Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4175
Title: การวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีการแทนที่ในพร็อกซีแคช
Other Titles: Comparative performance analysis of proxy caching replacement algorithms
Authors: พรทวี วัฒนวิทูกูร
Advisors: ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
Subjects: เวิลด์ไวด์เว็บ
พร็อกซีแคช
เว็บเซิร์ฟเวอร์
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปริมาณความต้องการใช้เว็บที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก้ปัญหาโดยการเพิ่มแบนด์วิดท์ในการเชื่อมต่อสู่อินเทอร์เน็ต งานวิจัยที่ผ่านมาได้เสนอการแก้ไขขั้นตอนวิธีการแทนที่หลายวิธีเพื่อที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของพร็อกซี ทั้งนี้การทดสอบที่ผ่านมาไม่ได้พิจารณาถึงช่วงเวลาในการใช้เว็บความจุของพร็อกซีแคชและผลกระทบของสภาพการใช้เว็บ ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีการแทนที่ในพร็อกซีแคช ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีการแทนที่ที่ได้ศึกษามาแล้วในงานวิจัยที่ผ่านมากับข้อมูลการใช้เว็บที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศึกษาแนวโน้มความสัมพันธ์ของสภาพการใช้เว็บกับประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีการแทนที่ในพร็อกซีแคช การทดสอบใช้วิธีการจำลองการทำงานของพร็อกซีแคชเป็นเครื่องมือในการประเมินขั้นตอนวิธีการแทนที่แบบต่างๆ โดยใช้ข้อมูลการใช้เว็บจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาประสิทธิภาพของขั้นตอนการแทนที่ รวมทั้งพิจารณาแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการใช้เว็บและประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีการแทนที่ผลการจำลองการทำงานของพร็อกซีแคชพบว่า ขั้นตอนวิธีการแทนที่ที่เหมาะสมกับสภาพการใช้เว็บช่วงเวลาที่มีการใช้เว็บมากและช่วงเวลาที่มีการใช้เว็บน้อยคือ ขั้นตอนการแทนที่แบบเดียวกันได้แก่ LRU-MIN สำหรับพร็อกซีแคชที่มีความจุน้อยและ SIZE สำหรับพร็อกซีแคชที่มีความจุมากในกรณีที่ใช้ค่าฮิตเรโชเป็นเครื่องวัด กรณีที่ใช้ค่าไบท์ฮิตเรโชเป็นเครื่องวัดพบว่า LRU-TH และ Perfect-LFU เป็นขั้นตอนวิธีการแทนที่ที่เหมาะสมกับพร็อกซีแคชที่มีความจุน้อย ส่วน LRU และ LRU-MIN เป็นขั้นตอนวิธีการแทนที่ที่เหมาะสมกับพร็อกซีแคชที่มีความจุมาก ดังนั้นการพิจารณาเลือกใช้ขั้นตอนวิธีการแทนที่ให้เหมาะสมกับสภาพการใช้เว็บขึ้นกับการเลือกเครื่องวัดประสิทธิภาพที่เหมาะสมสำหรับพร็อกซีแคช สำหรับสภาพการใช้เว็บของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งต้องการลดปริมาณในการถ่ายโอนข้อมูลจากภายนอก เนื่องจากแบนด์วิดท์ออกสู่อินเทอร์เน็ตไม่เพียงพอ การพิจารณาปรับปรุงความต้องการใช้แบนด์วิดท์เพื่อรับข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการเลือกใช้ค่าไบท์ฮิตเรโชเป็นเครื่องวัดจึงเหมาะสมที่สุดสำหรับสภาพการใช้เว็บของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Abstract: Due to the rapidly increasing of web access demand in last 2 to 3 years, many Internet service providers decided to increase the bandwidth of their Internet links. Recent studies suggested several approaches to modify replacement algorithms to further improve the effectiveness of the proxies. However the period of web access time, cache size and the impact of web access condition have not been taken into consideration. The preliminary study show the high impact of period of web access time to proxy caching performance. In this study we present the comparative performance analysis of proxy caching replacement algorithms and the trend of relationship between web access conditions and replacement algorithms performance using web access condition at Chulalongkorn University. In our experiment, the proxy caching simulation is used as a tool to evaluate various replacement algorithms using traces from Information Technology Chulalongkorn University. In addition we study the trend of relationship between web access condition and replacement algorithm performance. Our studies indicate that, using hit ratio as a metric, LRU-MIN outperforms others for small cache size while size is considered the best for large cache size. When we consider byte hit ratio, LRU-TH and Perfect-LFU are the best algorithms for small cache size while LRU and LRU-MIN are the best algorithms for large cache size. As the result, selecting suitable replacement algorithm for the web access condition depends on choosing appropriate performance metric for proxy cache. For web access condition at Chulalongkorn University, which has limited bandwidth to the Internet, optimizing the bandwidth requirement of incomming data transfer is the most important goal. Thus, using byte hit ratio as a metric is appropriate under this circumstance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4175
ISBN: 9743340769
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
porntavee.pdf8.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.