Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4341
Title: | การแยกประเภทขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Solid-waste separation by the people in the communities of Bang Kapi district in Bangkok |
Authors: | นริสรา พึ่งโพธิ์สภ |
Advisors: | วิไล วงศ์สืบชาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การคัดแยกขยะ -- ไทย -- บางกะปิ (กรุงเทพฯ) ขยะ -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาพฤติกรรมการแยกประเภทขยะมูลฝอยและปัจจัยที่มีอิทธิพบต่อ การแยกประเภทขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนเขตบางกะปิ กรงเทพมหานคร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม กับประชาชนในชุมชนตัวอย่าง 5 ชุมชน ของเขตบางกะปิ จำนวน 440 ราย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการแยกประเภทขยะมูลฝอยในระดับค่อนข้างดี โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แยกประเภทขยะมูลฝอย เป็นบางครั้งหรือบ่อยครั้ง และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่แยกประเภทขยะมูลฝอยเลย ผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบง่ายพบว่า ตัวแปรอิสระที่มีผลทางบวกต่อการแยกประเภทขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ ทัศนคติเกี่ยวกับการแยกประเภทขยะมูลฝอย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการแยกประเภทขยะมูลฝอย การรับสารเกี่ยวกับการแยกประเภทขยะมูลฝอย และความรู้เกี่ยวกับการแยกประเภทขยะมูลฝอย ส่วนผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุพบว่า กลุ่มตัวแปรอิสระที่มีผลต่อการแยกประเภทขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรอิสระทั้ง 12 ตัว สามาถอธิบายการแปรผันของการแยกขยะมูลฝอยได้ประมาณ 14% สำหรับผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุขั้นตอนพบว่า ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการแยกประเภทขยะมูลฝอย สามารถอธิบายการแปรผันของการแยกประเภทขยะมูลฝอยได้ดีที่สุดคือ 7.1% รองลงมาคือ การรับสารเกี่ยวกับการแยกประเภทขยะมูลฝอย ทัศนคติเกี่ยวกับการแยกประเภทขยะมูลฝอย และอายุ ซึ่งเพิ่มอำนาจในการอธิบายการแปรผันของการแยกประเภทขยะมูลฝอยได้ 2.6%, 1.6% และ 1.3% ตามลำดับ ส่วนตัวแปรอิสระตัวอื่นๆ ไม่ได้เพิ่มอำนาจในการอธิบายการแปรผันของการแยกประเภทขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | To investigate behavior and factors addecting solid-waste separation among people in the communities of Bang Kapi District in Bangkok. Questionnaires were answered by 440 persons from five sampled communities. Solid-waste separation behavior of the people is at a fairly good level. Most people usually or occasionally separate solid wastes. Only a minority does not separate any kind of them. Simple regression analysis indicates that the following five variables, namely, age, attitude toward solid-waste separation, expected benefit from solid-waste separation, exposure to information on solid-waste separation and knowledge on solid-waste separation, each has a positive influence on solid-waste separation at the 0.05 significance level. In addition, multiple regression analysis shows that a group of 12 independent variables significantly explains variation in solid-waste separation by 14%. The stepwise multiple regression analysis, however , reveals that the prime factor explaining the variation of solid-waste separation is expected benefit form solid-waste separation, 7.1%, followed by exposure to information on solid-waste separation, attitude toward solid-waste separation and age, which increases the explanatory power by 2.6%, 1.6% and 1.3%, respectively, whereas the remaining independent variables do not increase the explanatory power at the 0.05 significance level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประชากรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4341 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.289 |
ISBN: | 9741712057 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.289 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pop - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
narisara.pdf | 9.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.