Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3852
Title: | การปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย : การเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนาย |
Other Titles: | Adjusting secondary school grade-point average : a comparison of predictive validity |
Authors: | สุภมาส อังศุโชติ, 2497- |
Advisors: | ศิริชัย กาญจนวาสี ศิริเดช สุชีวะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา) |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ผลการปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยวิธีปรับคะแนนเฉลี่ยสะสม 5 วิธี คือ วิธีปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมเชิงเส้นตรงตาม design IV C-2 ของ Angoff (ANGOFF-4C2) วิธีปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบภายใต้ graded response model (IRT-GRM) วิธีปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบเชิงเส้นทั่วไป (GLM-Model) วิธีปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลการวัดคอนเจนเนอริค 1 องค์ประกอบ (CON-CFA) และวิธีปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมด้วยโมเดลหลายฟาเซทของราส์ช (RASCH-FACET) และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายระหว่างวิธีปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมทั้ง 5 วิธี โดยใช้คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมหาวิทยาลัยปี 1 และปี 2 เป็นเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างในการปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ นักเรียนจำนวน 5,919 คนที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2539 จากโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีคุณภาพต่างกัน 3 ระดับในเขตกรุงเทพมหานครและภาคกลาง จำนวน 28 โรงเรียน และใช้เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐในปีการศึกษา 2540 จำนวน 1,029 คน ในการตรวจสอบความตรงเชิงทำนาย ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัย และคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมหาวิทยาลัยปี 1 และปี 2 ของผู้ที่สอบคัดเลือกผ่าน ผลสรุปของการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1. โรงเรียนที่มีระดับคุณภาพในกลุ่มเดียวกันหรือต่างกลุ่มกันมีมาตรฐานการให้คะแนนเฉลี่ยสะสมต่างกันเป็น 4 ลักษณะ คือ (1) ให้คะแนนเฉลี่ยสะสมสูงกว่าที่ควรจะเป็นในทุกช่วงคะแนนเฉลี่ยสะสม (2) ให้คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่าที่ควรจะเป็นในทุกช่วงคะแนนเฉลี่ยสะสม (3) ให้คะแนนเฉลี่ยสะสมสูงกว่าที่ควรจะเป็นในช่วงคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำแต่ให้คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่าที่ควรจะเป็นในช่วงคะแนนเฉลี่ยสะสมสูง และ (4) ให้คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่าที่ควรจะเป็นในช่วงคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำแต่ให้คะแนนเฉลี่ยสะสมสูงกว่าที่ควรจะเป็นในช่วงคะแนนเฉลี่ยสะสมสูง 2. เมื่อใช้คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมหาวิทยาลัยปี 1 และปี 2 ที่ปรับโดยใช้สมการถดถอย และที่ปรับด้วยโมเดลหลายฟาเซทของราส์ชเป็นเกณฑ์ให้ผลสอดคล้องกัน คือ ที่ระดับนัยสำคัญ .05 คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ปรับด้วยวิธีปรับ 3 วิธี คือ วิธี RASCH-FACET วิธี ANGOFF-4C2 และวิธี IRT-GRM ให้ความตรงเชิงทำนายสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเดิม และวิธี CON-CFA ให้ความตรงเชิงทำนายต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเดิม ผลที่ต่างกันคือ เมื่อใช้คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมหาวิทยาลัยปี 1และปี 2 ที่ปรับโดยใช้สมการถดถอยเป็นเกณฑ์ วิธี GLM-MODEL ให้ความตรงเชิงทำนายสูงกว่า คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเดิม แต่จะไม่แตกต่างกัน เมื่อใช้คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมหาวิทยาลัยปี 1 และปี 2 ที่ปรับด้วยโมเดลหลายฟาเซทของราส์ซเป็นเกณฑ์ ส่วนการเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายระหว่างวิธีพบว่า วิธี RASCH-FACET ให้ผลดีที่สุด รองลงมาคือวิธี ANGOGG-4C2 และ วิธี IRT-GRM ซึ่งสองวิธีนี้ให้ความตรงเชิงทำนายไม่แตกต่างกัน อันดับที่สี่ คือ วิธี GLM-MODEL และอันดับสุดท้ายคือวิธี CON-CFA |
Other Abstract: | Purposes of this research were to (1) analyze the results of the grade-point average adjustment using 5 methods namely; Angoffs linear method design IV C-2 (ANGOFF-4C2), IRT grade response model (IRT-GRM), GLM model (GLM-MODEL), one factor congeneric measurement method (CON-CFA) and many-facet Rasch model (RASCH-FACET) (2) compare the predictive validities of the adjusted GPA from the 5 methods when using university GPA in the first and the second year as criteria. The upper secondary school GPA of 5,919 students who graduated in B.E. 2539 were used as predictor. These students of 28 schools were randomly selected, under the jurisdiction of Department of General Education which were grouped into three levels pertaining to their educational quality. Entrance examination score and GPA in the first and the second year of 1,029 of these students who passed the entrance examination for public university in B.E. 2540 were used as criteria. Major findings were as follow: 1. When comparing to adjusted GPA, four types of actual GPA were found: (1) the actual GPA was higher at all ability levels, (2) lower at all ability levels (3) higher at the low ability level and lower at high ability level and (4) higher at the high ability level and lower at the low ability level. 2. When using adjusted university GPA in the first and the second year from regression equation and RASCH-FACET as criteria yielded concurrent results, that is at .05 level of significance adjusted GPA in secondary school from RASCH-FACET, ANGOFF-4C2 and IRT-GRM yielded higher predictive validity than actual GPA, while CON-CFA yielded lower predictive validity than actual GPA. It was found however, that when adjusted university GPA in the first and in the second year from regression equation were used as criteria, GLM-MODEL yielded higher predictive validity significantly at .05 level, than actual secondary school GPA. This difference was not found when adjusted university GPA in the first and the second year from RASCH-FACET were used. Adjusted GPA fromRASCH-FACET yielded the highest predictive validity, followed by ANGOFF-4C2 and IRT-GRM which were equal, and by GLM-MODEL and CON-CFA respectively |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3852 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.411 |
ISBN: | 9743470972 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.411 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
supamas.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.