Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/418
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อำไพ ตีรณสาร | - |
dc.contributor.author | เอกรัฐ งามจินดาสกุล, 2517- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-06-21T04:39:48Z | - |
dc.date.available | 2006-06-21T04:39:48Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741756437 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/418 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการวาดภาพกลับหัวที่มีต่อลักษณะการแสดงออกในการวาดภาพของเด็กอายุ 10-11 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุ 10-11 ปี จากโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 218 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ภาพต้นแบบของ Picasso ชื่อภาพ “Stravinsky”และแบบคำสั่งในการวาดภาพ 2) แบบประเมินลักษณะการแสดงออกในภาพวาด 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกขณะวาดภาพ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการทดสอบสมมติฐานจากค่าคะแนน t (ttest dependent) ค่ามัชฌิมเลขคณิต ([Mean]) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการแสดงออกในการวาดภาพกลับหัวภาพสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการแสดงอออกในการวาดแต่ละด้าน พบว่า การวาดภาพกลับหัวมีลักษณะการแสดงออกในการวาดเส้น สัดส่วน และรายละเอียดสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายละเอียดของการแสดงออกที่พบมากที่สุดในแต่ละด้านในภาพวาดกลับหัว พบว่า 1) ด้านการวาดเส้น คือ เทคนิค รูปแบบ 2) ด้านการวาดสัดส่วน คือ แขนและนิ้วมือ 3) ด้านการวาดรายละเอียด คือ เครื่องแต่งกาย หัวเข่า และข้อศอก จากการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกในขณะวาดภาพกลับหัว พบว่า 1) ด้านทักษะการทำงานของเด็กอายุ 10-11 ปีนั้น เกินครึ่งของจำนวนเด็กทั้งหมดมีความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมการวาดภาพได้อย่างคล่องแคล่ว และเกินครึ่งของจำนวนเด็กทั้งหมดมีการนำกระดาษขึ้นมาปิดบางส่วนของภาพต้นแบบ 2) ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจากการวาดภาพกลับหัว พบว่า เด็กบางส่วนมีการสนทนา เปรียบเทียบ และวิพากษ์วิจารณ์ผลงานระหว่างของตนเอง และของเพื่อน ซึ่งเด็กจะมีการพูดถึงส่วนต่าง ๆ ที่วาดลงไปว่ามีความเหมือน หรือมีความแตกต่างกันอย่างไร ด้านการใช้เวลาในการปฏิบัติงาน พบว่า เด็กส่วนใหญ่สามารถควบคุมระยะเวลาในการวาดภาพให้เสร็จทันภายในเวลาที่กำหนด จากการแสดงความคิดเห็นของเด็กเกี่ยวกับการวาดภาพกลับ พบว่า ส่วนมือและนิ้วมือ เป็นส่วนที่วาดยากที่สุด และ ส่วนที่วาดง่ายที่สุดคือ ส่วนแขน และขา วิธีการที่เด็กใช้ในการวาดภาพกลับหัว คือ วาดเส้นโดยเชื่อมโยงจากเส้นหนึ่งไปสู่อีกเส้นหนึ่งให้มีความสัมพันธ์กันไปเรื่อยๆ และในการวาดภาพทั้ง 2 ครั้ง พบว่า เกินครึ่งของเด็กทั้งหมดแสดงความคิดเห็นว่า การวาดภาพกลับหัวนั้นเป็นวิธีการวาดที่ยากที่สุด และเด็กส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ต้องใช้สมาธิหรือความตั้งใจในการวาดภาพกลับหัวมากขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า เด็กเกือบทั้งหมดมีการนำยางลบขึ้นมาใช้ขณะวาดภาพ เนื่องมาจากความรู้สึกของเด็กเองที่ไม่พึงพอใจในบางส่วนทีวาดออกมา และต้องการวาดใหม่เพื่อให้ภาพที่วาดเป็นไปตามที่เด็กคาดหวังเอาไว้ | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the effects of upside down drawing on characteristics of drawing expression of children age 10-11 years. The samples used in this research were randomized by using multi-stage random method which included 218 children age 10-11 years from Bangkok Metropolis. The research instruments were 1) The reproduced drawing picture of Picasso: "Stravinsky" with explanation forms, 2) Drawing expression characteristics assessment form, 3) Behavior observation form, and 4) A set of questionnaires. The collected data were analyzed by using t- test dependent, arithmetic mean, standard deviation, frequency and percentage. The research findings revealed that the characteristics of upside down drawing expression, significantly increased at .05 levels. As comparing the characteristics of drawing expression of line, proportion and detail, significantly increased at .05 levels as well. When the detail in drawing were analyzed, the results revealed the mostly founded in each aspects were 1) Drawing Line was technique-style, 2) Drawing proportion were arms and fingers, 3) Drawing detailed were dressed, knees and elbows. In observation of children's behavior on upside down drawing found that 1) Children's working process: more than half of children had ability to draw fluently and preferred to cover reproduced drawing with another piece of paper, 2) The relationship with others: some children had discussed, compared and made comment about how similarities or differences on their drawing, 3) Working time duration: most children had ability to control and finish their drawing within time. In children's opinion of upside down drawing: hand and fingers were the most difficult parts to draw, but legs and arms were the easiest parts to draw. The method of upside down drawing, children drew by moving from line to adjacent line and most children thought that upside down drawing was the most difficult to draw and had to pay more concentrate. Moreover, there was the other observation in that almost all of the children were using eraser while drawing because they did not satisfy with their drawing and they wanted to redraw in order to meet on their drawing expectation. | en |
dc.format.extent | 2822513 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.res.2003.31 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ศิลปศึกษา--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) | en |
dc.subject | การแสดงออกในเด็ก | en |
dc.subject | การวาดเส้น | en |
dc.subject | ศิลปะกับเด็ก | en |
dc.subject | ศิลปกรรมของเด็ก | en |
dc.title | ผลการวาดภาพกลับหัวที่มีต่อลักษณะการแสดงออกในการวาดภาพของเด็กอายุ 10-11 ปี | en |
dc.title.alternative | Effects of upside down drawing on characteristics of drawing expression of children age ten to eleven years | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | ศิลปศึกษา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.res.2003.31 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ekkarat.pdf | 2.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.