Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43397
Title: ปัจจัยในการกำหนดบัญชีอัตราโทษสำหรับความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา
Other Titles: FACTORS IN DETERMINING THE SENTENCING GUIDELINES FOR OFFENCES OF THEFT UNDER THAI CRIMINAL CODE
Authors: วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์
Advisors: คณพล จันทน์หอม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ความผิดต่อทรัพย์
กฎหมายอาญา
ลักทรัพย์
Offenses against property
Criminal law
Larceny
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระวางโทษจำคุกสำหรับความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญาค่อนข้างกว้างขวาง ทั้งไม่ได้มีการกำหนดปัจจัยที่ใช้สำหรับการพิจารณากำหนดอัตราโทษจำคุกไว้อย่างครอบคลุม และชัดแจ้ง ส่งผลให้เกิดความยากลำบากแก่ศาลในการใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราโทษจำคุกที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งกระทำความผิดตามบทบัญญัติมาตราเดียวกัน และข้อเท็จจริงแห่งคดีไม่แตกต่างกันมากนักให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะพิจารณาว่าการที่ศาลจะใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราโทษจำคุกที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์นั้น ควรมีสิ่งใดมาใช้เป็นแนวทางประกอบการใช้ดุลพินิจหรือไม่ จากการศึกษา ค้นคว้าวิธีการกำหนดอัตราโทษจำคุกของต่างประเทศ พบว่าผู้พิพากษาในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราโทษจำคุกให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันได้อย่างเป็นระบบด้วยวิธีการกำหนดให้มีบัญชีอัตราโทษ (Sentencing Guidelines) สำหรับความผิดฐานต่างๆ กล่าวคือ บัญชีอัตราโทษจะกำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่าหากคดีมีข้อเท็จจริงเช่นนี้ ศาลควรจะต้องกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดในอัตราใด ส่งผลให้การใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดอัตราโทษจำคุกที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดฐานต่างๆ เกิดความเป็นเอกภาพ และอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้กระทำความผิดในแต่ละคดีมากยิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการจัดทำบัญชีอัตราโทษสำหรับความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญาในลักษณะที่ว่าหากคดีมีข้อเท็จจริงเช่นนี้ ศาลควรจะต้องกำหนดโทษจำคุกที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดในอัตราใด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในเรื่องความยากลำบากแก่ศาลในการใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราโทษจำคุกที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งกระทำความผิดตามบทบัญญัติมาตราเดียวกัน และข้อเท็จจริงแห่งคดีไม่แตกต่างกันมากนักให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเพื่อเป็นการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้กระทำความผิดในแต่ละคดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
Other Abstract: The imprison punishment for offences of theft under Thai Criminal Code was pervaded and did not determine the factors for sentencing guidelines pervasively and clearly which effected to the difficulty of sentencing guidelines discretion for offences of theft under the same section of provision. The objective of the thesis was the consider the determining the sentencing guidelines of the court for sentencing guidelines discretion for offences of theft. The result of the study an sentencing guidelines of other countries found that the judge specifically in USA able to consider the sentencing in the same direction with the procedures of sentencing guidelines for the offences. The court should determine the punishment for the offender which effected to the court determining the sentencing guideline concerning the unity and justice. This thesis provide various suggestion such as the sentencing guidelines provision for offences of theft under Thai Criminal Code. The court should determine the punishment for the offender in order to protection the difficult problems for the court determining the sentencing guidelines for offences of theft as the same section of provision with the non different case because it was the same direction.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43397
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.864
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.864
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5485982034.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.