์ การแสดงออกของยีน 6-phosphate,2-kinase/fructose 2,6-bisphosphatase (6PF2K/F26BPase) กิจกรรมของเอนไซม์ 6-phosphate,2-kinase (6PF2K) และเอนไซม์ fructose 2,6-bisphosphatase (F26BPase) ปริมาณแป้ง น้ำตาลทั้งหมด ซูโครส และปริมาณของ fructose 2,6-bisphosphate (Fru-2,6-P₂) ในข้าวเหลืองประทิว123 สายพันธุ์ทนเค็ม (LPT123-TC171) และข้าวเหลืองประทิว123 สายพันธุ์เดิม (LPT123) พบว่าการให้ภาวะเค็มด้วยสารละลายธาตุอาหารที่มีโซเดียมคลอไรด์เข้มข้น 0.5% เป็นเวลา 9 วันไม่มีผลต่อปริมาณคลอโรฟิลล์ในข้าวทั้งสองพันธุ์/สายพันธุ์ที่ทดสอบ อย่างไรก็ตามภาวะเค็มยับยั้งการเติบโตของข้าว LPT123 แสดงจากน้ำหนักแห้งที่ลดลง ในขณะที่ข้าว LPT123-TC171 สามารถเติบโตอย่างปกติตลอด 9 วันของการทดลองให้ภาวะเค็มซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทนเค็มที่สูงกว่า ในภาวะเค็มข้าวทั้งสองพันธุ์/สายพันธุ์มีปริมาณน้ำตาลทั้งหมดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเกิดจากการเพิ่มของน้ำตาลซูโครสเป็นหลัก ในทางตรงข้ามภาวะเค็มส่งผลให้การสร้างแป้งลดลง อย่างไรก็ตามข้าวสายพันธุ์ทนเค็มในชุดการทดลองที่ให้ภาวะเค็มมีอัตราส่วนระหว่างซูโครสและแป้งสูงกว่าข้าวสายพันธุ์เดิม ในข้าวสายพันธุ์ทนเค็มพบสัญญาณการแสดงออกของยีน 6PF2K/F26BPase ภายหลังการให้ภาวะเค็มเป็นเวลา 12 ชั่วโมงในขณะที่ข้าว LPT123 ถูกชักนำให้มีการแสดงออกภายหลังการให้ภาวะเค็มเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งส่งผลให้มีกิจกรรมของเอนไซม์ 6PF2K และเอนไซม์ F26BPase เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในข้าว LPT123-TC171 อัตราส่วนระหว่างกิจกรรมของเอนไซม์ 6PF2K/F26BPase ลดลงอย่างมีนัยสำคัญภายหลังการให้ภาวะเค็มเป็นเวลา 3 วัน เป็นผลให้ปริมาณของ Fru-2,6-P₂ ลดต่ำอย่างมีนัยสำคัญภายหลังการให้ภาวะเค็มเป็นเวลา 9 วัน ข้อมูลดังกล่าวสนับสนุนบทบาทของ Fru-2,6-P₂ ที่ลดลงสามารถผลักดันให้เกิดการสังเคราะห์ซูโครสมากกว่าการสังเคราะห์แป้ง การศึกษานี้เสนอว่าคาร์บอนเมแทบอลิซึมอาจมีส่วนในความสามารถการทนเค็มของข้าว |
Other Abstract: | Growth, chlorophyll content, the expression pattern of 6-phosphate,2-kinase/fructose 2,6 -bisphosphatase (6PF2K/F26BPase), 6-phosphate,2-kinase and fructose 2,6-bisphosphatase activities, and the contents of starch, total sugar, sucrose and fructose 2,6-bisphosphate (Fru-2,6-P₂) metabolite were determined in salt tolerant rice (Oryza sativa L.) line, LPT123-TC171, and its original rice cultivar, Leung Pratew 123 (LPT123). During 9 days of salt treatment, provided by addition of 0.5% NaCl in the nutrient solution, there was no effect on chlorophyll content in both rice cultivar/ line tested. However, salt stress inhibited growth of LPT123, showing by the reduction of dry weight, while LPT123-TC171 grew normally in that condition during 9 days of salt-stress period, suggesting the more salt tolerance ability. Under the saline condition, both rice cultivar / line significantly increased in total soluble sugar, mainly sucrose, but decreased in the proportion of carbon assimilated to starch. However, the salt tolerant LPT123-TC171 showed higher sucrose/starch ratio than its original cultivar. In the salt tolerant, the transcription level of 6PF2K/F26BPase was temporarily increased after 12 hour of salt treatment, while LPT123 was found to be up-regulated after 24 hour of stress, which resulted in the increase of both 6-phosphate, 2-kinase and fructose 2,6-bisphosphatase activities. Only LPT123-TC171 showed the significant reduction of 6-phosphate, 2-kinase / fructose 2,6-bisphosphatase activity ratio after 3 days of salt treatment, leading to the significant reduction of Fru-2,6-P₂ content after 9 days in salt-stress condition. These data supported the role of Fru-2,6-P₂ reduction in partition more carbon to sucrose. This research suggested that carbon metabolism may contribute to salt-stress tolerance ability in rice. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พฤกษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38333 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.247 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.247 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanikarn_ud.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.