Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/426
Title: การพัฒนาแบบวัดประเภทบุคคลตามตัวบ่งชี้ของ ไมเออร์ บริกส์ ฟอร์ม เอ็ม (ภาษาไทย) สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: A development of a type of person inventory based on the Myers Briggs Type indicator form M (Thai version) for upper secondary school students
Authors: ศิริกัญญา ปัณฑิตานนท์, 2523-
Advisors: พวงแก้ว ปุณยกนก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การทดสอบบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพ
นักเรียนมัธยมศึกษา
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบวัดประเภทบุคคลตามตัวบ่งชี้ของไมเออร์ บริกส์ ฟอร์ม เอ็ม (ภาษาไทย) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการแปลแบบวัดจากฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยด้วยเทคนิค Back Translation กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มหลายขั้น ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และค่าความเที่ยงแบบ แบ่งครึ่งข้อสอบ ความเที่ยงแบบความคงที่โดยวิธีสอบซ้ำ ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคะแนนระหว่างแบบวัดประเภทบุคคลตามตัวบ่งชี้ของ ไมเออร์ บริกส์ ฟอร์ม เอ็ม (ภาษาไทย) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับแบบวัดบุคลิกภาพ Edwards Personal Preference Schedule (EPPS) ที่รัตนา รักการพัฒนาขึ้น และการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกลักษณะของนักเรียนที่ได้จากการระบุของอาจารย์ที่ปรึกษาของนักเรียน กับที่ได้จากแบบวัดประเภทของบุคคล Myers-Briggs Type Indicator form M ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผลการวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1. ความเที่ยงของแบบวัดประเภทบุคคลตามตัวบ่งชี้ของ ไมเออร์ บริกส์ ฟอร์ม เอ็ม (ภาษาไทย) พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าความเที่ยงแบ่งครึ่งข้อสอบ ทั้งฉบับ เท่ากับ .71 และ .68 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าความเที่ยงแบ่งครึ่งข้อสอบ และค่าความเที่ยงสอบซ้ำแบ่งตามประเภทบุคคลในด้าน เป็นคนเปิดเผย (E) เก็บตัว (I) เท่ากับ .73 .75 .81 ด้าน การสัมผัส (S) จิตใต้สำนึก (N) เท่ากับ .46 .35 .62, ด้านความคิด (T) ความรู้สึก (F) เท่ากับ .69 .62 .79, และด้านการมีระเบียบ (J) ความยืดหยุ่น (P) เท่ากับ .73 .73 .70 ตามลำดับ 2. ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ พบว่า ความสัมพันธ์ของคะแนนระหว่างแบบวัดประเภทของแบบวัดประเภทบุคคลตามตัวบ่งชี้ของ ไมเออร์ บริกส์ ฟอร์ม เอ็ม (ภาษาไทย) ที่ผุ้วิจัยพัฒนาขึ้นกับแบบวัดบุคลิกภาพ Edwards Personal Preference Schedule (EPPS) ที่รัตนา รักการพัฒนาขึ้น พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เท่ากับ .291, .297, .309, .399 และมีความสัมพันธ์ทางลบ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เท่ากับ .277, .389 ในส่วนของค่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกลักษณะของนักเรียนที่ได้จากการระบุของอาจารย์ที่ปรึกษาของนักเรียน กับที่ได้จากแบบวัดประเภทบุคคลตามตัวบ่งชี้ของไมเออร์ บริกส์ ฟอร์ม เอ็ม (ภาษาไทย) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้าน เป็นคนเปิดเผย (E) เก็บตัว (I), ด้าน การสัมผัส (S) จิตใต้สำนึก (N), ด้าน ความคิด (T) ความรู้สึก (F), ด้าน การมีระเบียบ (J) ความยืดหยุ่น (P) มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. บุคลิกลักษณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามตัวบ่งชี้ของไมเออร์ บริกส์ จากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 1,298 คน แบ่งตามเพศ เพศชายส่วนใหญ่มีบุคลิกลักษณะแบบ INFP คือมีบุคลิกลักษณะกระตือรือร้น จริงใจ ซื่อสัตย์ ถ่อมตัว เป็นมิตร มักสนใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ ความคิด ภาษาไม่ยึดติดกับวัตถุ และเพศหญิงส่วนใหญ่มีบุคลิกลักษณะ ESFP คือ มีบุคลิกลักษณะ ชอบสังสรรค์ เข้ากับคนง่าย มนุษยสัมพันธ์ดี สนุกสนาน ชอบกีฬา เหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นมักชอบเข้าไปมีส่วนร่วม สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้มากกว่าที่จะเข้าใจ แบ่งตามสถานที่ตั้งของโรงเรียน นักเรียนในเขตชุมชนส่วนใหฯมีบุคลิกลักษณะแบบ ENFP คือ มีลักษณะกระตือรือร้น มองโลกในแง่ดี ช่างคิดช่างฝัน มักแก้ปัญหาที่ยากได้อย่างรวดเร็ว ชอบทำงานที่ใช้ความสามารถในการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้ามากกว่าการวางแผน มีความสามารถในการพูดโน้มน้าวจิตใจผู้อื่น และนักเรียนนอกเขตชุมชนส่วนใหญ่มีบุคลิกลักษณะแบบ ESTJ คือ ลักษณะ พูดจริงทำจริง มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับงานวิชาการทั้งที่ไม่สนใจ มีหัวคิดทางด้านธุรกิจหรือเครื่องจักรกล
Other Abstract: The purpose of this study was to develop The Myers Briggs Type Indicator form M (Thai version) for upper secondary school students. The translation from English version into Thai version was done by back translation technique. A sample consisted of 1,298 students was drawn by multistage sampling from upper secondary school students, Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. The reliabilities of the scales were analyzed by using Cronbach's alpha coefficient, split half method and test retest method. The criterion related validities were confimed by the correlations between scores from EPPS and the scores from the Myers Briggs Type indicator form M (Thai version) and and correlation between the score of known group and the scores of The Myers Briggs Type Indicator form M (Thai version). The results were as follows: 1. The reliabilities of the scales were analyzed by using Cronbach's alpha coefficient, split half method value were .71 and .68. The reliabilities of scales were analyzed by using Cronbach's alpha coefficient, split half method and test retest method of scales Extraversion (E) Introversion (I) value were .73 .75 .81, Sensing (S) Intuition (N) value were .46 .35 .62, Thinking (T) Feeling (F) value were .69 .62 .79 and Judging (J) Perceiving (P) value were .73 .73 .70. 2. For the criterion related validities, the correlations between the scores of EPPS and The Myers Briggs Type indicator form M (Thai version) were positive and significant at .05 level (.291, .297, .309, .399) and negative and significant at .05 level -.277, -.389 and the correlations between the scores of known group and the scores from The Myers Briggs Type indicator form M (Thai version) for every scales were positive and significant at .05 level 3. Type of upper secondary school students according to The Myers Briggs Type Indicator from a sample of 1,298 students. Almost male students are INFP and almost female students are ENFP. Almost students in urban area are ENFP and almost students in rural area are ESTJ.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/426
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1496
ISBN: 9741762593
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1496
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirikanya.pdf1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.