Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4029
Title: | การกำจัดไซยาไนด์และโลหะหนักจากน้ำเสียโรงงานชุบโลหะ โดยกระบวนการแลกเปลี่ยนไอออน : กรณีของคอลัมน์แบบแยกเรซิน |
Other Titles: | Cyanide and heavy metals removal from electroplating wastewater by ion exchange process : case of separated resin column |
Authors: | ธนกาญจน์ บุญพิทักษ์, 2524- |
Advisors: | เขมรัฐ โอสถาพันธุ์ พิชญ รัชฎาวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected], [email protected] |
Subjects: | น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดไซยาไนด์ น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า การแลกเปลี่ยนไอออน เรซินแลกเปลี่ยนไอออน |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการกำจัดไชยาไนด์และโลหะหนักในน้ำเสีย โรงงานชุบโลหะขนาดกลางและขนาดเล็กด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนไอออน โดยเลือกใช้เรซินแลกเปลี่ยนไอออนบวกและไอออนลบ ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด นำมาทดลองกับน้ำเสียสังเคราะห์ไชยาไนด์อย่างเดียว และไชยาไนด์ผสมโลหะหนักได้แก่ น้ำเสียสังเคราะห์ไชยาไนด์ผสมโครเมียม ไชยาไนด์ผสมทองแดง ไชยาไนด์ผสมนิกเกิล ไชยาไนด์ผสมสังกะสี และไชยาไนด์ผสมโลหะรวม 4 ชนิด ที่พีเอช 10 และ 12 เพื่อศึกษาพีเอชที่เหมาะสมในการกำจัดไชยไนด์และโลหะหนัก ผลการทดลองแบบแบตช์พบว่า เรซินแลกเปลี่ยนไอออนลบ IRA 402 CI ปริมาตร 0.15 ลิตรเรซินต่อลิตรน้ำ สามารถกำจัดไซยาไนด์ ในน้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์อย่างเดียวความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้มากกว่า 94% และในน้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์ผสมโลหะหนัก สามารถกำจัดไซยาไนด์และโลหะหนัก ได้มากกว่า 91% และ 96% ตามลำดับ โดยที่พีเอชของน้ำเสียและประเภทของโลหะหนักที่ผสมอยู่ในน้ำเสีย ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของการกำจัดไซยาไนด์และโลหะหนัก ส่วนเรซินแลกเปลี่ยนไอออนบวก IR 120 Na สามารถกำจัดไซยาไนด์และโลหะหนักในน้ำเสียสังเคราะห์ ไซยาไนด์ผสมโลหะหนักได้ 1.5% และ 3% ตามลำดับ สำหรับผลการทดลองแบบคอลัมน์พบว่า น้ำเสียที่ไหลผ่านชุดคอลัมน์เรซินแลกเปลี่ยนไออนบวก ไม่สามาถกำจัดได้ทั้งไซยาไนด์และโลหะหนัก ดังนั้นในการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์อย่างเดียว และไซยาไนด์ผสมโลหะหนัก ควรใช้ชุดคอลัมน์เรซินแลกเปลี่ยนไอออนลบ ประเภทของโลหะหนักที่ผสมอยู่ในน้ำเสีย มีผลต่อค่าความจุของเรซินในการกำจัดไซยาไนด์ ทำให้มีค่าความจุของเรซิน น้อยกว่าน้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์อย่างเดียว และเมื่อนำชุดคอลัมน์เรซินแลกเปลี่ยนไอออนลบ ไปประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์ และไซยาไนด์ผสมโลหะหนัก ให้มีค่าไม่เกินมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง พบว่า น้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์อย่างเดียว ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถบำบัดได้ถึง 50 BV (ปริมาตรของคอลัมน์) สำหรับน้ำเสียสังเคราะห์ไซยาไนด์ผสมโครเมียม ไซยาไนด์ผสมทองแดง ไซยาไนด์ผสมนิกเกิด สามารถบำบัดได้ 40 BV ส่วนไซยาไนด์ผสมสังกะสี ไซยาไนด์ผสมโลหะรวม 4 ชนิด สามารถบำบัดได้ 60 และ 110 BV ตามลำดับ |
Other Abstract: | To study the removal of cyanide and heavy metals from typical small and medium electroplating industries wastewater by ion exchange process. Typical cation and anion exchange resins were used. Batch and column experiments were performed on synthetic wastewater (cyanide, cyanide and chromium, cycanide and copper, cyanide and nickel, cyanide and zinc and cyanide and 4 heavy metals) at pH of 10 and 12 to investigate the removal efficiency. In batch experiment, the removal efficiency of 0.15 l-resin/water anion resin IRA 402 CI for removing 200 mg/I of cyanide was more than 94%. For the mixture of cyanide and heavy metals, this resin removed at least 91% and 96% of cyanide and heavy metals, respectively. the compared results of pH 10 and 12 showed no significant differences for the removal efficiency. The cation resin IR 120 Na removed up to 1.5 and 3 percent for cyanide and heavy metals, respectively. For column experiment, it was also found that anion resin should be adequate for removal of cyanide and heavymetals in synthetic wastewater at pH 12 and 12. Different type of heavy metals showed variations on the resin capacity. The bed volumes to reach the cyanide discharge standard were 50 bed volumes for 200 mg/I of cyanide wastewater. For the mixture of cyanide and chromium, mixture of cyanide and copper, and mixture of cyanide and nickel the bed volumes to reach cyanide discharge standards were similary at 40 bed volumes. For the mixture of cyanide and zinc and 4 heavy metals, they were 60 and 110 bed volumes, respectively |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4029 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.60 |
ISBN: | 9741751109 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.60 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
tanakan.pdf | 2.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.