Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43417
Title: | การออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าสะดวกซื้อเพื่อผู้บริโภคสูงอายุ |
Other Titles: | GRAPHIC DESIGN ON PACKAGING FOR AGING CONVENIENCE GOODS. |
Authors: | วัชราธร เพ็ญศศิธร |
Advisors: | ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | พฤติกรรมข่าวสาร การออกแบบผลิตภัณฑ์ Information behavior Product design ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | มีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของผู้สูงอายุ แต่มีงานวิจัยเพียงไม่กี่ชิ้นที่มุ่งเน้นศึกษาความต้องการทางอารมณ์ของผู้สูงอายุในฐานะที่เป็นกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มหนึ่ง เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ไม่เพียงแต่จะทำหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ในการดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อและนำเสนอภาพลักษณ์ของสินค้าไปด้วยพร้อมๆ กัน ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าสะดวกซื้อที่ดึงดูดความสนใจผู้บริโภคผู้สูงอายุไทย การเก็บรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ : 1) ขั้นตอนแรกทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์นักออกแบบเรขศิลป์ที่มีประสบการณ์สูงจำนวน 30 คน โดยแบบสอบถาม 2 ชุด แบบสอบถามชุดแรกให้ผู้เชี่ยวชาญแยกสารโฆษณาหรือจุดขายตามประเภทคุณประโยชน์ของสินค้าที่ผู้บริโภคได้รับ ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงของคุณภาพของเครื่องมือวิจัย โดยการคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (IOC) เท่ากับ 0.852 และคำนวณค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ด้วยวิธีวิเคราะห์ค่า สัมประสิทธิ์แอลฟ่า ได้ 0.954 ส่วนแบบสอบถามชุดที่ 2 ให้ผู้เชี่ยวชาญเลือกบุคลิกภาพทางการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสมกับสารโฆษณาหรือจุดขายแต่ละวิธี มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (IOC) 0.884 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า 0.987 จากนั้น ในขั้นตอนที่ 2) เป็นการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามการวิจัยจากผู้บริโภคสูงอายุ 400 คน ที่มี อายุระหว่าง 60-69 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับรสนิยมและความต้องการของผู้บริโภคสูงอายุ ในแง่ขององค์ประกอบในการออกแบบเรขศิลป์ องค์ประกอบบนบรรจุภัณฑ์ สี ภาพประกอบ และตัวอักษร ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามฉบับร่างที่ได้ผ่านการแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ไปทดลองใช้ (Try-Out) กับกลุ่มประชากรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประชากรที่ต้องการศึกษา จำนวน 30 ชุด ก่อนนำไปใช้สอบถามจริง ซึ่งเมื่อแก้ไขปรับปรุงแล้วแบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.897 ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 แนวทางตามการเสนอขายด้วยคุณประโยชน์ของสินค้า ได้แก่ 1) คุณประโยชน์ของสินค้าด้านหน้าที่ประโยชน์ใช้สอย 2) คุณประโยชน์ของสินค้าด้านอารมณ์ และ 3) คุณประโยชน์ด้านการบ่งบอกว่าผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้านั้นเป็นใคร รายละเอียดดังนี้ : 1) การนำเสนอสินค้าด้วยคุณประโยชน์ด้านหน้าที่ประโยชน์ใช้สอย พบว่ามีจุดขายหรือสารโฆษณาที่เลือกใช้ได้ 10 แบบ ได้แก่ ส่วนผสมสินค้า ความหลากหลายของสินค้า วิธีการผลิตสินค้า วิธีการใช้งานสินค้า อายุการใช้งานสินค้า สถานที่ผลิตหรือจัดจำหน่าย ส่วนประกอบของสินค้า ประสิทธิภาพของสินค้า ความต้องการทางกายภาพ และความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง รูปแบบของบุคลิกภาพทางการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสมในการนำมาใช้กับจุดขายกลุ่มนี้แบบภาพรวม มี 4 แบบ ได้แก่ ชัดเจน ธรรมชาติ เป็นทางการ และสมัยใหม่ ชุดสีที่เหมาะสมในการออกแบบมี 3 ชุดสี ได้แก่ ชัดเจน ธรรมชาติ และสง่างาม ส่วนโทนสีที่เหมาะสมคือโทนสีฉูดฉาด การนำเสนอภาพประกอบที่ถูกเลือกมากที่สุดคือภาพแสดงผลลัพธ์สุดท้ายของการใช้สินค้า