Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42407
Title: แนวทางการบริหารโครงการปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ : กรณีศึกษา 5 โครงการ ในช่วงปี พ.ศ.2548-พ.ศ. 2556
Other Titles: Project management guidelines for crown property bureau renovated conservation building : 5 case studies during 2005-2013
Authors: รงรอง พุทธาวงศ์
Advisors: ไตรวัฒน์ วิรยศิริ
พร วิรุฬห์รักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
โครงการก่อสร้าง -- การจัดการ
อาคาร -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
Crown Property Bureau
Construction projects -- Management
Buildings -- Maintenance
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารจำนวนมาก บนพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ มีทั้งอาคารที่ขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากรและยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ปัจจุบันยังมีการใช้งานอาคารอยู่อย่างหลากหลาย แต่ด้วยสภาพอาคารที่ทรุดโทรม จึงมีนโยบายปรับปรุงฟื้นฟูอาคารให้ดีขึ้นเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ วัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาการบริหารจัดการโครงการปรับปรุงฟื้นฟูอาคารอนุรักษ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยศึกษาจากลักษณะทางกายภาพ ขั้นตอนการบริหาร และขั้นตอนการดำเนินโครงการ เพื่อให้เข้าใจปัญหาและปัจจัยที่เกิดขึ้นของโครงการปรับปรุงอาคารที่ผ่านมาของสำนักงานทรัพย์สินฯ 5 โครงการ โดยจำแนกโครงการตามลักษณะการดำเนินโครงการได้ 3 ประเภท คือ โครงการที่ปรับปรุงอาคารตามสภาพเฉพาะภายนอกอาคาร คืออาคารแพร่งนราและแพร่งภูธร และอาคารตลาดนางเลิ้ง โครงการที่ปรับปรุงฟื้นฟูอาคารได้สำเร็จ คือ อาคาร 9 ห้องถนนพระอาทิตย์ อาคาร 29 ห้องถนนหน้าพระลาน และโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงฟื้นฟู คือ อาคารท่าเตียนที่มีลักษณะอาคารซับซ้อน และมีปัญหาอุปสรรคในการปรับปรุง เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารโครงการที่เหมาะสมกับอาคารอนุรักษ์ และนำไปใช้เป็นแนวทางการบริหารให้โครงการที่มีลักษณะเดียวกัน ด้วยวิธีการศึกษาข้อมูลจากการสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง และศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการศึกษาได้ว่าอาคารในกรณีศึกษามีลักษณะทางกายภาพ และขั้นตอนการดำเนินโครงการที่แตกต่างกัน โดยนำหลักการบริหารมาแก้ไขปัญหาที่พบในการบริหารโครงการต่อไป แต่ทุกกรณีศึกษากำหนดกรอบระยะเวลาโครงการตามปีงบประมาณที่เหมือนกัน ทำให้การดำเนินโครงการขาดความยืดหยุ่น ขาดคุณภาพ พบปัญหาด้านการกำหนดเป้าหมาย และขอบเขตงานไม่ครอบคลุมการทำงานทุกขั้นตอน ด้านการจัดทีมงาน บุคลากรขาดทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ ด้านการบริหารจัดการโยกย้ายคนในอาคาร ด้านการประสานงานการมีส่วนร่วม ด้านการขออนุญาต ด้านการควบคุมเวลา งบประมาณ และคุณภาพ จากปัญหาและปัจจัยดังกล่าว สามารถจำแนกรูปแบบการบริหารโครงการได้เป็นลักษณะการซ่อมแซมอาคาร และลักษณะการปรับปรุงฟื้นฟูอาคาร จึงเสนอแนะแนวทางการดำเนินโครงการจากวิธีการแก้ไขปัญหาโครงการที่ผ่านมาที่ต้องนำหลักการบริหารโครงการด้านการวางแผน การจัดทีมงาน การอำนวยการ การควบคุมมาใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะกายภาพอาคาร และแนวทางการปรับปรุง และสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์กับโครงการอื่นที่มีลักษณะเดียวกันได้
Other Abstract: The Crown Property Bureau is the land and building owner in an historic important area. There are listed conservation buildings of the Fine Arts Department and that have not been listed. At present the building is used in a variety of ways. However, the building’s poor conditions also have resulted in a policy to renovate the building better to maximize the potential of the area. The objective is to study the project management for The Crown Property Bureau renovated conservation building. To study the physical aspects, management process and implementation process so as to understand the problems and factors of the five previous renovated building projects for Crown Property Bureau. The project can be classified as implementation into three types: The renovated building’s only exterior projects are Prang Nara, Prang Poothon and Nang Loeng market. The rehabilitation building’s projects are a nine room building on Phra Arthit Road and a twenty nine room building on Na Phra Lan Road. And the rehabilitation building project in progress is Tha-Tien building, which is complicated and has barriers to improvement. Suggested guidelines for appropriate conservation building projects are to be used as the same project management utilizing the information from the survey, observation and interviewing those involved. Further, also using a study of research papers. The study concluded that the case studies have different physical and implementation processes. As a result, use management theory should be used to solve problems in management on the next project. In all case studies, the time frame is set by the same fiscal year. It makes time management does lack flexibility as well as, quality and discovered problems in making the targets as well as the scope of work not covering the entire process. The organization is lacking skill, knowledge and experience. The problems of moving out people from building management, communication, participation management and permit. Time, cost and quality control aspects of the problem and the above mentioned factors. Management can be classified as a renovation of the building project and the rehabilitation of the building. It is proposed to implement solutions to the project management, planning, organizing, directing and controlling so as to make the physical building suitable and guidelines to renovated building can be useful to other projects with the same type.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42407
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1014
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1014
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rongrawng_bu.pdf4.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.