Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4257
Title: | ประสิทธิภาพและพฤติกรรมการรวมตัวในอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ของประเทศไทย : ศึกษาทางด้านต้นทุน |
Other Titles: | Efficiency and behaviour of bank merger in Thailand : cost structure approach |
Authors: | ธนวิทย์ สุทธรัตนกุล |
Advisors: | โสตถิธร มัลลิกะมาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ประสิทธิภาพของทุน -- ธนาคารพาณิชย์ การรวมกิจการธนาคาร การประหยัดจากขนาด ธนาคารพาณิชย์ วิกฤตการณ์การเงิน |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวัดผลกระทบที่มีต่อต้นทุนรวมของธนาคารพาณิชย์ไทยจากการจำลองการรวมกิจการของคู่ธนาคารพาณิชย์ ทั้งในด้านของความสามารถในการตัดลดต้นทุนจากการยุบรวมสาขา และประสิทธิภาพจากขนาดและขอบเขตภายหลังการรวมกิจการ โดยใช้วิธีการทางเศรษฐมิติในการประมาณการสมการต้นทุนของอุตสาหกรรมธนาคารไทยในรูป Translog ด้วยข้อมูลรายไตรมาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ถึง 2540 ทั้งนี้มีข้อสมมติฐานที่สำคัญคือผลกระทบที่มีต่อต้นทุนนั้นเกิดขึ้นจากการตัดลดสาขาที่ซ้อนทับกัน (ซึ่งพิจารณาความซ้ำซ้อนของสาขาในระดับตำบล) รวมไปถึงประสิทธิภาพจากขนาดที่เพิ่มขึ้นภายหลังการรวมกิจการ ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการจำลองการรวมกิจการ ทุกธนาคารมีการประหยัดต่อขนาดทั้งสิ้นโดยธนาคารศรีนครมีการประหยัดต่อขนาดโดยรวมมากที่สุด ในขณะที่ธนาคารนครธน มีการประหยัดต่อขนาดโดยรวมน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามไม่พบประสิทธิภาพจากการขยายขอบเขตการผลิตในทุกคู่ผลผลิต (เงินกู้ยืม, เงินลงทุนในหลักทรัพย์ และรายได้จากค่าธรรมเนียม) สำหรับภายหลังการจำลองการรวมกิจการนั้น โดยเฉลี่ยแล้วในการรวมกิจการของคู่ธนาคารพาณิชย์ไทยสามารถที่จะตัดลดสาขาลงได้ประมาณร้อยละ 19.71 ในขณะที่ต้นทุนรวมสามารถลดลงได้ประมาณร้อยละ 11.86 โดยเฉลี่ย ทั้งนี้คู่การรวมกิจการที่สามารถตัดลดต้นทุนลงได้มากที่สุดได้แก่คู่ของธนาคารทหารไทยกับธนาคารศรีนคร ในขณะที่คู่ของธนาคารกรุงเทพกับธนาคารเอเชียกลับมีการเปลี่ยนแปลงต้นทุนในทางที่เพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาในด้านของขนาดที่รวมกิจการกันนั้น พบว่าการรวมกิจการระหว่างธนาคารขนาดใหญ่ด้วยกันสามารถตัดลดต้นทุนลงได้มากที่สุดโดยเฉลี่ย ในส่วนของประสิทธิภาพขนาดนั้น ภายหลังการจำลองการรวมกิจการ ในทุกคู่ของการรวมกิจการได้ประโยชน์จากขนาดที่ใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ด้วยกัน หรือธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง มีค่าประสิทธิภาพจากขนาดที่ดีขึ้นก่อนการรวมกิจการ คือได้ค่าประสิทธิภาพ จากขนาดเท่ากับ 0.7857และ 0.7719 ตามลำดับ กล่าวโดยสรุปแล้วแนวทางในการรวมกิจการของธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น เมื่อมองในแง่ของการตัวลดต้นทุนและประสิทธิภาพจากขนาดแล้ว สามารถที่จะเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขและปรับโครงสร้างของธนาคารเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคตได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามควรที่จะนำเอาปัจจัยในการกำหนดต้นทุนอื่นๆ เช่น โครงสร้างหนี้ รายละเอียดสาขา รูปแบบการบริหารจัดการ เป็นต้น มาประกอบในการพิจารณาเพิ่มเติมด้วย |
Other Abstract: | The main objective of this study is to find the impact on cost reduction from simulated commercial bank merger as the result of abolishing redundant branches and exploiting economy of scale and scope. We estimate a translog cost function of the Thai bank industry by using seemingly unrelated regression (SUR) technique with quarterly paneled data from 1994 to 1997. We find that, before the simulated merger, there is economy of scale for all Thai banks. Bangkok Metropolitan Bank has the most scale advantage, while Nakornthon Bank has the least scale advantage. However, there is no efficiencies on scope in any paired output; loans, investment, and fee. After simulating merger, the cost could potentially be reduced by 11.86% on average whereas branch-overlapping is about 19.71%. In addition, the maximum cost reduction at 31.47% is the merging between Thai Military Bank and Bangkok Metropolitan Bank. On the other hand, the pairs of Bangkok Bank and Bank of Asia are found to increase their cost after merger by 1.38%. Furthermore, it shows that the group of large banks gain the most from mergers. On economies of scale, all paired banks can also gain more efficient from the bigger size, particularly among large and medium banks group. As the result, the merger may be one of the appropriate way to restructure the Thai financial industry in order to improve competitiveness. However, it should be noted that the other factors such as the characteristic of each bank branch, debt structure, and other fixed costs should be taken into account for more realist result. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4257 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.385 |
ISBN: | 9743338497 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1999.385 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanawit.pdf | 7.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.