Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42824
Title: การจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
Other Titles: THE ACQUISITION OF ELECTRONIC BOOKS IN UNIVERSITY LIBRARIES
Authors: ศิวพร อโนทัยสินทวี
Advisors: พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ห้องสมุด -- การบริหาร
ห้องสมุด -- การจัดหาวัสดุ
Electronic books
Library personnel management
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านนโยบาย งบประมาณ การคัดเลือก วิธีการจัดหา ตลอดจนปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงวิเคราะห์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจัดหาในด้านภาษา ประเภท และสาขาวิชา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหัวหน้าห้องสมุด หรือบรรณารักษ์ผู้รับผิดชอบการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 105 แห่ง ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 94 ชุด (ร้อยละ 89.52) ผลการวิจัยพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีการกำหนดนโยบายที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และใช้เงินรายได้ของมหาวิทยาลัยในการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยห้องสมุดทุกแห่งใช้เกณฑ์เนื้อหาสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยใช้ในการคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และใช้การเสนอแนะจากผู้ใช้ โดยเป็นการเสนอแนะจากอาจารย์/นักวิจัย เป็นวิธีในการคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยยังใช้การทดลองใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นคู่มือ/แหล่งในการคัดเลือกอีกด้วย ในด้านวิธีการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ใช้วิธีการจัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศ โดยคัดเลือกแหล่งที่จัดซื้อที่มีให้ทดลองใช้บริการ ห้องสมุดส่วนใหญ่ทำการเชื่อมโยงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบได้เปล่าจากหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ และห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่มีการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เอง สำหรับปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบปัญหา 2 ระดับ คือ ระดับปานกลาง และระดับน้อย โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แหล่งที่ให้เปล่ามีน้อย การวิเคราะห์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจัดหา พบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จำนวนเกือบทั้งหมดที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจัดหาเป็นภาษาอังกฤษ ประเภทฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และมีเนื้อหาอยู่ในสาขาวิชามนุษยศาสตร์
Other Abstract: The objectives of this research were 1) to study the acquisition of electronic books in university libraries, in terms of, policy, budget, selection, acquisition methods and problems of electronic book acquisitions; and 2) to analyze the acquired electronic books in university libraries regrading language, type and subject. This study was a survey research in which data was collected from questionnaires distributed to 105 university library directors or librarians responsible for electronic book acquisitions. There were 94 questionnaires returned (89.52%) The results from the study indicate that most university libraries have unwritten electronic books acquisition policy and receive budget for electronic book acquisitions from the university income. The majority of them make the selection by considering electronic books content relevant to the universities' curriculum. The problems encountered by university libraries are at low and moderate level. The problem having the highest arithmetic mean score is limited sources of free electronic books. The analysis of electronic books acquired reveals that most of them are in English, being electronic books database and in humanities.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42824
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.297
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.297
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5380174322.pdf5.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.