และข้อมูลและประโยชน์เกี่ยวกับตัวสินค้าเป็นองค์ประกอบบนบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคสูงอายุให้ความสำคัญมากที่สุด 2) การนำเสนอสินค้าด้วยคุณประโยชน์ด้านอารมณ์ พบว่ามีจุดขายหรือสารโฆษณาที่เลือกใช้ได้ 7 แบบ ได้แก่ การใช้ชื่อผู้ก่อตั้งมานำเสนอ แสดงความเป็นต้นตำรับ แสดงปีที่ก่อตั้ง การอ้างจำนวนผู้ใช้มากที่สุดหรือเป็นที่นิยม ใช้กลยุทธ์การสร้างตัวแสดงหรือตัวละคร สารโฆษณาที่บ่งบอกรูปแบบการใช้สินค้า และความต้องการการยอมรับและความรัก รูปแบบของบุคลิกภาพทางการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสมในการนำมาใช้กับจุดขายกลุ่มนี้แบบภาพรวม มี 2 แบบ ได้แก่ ธรรมชาติ และชัดเจน ชุดสีที่เหมาะสมในการออกแบบมี 3 ชุดสี ได้แก่ ชัดเจน ธรรมชาติ และสง่างาม ส่วนโทนสีที่เหมาะสมคือโทนสีฉูดฉาด การนำเสนอภาพประกอบที่ถูกเลือกมากที่สุดคือภาพแสดงผลลัพธ์สุดท้ายของการใช้สินค้า และข้อมูลและประโยชน์เกี่ยวกับตัวสินค้าเป็นองค์ประกอบบนบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคสูงอายุให้ความสำคัญมากที่สุด 3) การนำเสนอสินค้าด้วยคุณประโยชน์ด้านการบ่งบอกว่าผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้านั้นเป็นใคร พบว่ามีจุดขายหรือสารโฆษณาที่เลือกใช้ได้ 3 แบบ ได้แก่ การใช้ผู้มีชื่อเสียงมานำเสนอ การแสดงว่าผู้ใช้เป็นผู้มีอภิสิทธิ์ และการแสดงภาพลักษณ์ของตราสินค้า ผลการวิจัยในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็นห้ากลุ่มตามบุคลิกของตราสินค้า ได้แก่ บุคลิกภาพแบบจริงใจ แบบน่าตื่นเต้น แบบผู้มีความสามารถ แบบหรูหรา และแบบห้าวหาญ บุคลิกภาพทางการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสมกับผู้บริโภคบุคลิกภาพตราสินค้าแบบจริงใจ คือ ชัดเจน ธรรมชาติ และคลาสสิก บุคลิกภาพตราสินค้าแบบน่าตื่นเต้น คือ มีพลัง สมัยใหม่ และชัดเจน บุคลิกภาพตราสินค้าแบบผู้มีความสามารถ คือ ชัดเจน สง่างาม เป็นทางการ สมัยใหม่ มีพลัง คลาสสิก หรูหรา และโก้หรู บุคลิกภาพตราสินค้าแบบหรูหรา คือ หรูหรา สง่างาม คลาสสิก และโก้หรู และบุคลิกภาพตราสินค้าแบบห้าวหาญ คือ มีพลังและชัดเจน ผู้บริโภคทุกกลุ่มเลือกชุดสี ชัดเจน ธรรมชาติ และสง่างาม โทนสีฉูดฉาดเลือกมากที่สุด ส่วนการนำเสนอภาพประกอบที่ถูกเลือก ได้แก่ภาพแสดงผลลัพธ์สุดท้ายของการใช้สินค้าและการนำเสนอภาพสินค้าขณะที่ถูกใช้งาน ส่วนองค์ประกอบบนบรรจุภัณฑ์ที่เป็นข้อมูลและประโยชน์เกี่ยวกับตัวสินค้าผู้บริโภคที่มีบุคลิกภาพแบบจริงใจและแบบผู้มีความสามารถให้ความสำคัญมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มบุคลิกภาพแบบน่าตื่นเต้น แบบหรูหรา และแบบห้าวหาญให้ความสำคัญกับชื่อสินค้ามากที่สุด |
Other Abstract: | Currently, Thailand has become an aging society. There have been many researches studied on the design solutions related to the physical changes of the older people, however, there are few researches aimed in the emotional needs of the older people as a group of consumers. The previous studies showed that graphic on the packages not only provide the product informations to consumers, but also have attracted the attention of buyers and presents the product images. Thus, this study aimed to identify the appropriate design on the packages of convenience goods that appeal to Thai older consumers. Two steps of data collections were administrated: 1) the data were collected by interviewing 30 highly experienced designers with 2 questionnaires. First, to define strategies in terms of selling point that suitable for packaging design in each kind of the product benefits. This questionnaire has been approved for validity of research tools with item-objective congruence index (IOC) equals to 0.852 and the reliability on alpha coefficient or Cronbach's Alpha was 0.954. And second, to define strategies in terms of graphic design personality that suitable for packaging design in each kind of selling