Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39795
Title: การกำจัดซีโอดี และสีของน้ำกากส่าโดยการตกตะกอนด้วยสารส้มกับโพลิเมอร์และถ่านกัมมันต์
Other Titles: COD removal and decolorization distillery slop by alum with polymer an activated carbon
Authors: เพิ่มศักดิ์ กาญจนบุตร
Advisors: ธเรศ ศรีสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: อุตสาหกรรมกลั่นสุรา -- การกำจัดของเสีย
อุตสาหกรรมกลั่นสุรา -- ผลพลอยได้ -- การทำให้บริสุทธิ์
น้ำกากส่า -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การตกตะกอน
Distilling industries -- Waste disposal
Distilling industries -- By-products -- Purification
Distillery slop -- Purification -- Precipitation
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: น้ำกากส่าเป็นน้ำเสียที่ได้จากโรงงานผลิตสุราและ เอธิลอัลกอฮอล์ มีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ มีฤทธิ์เป็นกรด และมีความเข้มข้นของปริมาณสารอินทรีย์สูง ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการลด ซีโอดีของน้ำกากส่า โดยใช้สารส้มร่วมกับสารโพลีเมอร์ช่วยในการตกตะกอน และศึกษาประสิทธิภาพในการลดสีของน้ำกากส่าโดยใช้การดูดติดสีด้วยถ่านกัมมันต์ ในขั้นตอนการตกตะกอนพบว่า ปริมาณสารส้มที่เหมาะสมที่สุดในการตกตะกอนน้ำกากส่าคือ 84 กรัมต่อลิตร ที่พีเอช 10 และใช้สารโพลีเมอร์ชนิดประจุลบปริมาณ 1.2 กรัมต่อลิตรโดยประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีร้อยละ 32.23 และกำจัดสีร้อยละ 56.12 จากนั้นใช้สารส้มร่วมกับสารโพลีเมอร์ในการตกตะกอนน้ำกากส่าและใช้ถ่านกัมมันต์ดูดติดผิวพบว่า ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีมีค่าร้อยละ 58.11 และประสิทธิภาพการกำจัดสีมีค่าร้อยละ 83.45 จากการทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิว สามารถอธิบายได้ด้วยไอโซเทอมแบบแลงมัวร์ พบว่า มีค่า R[superscript 2] = 0.9972 ค่า 1/X[subscript m] เท่ากับ -0.0025 แพลทตินัม-โคบอลต์ต่อกรัมถ่านกัมมันต์ และ 1/bX[subscript m] เท่ากับ 0.3143 การทดลองแบบต่อเนื่องโดยบรรจุถ่านกัมมันต์ Filtrasorb 300 ลงในถังดูดติดผิวแบบแท่งทำการป้อนน้ำกากส่าที่ผ่านการกำจัดค่าซีโอดีจากขั้นตอนการตกตะกอนด้วยสารส้มลงไปในถังดูดติดผิวแบบแท่งโดยปล่อยให้ไหลลงแบบต่อเนื่องด้วยด้วยอัตราการไหล 0.498 ลิตรต่อชั่วโมง เก็บตัวอย่างน้ำกากส่าที่ระดับความลึกของชั้นถ่านกัมมันต์ที่ 30 60 90 และ 120 เซนติเมตร พบว่า สามารถกำจัดสีน้ำกากส่าได้ 13.94 19.92 29.88 และ 37.85 ลิตร ตามลำดับ ถึงหมดสภาพการใช้งาน
Other Abstract: Distillery slop is waste water from liquor and ethylalcohol factory. It contains brown or black molasses which composed of acid and high concentration of organic substances. The objective of this research is to study efficiency of COD removal from distillery slop using alum with polymer and decolorization by activated carbon. It found that the most suitable quantity of alum in the process for precipitation of distillery slop is 84 grams per liter at pH 10 and using negative polymer is 1.2 grams per liter, that give the efficiency of COD removal from distillery slop at 32.23% and decolorization is 56.12%. After using the optimum dose of alum with negative polymer in the process for precipitation of distillery slop and using activated carbon adsorption, the efficiency of COD removal is 58.11% and decolorization is 83.45%From testing in term of color adsorption can explain by Langmuir isoterm that R[superscript 2] = 0.9972, 1/X[subscript m] = -0.0025 platinum-cobolt per grams activated carbon and 1/bX[subscript m] = 0.3143. The continual testing using Filtrasorb 300 activated carbon in column test and put distillery slop which passed COD removal from precipitation by the optimum dose of alum and negative polymer into column with flow rate at 0.498 liter per hour. At the depth of activated cabon 30 60 90 and 120 centimeters, the decolorization of distillery slop bed volume is 13.94 19.92 29.88 and 37.85 liter at breakthrough point.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39795
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.60
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.60
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Permsak_Ka.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.