Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4125
Title: | การบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยนอกภาวะโคเลสเตอรอลสูง ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า |
Other Titles: | Pharmaceutical care for hypercholesterolemia outpatients at Somdetphraphuttalerrtla Hospital |
Authors: | อัชรยา สำเภาเงิน, 2513- |
Advisors: | นารัต เกษตรทัต ขวัญใจ พงษ์สวัสดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | โคเลสเตอรอล การบริบาลผู้ใช้ยา ผู้ป่วย -- การดูแล เภสัชกรรมโรงพยาบาล |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยนอกภาวะโคเลสเตอรอลสูง ซึ่งได้รับยาลดระดับไขมันในเลือด โดยพิจารณาจากผลการควบคุมระดับแอล-ดี-แอลโคเลสเตอรอลของผู้ป่วย การป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วย และความรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะโคเลสเตอรอลสูง ตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้ป่วยนอกที่ไม่สามารถควบคุมระดับแอล-ดี-แอลโคเลสเตอรอลได้ตามเกณฑ์ของ NCEP ATP II จำนวน 42 คน แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษา กลุ่มละ 21 คน เกณฑ์การจับคู่ ได้แก่ เพศ ชนิดผู้ป่วย (จำแนกจากโรคหัวใจโคโรนารีและจำนวนปัจจัยเสี่ยง) และระดับแอล-ดี-แอลโคเลสเตอรอล เภสัชกรจะให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยกลุ่มศึกษาเดือนละครั้ง ในระยะ 3 เดือนแรก จะให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโคเลสเตอรอลสูง ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาด้วยการควบคุมอาหาร การควบคุมน้ำหนักตัว การออกกำลังกาย และให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ยาในระยะ 3 เดือนหลัง จะเพิ่มการประเมินผลการรักษา และปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนแผนการบำบัดรักษาด้วยยาลดระดับไขมันในเลือด เปรียบเทียบผลการศึกษากับกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมหลังดำเนินการในเดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 ผลการวิจัยพบว่าระดับแอล-ดี-แอลโคเลสเตอรอลของผู้ป่วยกลุ่มศึกษาที่เดือนที่ 3 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับเดือนที่ 0 และกลุ่มควบคุม แต่ที่เดือนที่ 6 ไม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการป้องกันและแก้ไขปัญหาพบว่าผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการควบคุมอาหารเพิ่มขึ้นที่เดือนที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่เดือนที่ 6 (p>0.05) ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นที่เดือนที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่เดือนที่ 6 (p<0.05) ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการควบคุมน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งที่เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 (p>0.05) ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรับประทานยาเพิ่มขึ้นที่เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการวัดความรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะโคเลสเตอรอลสูงพบว่าผู้ป่วยกลุ่มศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นที่เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับเดือนที่ 0 และกลุ่มควบคุม ผลการวิจัยสรุปได้ว่าการบริบาลทางเภสัชกรรมสามารถช่วยให้ผู้ป่วยลดระดับแอล-ดี-แอลโคเลสเตอรอลลงได้ ป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วยได้ ทำให้ผู้ป่วยเพิ่มความร่วมมือในการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการรับประทานยาได้มากขึ้น ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับภาวะโคเลสเตอรอลสูงเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มบทบาทของเภสัชกรในการปฏิบัติงานร่วมกับทีมบคลากรทางการแพทย์ |
Other Abstract: | The objective of this research was to study outcome of the provision of pharmaceutical care service to hypercholesterolemia outpatients. The outcome was determined by LDL-cholesterol level, problem resolving and prevention, and patient's knowledge on hypercholesterolemia. Forty-two patients who were not able to control LDL-cholesterol level according to NCEP ATP II guideline were participated in this study. They were divided into 2 groups, each of 21 members, matched by sex, type of illness and LDL-cholesterol level. In the first three months, patients in the study group were received pharmaceutical care services, provided by pharmacists, including education on hypercholesterolemia, counselling on dietary control, exercises as well as medication use. In the latter three months, evaluation of treatment outcome and physician consultation for dose adjustment were added to the services. After the period of 3 months and 6 months, outcome of the two groups was compared. Results from the study show that after the3-month services, LDL-cholesterol level of the study group decreases significantly (p<0.05) when compared with baseline level and control group but does not significantly decrease after the 6-month services. In the first three months, significant improvement is found in dietary control (p<0.05) but is not found in the latter three months. Conversely, significant increasing of exercises is found in the sixth month (p<0.05) but is not found in the third month. Although patients in the study group cannot comply with the weight control after 3 and 6 month period (p>0.05), they can significantly comply with the medication use (p<0.05) in the same period. Provision of pharmaceutical care can significantly improve patient's knowledge (p<0.05) at 3- and 6-month services. Results from this study can be concluded that pharmaceutical care servicer can help patients lowering their LDL-cholesterol level, resolving and preventing problems, increasing patient's compliance in dietary control, exercises, medication uses as well as patient's knowledge. Finally, it can increase pharmacist's role in health care team. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4125 |
ISBN: | 9743347631 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
acharaya.pdf | 6.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.