Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39916
Title: พัฒนาการทางภาษาในการเล่าเหตุการณ์เกิดพร้อมกันในภาษาไทย
Other Titles: Linguistic development of narrating simultaneous events in Thai
Authors: สรินยา ชมภูบุตร
Advisors: สุดา รังกุพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ภาษาไทย -- การใช้ภาษา
ภาษาศาสตร์
การเล่าเรื่อง
Thai language -- Usage
Linguistics
Narration (Rhetoric)
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาพัฒนาการทางภาษาในการเล่าเหตุการณ์เกิดพร้อมกันในภาษาไทยในสองประเด็นหลัก ได้แก่ (1) รูปแบบการเล่าเหตุการณ์เกิดพร้อมกัน และ (2) รูปบ่งชี้เหตุการณ์เกิดพร้อมกัน ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลการเล่าเรื่องกบ (Thai Frog Story) จากฐานข้อมูล The CHILDES ซึ่งเก็บข้อมูลการเล่าเรื่องจากภาพวาดชุด กบ เจ้าอยู่ไหน (Frog, where are you?) ในงานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลเรื่องเล่า 50 เรื่อง จากผู้เล่าเรื่องเล่า 5 กลุ่มอายุ ได้แก่ 4 ปี 6 ปี 9 ปี 11 ปี และผู้ใหญ่ กลุ่มอายุละ 10 คน จากการวิเคราะห์รูปแบบการเล่าเหตุการณ์เกิดพร้อมกัน ผลการศึกษาพบการเล่าเหตุการณ์เกิดพร้อมกันในทุกกลุ่มอายุ โดยกลุ่มผู้ใหญ่เล่าเหตุการณ์เกิดพร้อมกันจำนวนมากที่สุด การเล่าเหตุการณ์เกิดพร้อมกันสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ แบบสมบูรณ์และแบบไม่สมบูรณ์ การเล่าเหตุการณ์เกิดพร้อมกันแบบสมบูรณ์ หมายถึง การเล่าเหตุการณ์ที่ประกอบด้วยเหตุการณ์พื้นหน้าและเหตุการณ์พื้นหลัง การเล่าเหตุการณ์เกิดพร้อมกันแบบไม่สมบูรณ์ หมายถึง การเล่าเหตุการณ์ที่มีเพียงเหตุการณ์พื้นหน้าหรือเหตุการณ์พื้นหลังอย่างใดอย่างหนึ่ง การเล่าเหตุการณ์เกิดพร้อมกันแบบสมบูรณ์มีจำนวนมากที่สุดในกลุ่มผู้ใหญ่ จำนวน 35 เหตุการณ์ และมีจำนวนน้อยที่สุดในกลุ่มอายุ 6 ปี จำนวน 9 เหตุการณ์ ส่วนการเล่าเหตุการณ์เกิดพร้อมกันแบบไม่สมบูรณ์มีจำนวนมากที่สุดในกลุ่มอายุ 6 ปี จำนวน 3 เหตุการณ์ และไม่พบการเล่าเหตุการณ์เกิดพร้อมกันแบบไม่สมบูรณ์ในกลุ่มอายุ 11 ปี ในด้านการบ่งชี้เหตุการณ์เกิดพร้อมกัน พบคำบ่งชี้ 4 ประเภท คือ คำเชื่อมบอกการซ้อนเวลา คำเชื่อมแสดงเวลา คำบอกการณ์ลักษณะ และคำวิเศษณ์ การบ่งชี้เหตุการณ์เกิดพร้อมกันของผู้เล่าเรื่องกลุ่มอายุ 4 ปี และ 6 ปี มี 2 รูปแบบ ได้แก่ คำบอกการณ์ลักษณะ และคำวิเศษณ์ ส่วนกลุ่มอายุ 9 ปี 11 ปี และกลุ่มผู้ใหญ่ มี 4 รูปแบบ ได้แก่ คำเชื่อมบอกการซ้อนเวลา คำเชื่อมแสดงเวลา คำบอกการณ์ลักษณะ และคำวิเศษณ์ โดยพบว่ารูปบ่งชี้เหตุการณ์เกิดพร้อมกันมีจำนวนเพิ่มขึ้นตามกลุ่มอายุ จำนวนของรูปบ่งชี้เหตุการณ์เกิดพร้อมกันมีจำนวนน้อยที่สุดในกลุ่มอายุ 4 ปี จำนวน 3 รูป และมีจำนวนมากที่สุดในกลุ่มผู้ใหญ่ จำนวน 16 รูป ผลการศึกษาเป็นไปตามสมมติฐานที่คาดไว้ กล่าวคือ เด็กเล่าเหตุการณ์เกิดพร้อมกันแบบสมบูรณ์ในปริมาณที่น้อยกว่าผู้ใหญ่และมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นตามกลุ่มอายุ และเด็กใช้รูปแบบทางไวยากรณ์ที่บ่งชี้เหตุการณ์เกิดพร้อมกันหลากหลายน้อยกว่าผู้ใหญ่และมีพัฒนาการเพิ่มมากขึ้นตามกลุ่มอายุ อย่างไรก็ดี กรณีของกลุ่มอายุ 6 ปี มีพัฒนาการในด้านการเล่าเหตุการณ์เกิดพร้อมกันลดลง แต่มีพัฒนาการในการใช้คำบ่งชี้เหตุการณ์เกิดพร้อมกันดีขึ้น ตามที่คาดไว้ในสมมติฐาน
Other Abstract: This research aims at investigating the linguistic development of narrating simultaneous events in Thai in 2 main aspects, namely (1) types of simultaneous events and (2) markers of simultaneous events. The data are the narratives from ‘Thai Frog story’ corpus in the CHILDES database which contain narratives based the picture book Frog, where are you?. The data used in the study consist of 50 narratives from 5 age groups: 4, 6, 9, 11 years and adults, with 10 narratives per group. It is found that simultaneous events are narrated in all age groups. The number of simultaneous events told by adults is the highest among all groups while that of the 6 year olds is the lowest. Narrating simultaneous events is categorized into two types--complete and incomplete. The complete type consists of a foreground event and a background event. The incomplete type is composed of either a foreground event or a background event. Both types are found in all age groups except for the 11 year olds which do not use the incomplete type. The complete type is found highest in adults, i.e. 36 events, the lowest in the 6 year olds, i.e. 9 events. The incomplete type is found highest in the 6 year olds, i.e. 3 events. There are 4 types of linguistic devices for marking simultaneous events: subordinators of overlapping time, subordinators of time, aspect markers and adverbials. The 4 and 6 year olds use 2 types of linguistic devices for marking simultaneous events, that is, aspect markers and adverbials. The 9, 11 year olds and adult use 4 types of linguistic devices for marking simultaneous events, namely subordinators of overlapping time, subordinators of time, aspect markers and adverbials. The number of markers of the simultaneous events is the lowest in the 4 year olds i.e. 3 markers. The number of markers of the simultaneous events is highest in the adult group, i.e. 16 markers. The development of complete narrating simultaneous events increases with age. But it decreases in the 6 years old group. The development of the markers of simultaneous events increases with age. The results confirm the hypothesis that the development of narrating simultaneous events would increase with age. Children’s markers of simultaneous events are less in terms of types and markers of simultaneous events. Even though the 6 years old group has shown higher development of narrating simultaneous events, they seem to have lower development of narrating events as simultaneous ones.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39916
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.441
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.441
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarinya_Ch.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.