Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40636
Title: | ประสบการณ์การจัดการสาธารณภัยของพยาบาลวิชาชีพในเหตุการณ์สินามิ |
Other Titles: | The experiences of professional nurses in disaster management during Tsunami |
Authors: | ปรารถนา ยามานนท์ |
Advisors: | อารีย์วรรณ อ่วมตานี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การพยาบาลฉุกเฉิน การพยาบาลสาธารณภัย ภัยพิบัติ สึนามิ -- ไทย (ภาคใต้) Emergency nursing Disaster nursing Disasters Tsunamis -- Thailand, Southern |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและประสบการณ์การจัดการ สาธารณภัยของพยาบาลวิชาชีพในเหตุการณ์สึนามิ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl ผู้ให้ข้อมูลคือพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การจัดการสาธารณภัยในเหตุการณ์สึนามิในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งของจังหวัดพังงาจำนวน 19 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการบันทึกภาคสนามเกี่ยวกับประสบการณ์ ความคิด ความรู้สึกของผู้ให้ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำและวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ Colaizzi ผลการวิจัยพบว่าพยาบาลวิชาชีพให้ความหมายของการจัดการสาธารณภัยในเหตุการณ์สึนามิ โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็นได้แก่ 1) การดำเนินการตามแผนอุบัติภัยหมู่เดิม และ 2) การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และประสบการณ์การจัดการสาธารณภัยของพยาบาลวิชาชีพในเหตุการณ์สึนามิแบ่งเป็น 3 ประเด็นหลักได้แก่ ประเด็นที่ 1) การจัดการสาธารณภัยของพยาบาลวิชาชีพ แบ่งเป็น 8 ประเด็นย่อย คือ 1.1) คัดกรองไม่ทันเพราะคนไข้มาเป็นพัน 1.2) การจัดการไม่เป็นระบบ ขาดการประสานการส่งต่อผู้ป่วย 1.3) ข้อมูลสับสนอลหม่าน 1.4) คนทำงานจนหมดแรง แจ้งโรงพยาบาลอื่นมาช่วย 1.5) เครื่องมือไม่พอ ต้องขอจากโรงพยาบาลอื่น 1.6) หลายพวกหลายกลุ่ม ประชุมกันแก้ไข 1.7) มีอะไรใช้ไปก่อน 1.8) ระบบสื่อสารล่ม ระดมล่ามช่วยแปล ประเด็นที่ 2) การจัดการกับอารมณ์ของพยาบาลวิชาชีพ แบ่งเป็น 3 ประเด็นย่อย คือ 2.1) หน้าที่มาก่อน เรื่องอื่นไว้ทีหลัง 2.2) กลัว แต่ทิ้งคนไข้ไม่ได้ 2.3) ข่มใจ สงสาร ทำงานจนหมดแรง ประเด็นที่ 3) ผลที่ได้จากการจัดการสาธารณภัย แบ่งเป็น 2 ประเด็นย่อย คือ 3.1) ช่วยคนอื่นจนลืมเรื่องตนเอง 3.2) ประทับใจในการร่วมใจกันทำงาน ไม่ทอดทิ้งกันยามภัยมา |
Other Abstract: | The purpose of this qualitative study was to explore the disaster management meaning and the experiences of professional nurses during Tsunami. The Husserl phenomenological approach was employed in this study. Study participants were selected by using purposive sampling from a general hospital in Pangya. Nineteen professional nurses were willing to participate in this study. In-depth interview with tape-record was used to collect data. All interviews were transcribed verbatim and analyzed by using content analysis of Colaizzi. The study findings showed substantial theme of the disaster management meaning consisting of 2 categories: 1) performing with routine disaster management plan; and 2) solving an emergent problem. According to content analysis, the experiences of professional nurses during Tsunami were emerged into 3 categories as follows: Category 1: Managing disaster including: 1.1 Overload of victim screening 1.2 Lack of coordination in referral 1.3 Messy documentation 1.4 Tiring staff need more help 1.5 Insufficient medical equipments, must ask from other hospitals 1.6 Being conflict 1.7 Using all materials in hand, no time for cleaning 1.8 Failure of communication, requesting translators Category 2: Managing emotion including: 2.1 Responsibility comes first 2.2 Fearful whereas cannot leave patients 2.3 Controlling the mind, pity, working until exhausted Category 3: Managing disaster results including: 3.1 Concerning others rather than oneself 3.2 Impressing in teamwork |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40636 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.458 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.458 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pratana_Ya.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.