Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42692
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุ่นเรือน เล็กน้อย | en_US |
dc.contributor.author | ปารัชญ์ เกลี้ยงลำยอง | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:11:19Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:11:19Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42692 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่องการสร้างคุณค่าในตนเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คของนิสิตนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาการสร้างคุณค่าในตนเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์และการเห็นคุณค่าในตนเองผ่านทางชีวิตจริง 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อการสร้างคุณค่าในตนเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในมิติเชิงบวกและเชิงลบ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประชากรเป้าหมายของงานวิจัย คือ นิสิตนักศึกษาที่เรียนมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 402 หน่วย โดยสุ่มสถานที่เก็บแบบสอบถามเป็นมหาวิทยาลัย 3 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (sd.) ร้อยละ (percent) การวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง (T-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนรวมแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) จากโปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิจัยในครั้งนี้กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีแนวทางการสร้างคุณค่าในตนเองผ่านเฟซบุ๊คโดยให้ความสำคัญกับการแสดงผ่านลักษณะกายภาพมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 3.10) รองลงมาคือ การแสดงออกผ่านทางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการแสดงออกทางอารมณ์ (ค่าเฉลี่ย 2.93) การแสดงออกผ่านทางค่านิยมในสังคม (ค่าเฉลี่ย 2.77) และการแสดงออกผ่านทางความสามารถทั่วไป สมรรถภาพ และผลงาน (ค่าเฉลี่ย 2.71) ตามลำดับ เมื่อทำการเปรียบเทียบคะแนนรวมแบบประเมินคุณค่าในตนเองระหว่างสังคมจริงและสังคมออนไลน์แล้ว พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามมีการเห็นคุณค่าในตนเองผ่านสังคมจริงมากกว่าสังคมออนไลน์ที่ค่าเฉลี่ย 3.56 และ 3.43 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาค่าตัวเลขควบคู่กับเกณฑ์การตีความหมายแล้ว พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยทางสถิติทั้งสังคมจริงและออนไลน์ต่อเรื่องการเห็นคุณค่าในตนเองซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง | en_US |
dc.description.abstractalternative | The research studied about building self-esteem of undergraduate students in Bangkok through facebook online social network. The purposes of the research were 1.) To study the way undergraduate students using social media platform to boost their self-esteem, 2.) To compare the way undergraduate students building their self-esteem between using social media platform and using real-life experiences and 3.) To recommend the positive and negative attitudes about self-esteem. The design of this research is quantitative method. The assessment questionnaires were used as a data collection tool. The main population data were 402 students which were randomly collected from 3 Universities, which were Chulalongkorn University, Ramkhamhaeng University and Dhurakij Pundit University. The data was analyzed by using SPSS statistical calculation; Mean, Standard deviation, Percent, One-way ANOVA and T-Test in significant level of .05 The results indicated that the sample group tended to build self-esteem via accessing Facebook, mostly by physical expressions (Mean 3.10), secondly, by relationship between personal and emotion expressions (Mean 2.93), by the social value expressions (Mean 2.77) and by the normal capability, efficiency and accomplishment expressions (Mean 2.71), respectively. By comparing the total scores from the self-esteem assessment method between online and real-life social groups, there was significant statistical difference at 0.05 levels. The real-life sample group felt more self-esteem than online’s at the Mean of 3.56 and 3.43, respectively, and when considering the result with the criteria of interpretation, there was not significant statistical difference between real-life and online social with self-esteem topic at the same moderated level. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.169 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความนับถือตนเอง | |
dc.subject | การพัฒนาตนเอง | |
dc.subject | Self-esteem | |
dc.subject | Self-culture | |
dc.title | การสร้างคุณค่าในตนเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คของนิสิตนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | BUILDING SELF-ESTEEM OF UNDERGRADUATE STUDENTS IN BANGKOK THROUGH FACEBOOK ONLINE SOCIAL NETWORK | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พัฒนามนุษย์และสังคม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.169 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5487168020.pdf | 3.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.