Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43205
Title: | รูปแบบการตัดสินใจซื้อของเจเนอเรชั่นวาย |
Other Titles: | CONSUMER DECISION-MAKING STYLES OF GENERATION Y |
Authors: | เศวต วัชรเสถียร |
Advisors: | นภวรรณ ตันติเวชกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | เจนเนอเรชันวาย ความเต็มใจจ่าย Generation Y Willingness to pay |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง (1) รูปแบบการตัดสินใจซื้อ (Decision-making styles) ของเจเนอเรชั่นวาย (2) ความเหมือนและความต่างของรูปแบบการตัดสินใจซื้อ (Decision-making styles) ของเจเนอเรชั่นวายชายและหญิง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยใช้เครื่องมือวัดรูปแบบการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค หรือ Consumer Styles Inventory (CSI) ที่พัฒนาโดย Sporles และ Kendall (1986) กับกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย อายุระหว่าง 18-33 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 417 คน ผลการวิจัย พบว่า ได้รูปแบบการตัดสินใจซื้อของเจเนอเรชั่นวายทั้งหมด 10 รูปแบบ พบรูปแบบการตัดสินใจซื้อที่มีลักษณะร่วมกัน ของชายและหญิง จำนวน 5 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) รูปแบบการตัดสินใจซื้อที่เน้นความสุข ความเพลิดเพลิน 2) รูปแบบการตัดสินใจซื้อที่เน้นคุณภาพและความสมบูรณ์แบบ 3) รูปแบบการตัดสินใจซื้อแบบไม่ได้ไตร่ตรอง 4) รูปแบบการตัดสินใจซื้อที่แสวงหาความหลากหลาย และ 5) รูปแบบการตัดสินใจซื้อที่ให้ความสำคัญกับราคา นอกจากนี้ยังพบรูปแบบการตัดสินใจซื้อที่มีเฉพาะในเพศชาย จำนวน 5 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) รูปแบบการตัดสินใจซื้อที่ให้ความสำคัญกับตราสินค้าและสินค้าแฟชั่น 2) รูปแบบการตัดสินใจซื้อที่สับสนกับจำนวนตัวเลือก 3) รูปแบบการตัดสินใจซื้อตามความเคยชิน หรือภักดีต่อตราสินค้า 4) รูปแบบการตัดสินใจซื้อที่สับสนกับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า และ 5) รูปแบบการตัดสินใจซื้อที่ภักดีกับร้านค้า สำหรับรูปแบบการตัดสินใจซื้อที่มีเฉพาะในเพศหญิง จำนวน 6 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) รูปแบบการตัดสินใจซื้อที่ให้ความสำคัญกับยอดจำหน่ายของสินค้าและตราสินค้าที่มีการโฆษณา 2) รูปแบบการตัดสินใจซื้อที่สับสนและไม่มั่นคง 3) รูปแบบการตัดสินใจซื้อตามความเคยชินหรือภักดีต่อร้านค้าและตราสินค้า 4) รูปแบบการตัดสินใจซื้อที่ไม่พึงพอใจกับการช็อปปิ้ง 5) รูปแบบการตัดสินใจซื้อที่ให้ความสำคัญกับตราสินค้า และ 6) รูปแบบการตัดสินใจซื้อที่ให้ความสำคัญกับร้านค้าและคุณภาพ |
Other Abstract: | This research aimed to study: (1) decision-making styles of generation Y, and (2) similarities and differences of male and female generation Y’s decision-making styles. Survey method with Sproles and Kendall’s (1986) Consumer Styles Inventory (CSI) was used to collect data. The research’s sample included 417 generation Y consumers in Bangkok, aged 18-33 years old. Factor analysis was used as analyzing tool. The study found ten decision-making styles of generation Y. Moreover, generation Y consumers with different genders shared the common factors of five decision-making styles; namely; 1) Recreational, Hedonistic consumer 2) Perfectionistic, High-quality conscious consumer 3) Impulsiveness, Careless consumer 4) Variety Seeking consumer and 5) Price conscious consumer. Another five particular styles were found only in male; namely; 1) Brand and fashion conscious consumer 2) Confused by over choice consumer 3) Habitual and Brand-Loyal consumer 4) Confused by product information consumer and 5) Store loyal consumer. Six particular styles were found only in female; namely; 1) Best-selling product and Advertised brand consumer 2) Confused and unsteady by over choice consumer 3) Habitual, Store and Brand-Loyal consumer 4) Imperfectionistic consumer 5) Brand conscious consumer and 6) Store and quality conscious consumer. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43205 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.728 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.728 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584703228.pdf | 4.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.