points. This questionnaire has been approved for validity of research tools with item-objective congruence index (IOC) equals to 0.884 and the reliability on alpha coefficient or Cronbach's Alpha was 0.987. Then, 2) research questionnaire developed by researcher with the IOC score of 0.897 were administrated to 400 older consumers with aged 60-69 years old living in Bangkok to identify graphic design elements, packages' elements, colors, illustrations, and typography. Moreover, a pre-testing of the research questionnaire was conducted on 11 participants who possessed the same characteristic features of the intended research participants. This method was not only to leave out unnecessary questions and change ambiguous wordings, but also to ensure accuracy and reliability. The research found that three approaches of product benefits were used; 1) functional benefits, 2) emotional benefits, and 3) self-expressive benefits that divided by 5 brand personalities; sincerity, excitement, competence, sophistication, and ruggedness. The details of benefits have been identified as: 1) For the functional benefits, there were 10 types of selling points; ingredients, a variety of goods, product made, product utilizations, product lifespan, outlet, product features, product performances, physiological needs, and safety and security needs. There were 4 types of graphic design personality; clear, natural, formal, and modern. There were 3 personalities of colors; clear, natural, and elegant. Vivid tone of colors was recommended. The illustration that showed the end result of the products' utilization was the most selected. The information of products' benefits was the most important elements on the package for older consumers. 2) For the emotional benefits, there were 7 types of selling point; founder, originality, identifying the established year, popularity brand showing, mascot, product application, and love and belonging needs. There were 2 types of graphic design personality; natural and clear. There were 3 personalities of colors; clear, natural, and elegant. Vivid tone of colors was recommended. The illustration that showed the end result of the products' utilization was the most selected. The information of products' benefits was the most important elements on the package for older consumers. 3) For the self-expressive benefits, there were 3 types of selling point; celebrity as presenter, exclusive brand, and brand personality. The findings in this group allocated into five groups by brand personality; sincerely, excitements, competence, sophistication, and ruggedness. Clear personality was selected by four groups of brand personalities except group of sophistication selected gorgeous. Clear personalities of colors and vivid tone of colors were recommended for all groups. The illustration that showed the end result of the products' utilization and images of products were being used. The information of products' benefits were the important elements on the package for group of sincerely and competence, while products' names were the most important elements for group of excitement, sophistication, and ruggedness. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ศิลปกรรมศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43417 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.885 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.885 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5486812235.pdf | 19.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.