Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43313
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โชติกา วิทยาวรากุล | en_US |
dc.contributor.author | กัญญารัตน์ โคตรภูเขียว | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:37:05Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:37:05Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43313 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | ในปีพ.ศ.2551 สหภาพยุโรปออกกฎหมายสหภาพยุโรปว่าด้วยการค้าสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาการบิน (EU ETS Directive) ซึ่งให้นำระบบการค้าสิทธิการค้าสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหภาพยุโรป (EU Emission Trading System : EU ETS) มาใช้กับสายการบินทุกสายที่บินเข้าออกท่าอากาศยานในสหภาพยุโรป เพื่อช่วยให้สหภาพยุโรปบรรลุเป้าหมายในการลดและจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามพิธีสารเกียวโตและตามเป้าหมายที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ ภายใต้ระบบ EU ETS สายการบินจะได้รับจัดสรรก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยได้ในแต่ละปี และจะต้องจัดซื้อหาใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มหากปล่อยเกินโควตาที่ได้รับหากสายการบินใดไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 100 ยูโรต่อตันคาร์บอนหรือต้องห้ามดำเนินการบินภายในสหภาพยุโรป การบังคับใช้ระบบดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการการบินทำให้มีต้นทุนในการประกอบการสูงขึ้นหากต้องซื้อใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่ม อีกทั้งมีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปผ่านการขนส่งทางอากาศและการบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบิน กฎหมาย EU ETS Directive จึงได้รับการคัดค้านจากสายการบินและรัฐบาลของหลายประเทศ โดยเห็นว่าระบบดังกล่าวไม่สอดคล้องกับกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและความตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับ อาทิ อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ค.ศ. 1944 (อนุสัญญาชิคาโก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่สหภาพยุโรปบังคับใช้ EU ETS Directive นอกอาณาเขตโดยคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอากาศยานที่บินอยู่นอกสหภาพยุโรปด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้เขียนมุ่งที่จะศึกษาการสอดคล้องของ EU ETS กับความตกลงระหว่างประเทศ 3 ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ค.ศ.1944 ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ.1994 และการตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ โดยวิเคราะห์คำตัดสินของศาลสหภาพยุโรปประกอบกับคำตัดสินขององค์การระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก และ มติสมัชชา ICAO ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่าระบบการค้าสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาการบินของสหภาพยุโรปไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ค.ศ. 1944 ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ. 1994 และความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะว่าประเทศไทยควรมีมาตรการเพื่อรองรับการบังคับใช้ระบบ EU ETS เช่น การเจรจากับสหภาพยุโรปเพื่อขอขยายระยะเวลาใช้บังคับกฎหมายหรือผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงสูตรคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ให้ประโยชน์แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา เป็นต้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | In 2008, the European Union (EU) adopted the Directive on Emissions Trading System. (Directive 2008/101/EC OF THE EUROPEAN PARLIAMENT AND OF THE COUNCIL of 19 November 2008 amending Directive 2003/87/EC so as to include aviation activities in the scheme for greenhouse gas emission allowance trading within the Community) (EU ETS Directive) The EU ETS Directive was adopted in order to comply with the EU’s commitment under the Tokyo Protocol aiming at controlling and limiting the greenhouse gas emissions. The Directive applies to all flights arriving at and departing from the EU Airports. According to the EU ETS Directive, the airlines should not emit the greenhouse gas more than the annual quota allocated to each airline. If airlines emission exceeds the annual allowances, the airlines must purchase supplementary allowances. A failure to comply with this obligation will lead to the imposition of a fine of one hundred euros per tonne of carbon dioxide or to the prohibition of flying within the European Union. This regulation has some disadvantages for the airlines because it makes the operating cost rising. Furthermore, it becomes more difficult for the airlines to cope with the competitive pressure, especially concerning the transportation of goods by air to the EU countries. Consequently, the airlines and the government of many countries contest the application of the Directive claiming that the emission trading system with regard to the applicability of the EU ETS Directive outside the territory of the Union and the granting of a permit for the green gas emissions, infringes customary international law and international agreements such as the Convention on International Civil Aviation 1944 (Chicago Convention). The purpose of this thesis is to analyze the compatibility of the EU ETS Directive with international agreements namely the Convention on International Civil Aviation 1944, the General Agreement on Tariffs and Trade 1994 and the General Agreement on Trade in Services. The thesis examines relevant academic works and the case between the Air Transport Association of America, the American airlines and the minister of power and climate change (C-366/10 Case) decided by the European Court of Justice. Moreover, it explores cases in the World Trade Organization’s dispute settlement mechanism and the resolutions of the International Civil Aviation Organization. The research points out that the EU Emissions Trading System does not comply with these conventions. Henceforth, the thesis proposes the guideline for Thailand on setting out the necessary measures for the national and international levels. For example, Thailand should make negotiations with the European Union in both bilateral and multilateral levels concerning the technical aspects and the law in order to extend the implementation period and to make a push for changing the calculation method of the greenhouse gas emissions in favor of the developing countries. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.720 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ | |
dc.subject | การบิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | |
dc.subject | ภาวะโลกร้อน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | |
dc.subject | สหภาพยุโรป | |
dc.subject | Greenhouse gas mitigation | |
dc.subject | Aeronautics -- Law and legislation | |
dc.subject | Global warmings -- Law and legislation | |
dc.subject | European Union | |
dc.title | ความสอดคล้องของกฎหมายสหภาพยุโรปว่าด้วยการค้าสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาการบินกับความตกลงระหว่างประเทศ | en_US |
dc.title.alternative | THE COMPATIBILITY OF THE EU'S DIRECTIVE 2008/101/EC INCLUDING AVIATION ACTIVITIES IN THE SCHEME FOR GREENHOUSE GAS EMISSION ALLOWANCE TRADING WITHIN THE COMMUNITY WITH INTERNATIONAL AGREEMENTS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.720 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5385955034.pdf | 6.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.